วันอาทิตย์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2551

10. ปรัชญายุคต่างๆ

นักปรัชญาในยุคต่างๆ
1. ยุคประวัติศาสตร์ (5,000 ปี ก่อน คริสต์กาล – ค.ศ. 500)
5000 ปีก่อนคริศต์ศักราช นับถือศาสนาธรรมชาติ บรรพบุรษ ลัทธิวิญญาณนิยม (Animism) สิ่งที่เหนือธรรมชาติ และลัทธิโชตชะตานิยม (Fatalism) ชนที่เริ่มคิดภาษาเขียน คือ อียิปต์ สุเมเรียน (เมโสโปเตียเมีย) และ จีน ในช่วง 800 – 200 ปี ก่อ ค.ศ. จะมี ศาสนายูดาห์ คริสต์ และ งานเขียนของกรีกโบราณ
ก่อนคริสต์ศักราช 4-6 ศตวรรษ เป็นยุคทองของปรัชญาโบราณ ในจีนมี เล่าจื๊อ ขงจื้อ อินเดียมีพระพุทธเจ้า เปอร์เซียมี โซโรแอสเตอร์
500 ปี ก่อนคริสต์กาล แถบลุ่มน้ำสินธุ (อินเดีย ปัจจุบัน) เกิดศาสนาพราหมณ์ (พัฒนามาเป็นฮินดู) ที่มีการแบ่งชั้น วรรณะ และ เกิด ศาสนาแบบปรัชญา คือ ศาสนาพุทธ ความเสมอภาคในการหาทางหลุดพ้นจากทุกข์ด้วยตัวของตัวเอง และ แพร่ไปในตะวันออกเฉียงใต้ และ เอเซียตะวันออก แยกเป็น หินยาน (เถรวาท) เคร่งพระไตรปิฎก และ มหายาน (ผสมกับ ลัทธิเต๋าของขงจื๊อ และ เซน (ญาณ) เน้นเรื่องสมาธิ ส่วนศาสนาพุทธในเอเซียอาคเนย์ มีฮินดูเข้ามาผสม เนื่องจากชนชั้นกษัตริย์ ( ศาสนาพุทธในไทยจึงเป็น ส่วนของศาสนา ศีลธรรม พีธีกรรม มากกว่า ปรัชญา)
604 - 531 ก่อน คริสต์ศักราช เล่าจื๊อ (Lao Tzu) นักปราชญ์ชาวจีน ลัทธิเต๋า คัดค้าน ลัทธิขงจื๊อ ที่เน้นการเชื่อผู้ปกครอง โดยลัทธิเต๋าเห็นว่าความเจริญทางโลก หรือ อารยธรรมเป็นบ่อเกิดของความโลภ ความเอาเปรียบ วามชั่วร้าย กษัตริย์ (ผู้ปกครอง) ควรปกครองให้น้อยที่สุด ปล่อยให้ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปตามธรรมชาติ เรียบง่าย ต่าคนต่างอยู่อย่างอิสระ
586 – 506 ก่อน คริสต์ศักราช เจ้าชายสิทธัตถะ จากนครรัฐหนึ่งแห่งชมพูทวีป ผู้ค้นพบศาสนาพุทธ (ตรัสรู้) และ เผยแพร่ในอินเดียเจิญรุ่งเรืองอยู่ช่วงหนึ่ง ก็ถูกกลืนโดยศาสนาพราหมณ์ และเ สื่อมความนิยมในอินเดีย หลังจาก จักพรรดิมุสลิมยึดครองอินเดีย แต่ไปรุ่งเรืองและควอยู่ถึงปัจจุบัน ใน ศรีลังกา พม่า ไทย ลาว กัมพูชา และ เอเซียตะวันออกบางส่วน
551 – 479 ปีก่อน คริสต์ศักราช ขงจื๊อ (Confucius) นักปราชญ์ชาวจีน เป็นครูและข้าหลวงปกครองเมืองเล็กๆ เผยแพร่คำสั่งสอนเชิงจริยธรรม เสนอ การแบ่งและ ทำตามหน้าที่เพื่อการอยู่รวมกันในสังคม ตามหลัก ประชาชนต้องเชื่อฟังผู้ปกครอง มีกำลังทหารพอเพียง มีอาหารพอเพียง เน้นความดี ความซื่อสัตย์ การทำตามหน้าที่ของแต่ละคน
