วันเสาร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551

9.ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

จากข้อเขียน ภารุต เพ็ญพายัพ “ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์คืออะไร?” พรัราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากบัตริย์ในบริบทางประวัติศาสตร์
สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจในข้อเขียนของ ภารุต คือ ส่วนของ “ทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์” และ “ทรัพย์สินส่วนพระองค์” ซึ่งต้องนิยามให้ชัดเจนว่าความหมายของทั้งสอง ทรัพย์สินคืออะไร ความแตกต่างในแง่ของกฎหมายเป็นอย่างไร เพื่อให้เกิดความยุติธรรม แก่ทั้งสองฝ่าย คือ สถาบันพระมหากษัตริย์ องค์พระมหากษัตริย์ และ ประชาชน ในการเสียภาษี
ตาม พ.ร.บ ว่าด้วยการยกเว้นภาษีอากรอันเกี่ยวแก่ทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2477 ตามมาตรา 3 สรุปว่า “ทรัพย์สินส่วนพระองค์” ต้องเสียภาษี ส่วนทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ ได้รับการยกเว้นการเก็บภาษี และ รัฐบาลตั้งคณะกรรมการพิจารณาทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ขึ้นเพื่อพิจารณาแยกแยะว่าทรัพย์สินใดบ้างเป็นทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ตามที่กฎหมายกำหนด ทรัพย์สินใดเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์ (ของพระปกเกล้าฯ) ภายใต้ พ.ร.บ 2477 นี้ มีเหตุการณ์สำคัญ สอง เหตุการณ์คือ
๑. หม่อมเจ้า อุปลีสาน ได้ยื่นเรื่อง ขอรับทรัพย์สินสิ่งของส่วนพระองค์ของพระปกเกล้าฯ ต่อกรรมการพิจารณาทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ แต่ คณะกรรมการฯ ได้พิจารณาว่าเป็นทรัพยสินฝ่ายพระมหากษัตริย์ และที่ประชุมคณะรัฐมนตรีก็ลงมติเห็นชอบด้วยที่จะไม่ถวายสินทรัพย์ในบัญชีดังกล่าวคืนให้แก่พระปกเกล้าฯ
๒. กรณีการยื่นฟ้อง พระปกเกล้าฯ และ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี เพื่อเรียกทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษตริย์คืน เมื่อ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2482 และ ยื่นคำแก้ฟ้องในวันที่ 13 กันยายน ปีเดียวกัน

ทั้งนี้จากการสำรวจของคณะกรรมการพบว่า ช่วงภายหลังการปฏิวัติ 2475 เพียงหนึ่งเดือน พระปกเกล้าฯ ทยอยโอนเงินจากพระคลังข้างที่เข้าบัญชีพระองค์เป็นระยะๆเป็นเวลาสองปีก่อนสละราชสมบัติ การดำเนินคดีใช้เวลาอยู่ สองปี จนถึง เดือน กันยายน 2484 เมื่อศาลตัดสินหพระปกเกล้าฯ แพ้คดี
สรุปว่า สาเหตุหนึ่งที่ทำให้พระปกเกล้าฯ สละราชสมบัติ มาจาก พ.ร.บ ว่าด้วยการยกเว้นภาษีอากรเกี่ยวแก่ทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2477
พ.ร.บ. จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2479 กับการวางรากฐานการจัดการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น