470 – 399 ปี ก่อนคริสต์ศักราช โสกราตีส (Socrates) นักปราชญ์ชาวกรีก ครูขอล เพลโต วิธีการศึกษาหาคำตอบทางปรัชญาของเขาคือการสนนาแบบโต้แย้ง เพื่อทำแนวความคิดเรื่องหนึ่งเรื่องใดให้มีเหตุผลที่ชัดเจน โดยตั้งคำถามทุกอย่าง ตั้งแต่พระเจ้า ระบอบการเมือง ประชาธิปไตยแบบนครรัฐของกรีก แสวงหาคุณธรรม ความซื่อสัตย์ และ มองว่าคุณธรรมกับความรู้คือสิ่งเดียวกัน เมื่อมีความรู้คนจะทำในสิ่งที่ถูกต้อง คนที่ทำผิดก็เพราะไม่รู้ โสกราตีส คันค้านปรัชญาตั้งข้อสงสัย (Skepticism) ของพวกโซฟิสต์ โสกราตีส เห็นด้วยกับการปกครองแบบ อภิชนาธิปไตย (Aristocracy) การปกครองโดยกลุ่มคนที่มีความรู้ความฉลาดและมีคุณธรรมเพื่อส่วนรวมที่เป็นตัวแทนของคนส่วนใหญ่
428 – 247 ปี ก่อนคริสต์ศักราช เพลโต (Plato) นักปราชญ์ชาวกรีกคนแรกที่บันทึก ปรัชญาการเมืองจากการโต้เถียงของ โสกราตีส ครูของเขา เช่น เรื่องธรรมชาติที่แท้จริงความเป็นธรรม ซึ่งแนวคิดของชาวกรีกมองว่าเป็น “สิ่งที่ ควรทำ” โดยมองว่า ศีลธรรม สังคม รัฐ รัฐบาล เป็นเรื่องที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อประโยชน์ของผู้ปกครอง แต่เพลโต มองว่าสังคมและรัฐเป็นเรื่องธรรมชาติ ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ รัฐในอุดมคติของเพลโต (จากหนังสือ Republic)ใช้การศึกษาระดับต่างๆ เป็นเครื่องมือ ในการแยกการงานของคน ผู้เรียนระดับต้นเป็นคนงาน ระดับกลางเป็นผู้บริหารรัฐ ผู้มีความรู้สูงสุด และ จิตสำนึกสูงควรเป็นผู้ปกครองแบบกษัตริย์นักปราชญ์ เพลโตเห็นว่าประชาธิปไตยของเอเธนต์ ในสมัยนั้นมีข้อบกพร่อง เป็นระบบที่ตัดสินตาม กระแสความคิดของคนจำนวนหนึ่ง ซึ่งไม่มีเหตุผลที่ดี เพลโตก่อตั้งสถาบันอาคาเดมี (Academy) เป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูงสถาบันแรกๆของโลก และ มีลูกศิษย์คนสำคัญ คือ อริสโตเติล
384 – 322 ปี ก่อนคริสต์ศักราช อริสโตเติล (Aristotle) นักปราชญ์และนักวิชาการหลายแขนงชาวกรีก ศิษเอกของ เพลโต พัฒนาแนวคิดมาทางวิทยาศาสตร์ เป็นนักคิดอิสระและโต้แย้งกับ เพลโต เป็นส่วนใหญ่ เป็นผู้ริเริ่มวิชาการเมือง หรือ รัฐศาสตร์ อย่างมีระบบ อริสโตเติลมองว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคม ไม่สามารถอยู่ตามลำพัง อยู่รวมกันเป็นสังคมการเมือง และ พัฒนาไปสู่ความสมบูรณ์เมื่อมนุษย์อยู่ในสังคมที่มี รัฐ และ กฎหมาย ที่มีความยุติธรรม อริสโตเติล เสนอว่าอำนาจที่ชอบธรรมทางการเมือง (Political Authority) จำเป็นต้องพึ่งพาการเห็นชอบ หรือการยินยอม (Consent) ของผู้ถูกปกครองในระดับหนึ่ง (จาก The Politics) เนื่องจากสังคมแตกต่างกัน การเลือกรูปแบบรัฐย่อมแตกต่างกัน ไม่มีรัฐแบบใดที่สมบูรณ์ แบบ แต่รูปแบบที่ อริสโตเติลเห็นด้วยคือ Aristocracy (อภิชนาธิปไตย) ไม่เห็นด้วยกับ Oligarchies (คณาธิปไตย การปกครองโดยคนรวย) และ Democracy (การปกครองโดยคนจน) อริสตเติล มองว่าความเสมอภาคทางการเมืองจะเกิดได้เมื่อมีความเสมอภาคทางเศรษฐกิจ คือประชาชนส่วนใหญ่ควรมีทรัพย์สินฐานะปานกลาง แต่อริสโตเติลก็ยังเหมือน นกปราชญ์กรีกทั่วไป ที่มองความเสมอภาคเฉพาะในหมู่พลเมืองชายที่มีทรัพย์สมบัติ ส่วนพวกทาสก็คือผู้ใช้แรงงาน ผู้หญิงก็ไม่เหมาะกับการเมืองโดยธรรมชาติ ระบบนครรัฐของกรีกสิ้นสุดลงเมื่อ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช (เคยเป็นลูกศิษย์ของอริสโตเติล) จาก มาซิโดเนีย เข้ายึดครอง และ เปลี่ยนระบบประชาธิปไตยนครรัฐแบบกรีก เป็นระบบจักวรรดิโรมัน ราวกว่า พันปี ชาวโรมัน เป็นนักรบ นักปกครอง มากกว่าปรัชญา สิ่งที่ชาวโรมันให้กับโลกคือ กฎหมาย สถาปัตยกรรม และ คริสต์ศาสนาที่มีอิธิพลทาวความคิดไปทั่วทั้งยุโรปในเวลาต่อมา
50 ปีก่อนคริศต์ศักราช – ค.ศ. 399 โรมันเริ่มพิชิต ยูดาห์ 63 ปี ก่อนคริสต์กาล จีซัส แห่งนาซาเรธ (พระเยซู) เกิดที่เมือง เบธเลเฮม และ โดนตรึงไม้กางเขนในปี ค.ศ. 30 โดยผู้ปกครองโรมัน หลังจากถูกตรึงไม้กางเขน 35 ปี จึงได้มีการรวบรวมพระคัมภีร์ใหม่ (New Testament) ออกุสตุส ( หลานของ จูเลียส ซีซาร์) ทำสงครามชนะ มาร์ค แอนโธนี (31 ปีก่อน คริสต์ศักราช)
ศตวรรตที่ 2 สาธารณรัฐโรม ผนวก กับ กรีก นครรัฐกรีก (เอเธนส์) คือแหล่งที่มาของวัฒนธรรมตะวันตก ประวัติศาสตร์ ปรัชญา ละคร และวรรณกรรม
ค.ศ. 312-337 โรมย้ายเมืองหลวงมาอยูที่ คอนสแตนติโนเบิล และ ยอมรับศาสนา คริสต์ศาสนา และ โรมเป็นศูนย์กลางของโลก
2. ยุคกลาง (The Middle Age) (ค.ศ. 400 -1517)
ยุคกลางช่วงแรก (ค.ศ. 400 -1099) จักวรรดิโรมันแยกเป็น 2 ส่วน คืออาณาจักรโรมันตะวันออกที่คอนสแตนติโนเบิล (ตุรกี) ส่วนโรมันตะวันตก ชนเผ่าเยอรมันนิกเข้ามาตั้งถิ่นฐานอย่างเสรีและยึดครองในที่สุด แต่ยังสืบสานวัฒนธรรมโรมัน และ คริสต์ศาสนา ในปี ค.ศ. 800 พระเจ้า ชาร์เลอมาญ ได้สร้างอาณาจักรเยอรมันนิกที่ยิ่งใหญ่ที่สุด มีเมืองหลวงคือ อาเค็น (Aachen) เป็นเพียงแค่หมู่บ้านเล็กๆ พระสันตปาปาสวมมงกฎให้พระองค์เป็นจักรพรรดิ นับเป็นการเริ่มต้นของยุคสมัยที่ศาสนาคริสต์ มีอำนาจเหนือกษัตริย์ต่างๆทั่วยุโรปโดยเรียกกันว่า Holy Roman Empire หรือ อาณาจักรโรมันอันศักสิทธิ์
ค.ศ. 354 – 430 นักบุญ เซนต์ ออกุสติน (Saint Augustine) นักบุญและนักเทววิทยาคริสเตียน รุ่นแรกๆชาวเยอรมัน เป็นยุคที่อารยธรรมแบบโรมันกำลังพังทลายถูกปล้นสดมโดยชาง กอธ ในปี ค.ศ. 410 และ ชาวโรมันวิจารณ์ว่าชาวคริสต์ไม่สนใจปกป้องการอยู่รอดของรัฐ (ในหนังสือ เมืองของพระเจ้า (City of God) ออกุสติน โจมตีแนวคิดกรีกแบบคลาสสิก ที่ว่ามนุษย์เรามีชีวิตที่ดีภายใต้นครรัฐที่มีเหตุผล เขาเห็นว่าพลเมืองมีหน้าที่ต้องเชื่อฟังกฎหมาย และเข้าร่วม “สงครามที่เป็นธรรม”
ค.ศ. 570 – 632 พระมูฮัมหมัด (Muhammad) เป็นชาวอาหรับ เกิดที่เมือง เมกกะ ฝึกฝนเป็นพ่อค้าโดยไม่ได้เรียนหนังสือ เดินทางค้าขายไปจนถึงอียิปต์ และ ซีเรีย และ ได้ศึกษาเรื่องศาสนายูดาห์ของยิว และ คริสต์ศาสนา และ เมื่อมีฐานะดีได้ศึกษาตรึกตรองเรื่องศาสนามากขึ้น และ ได้เผยแพร่ศาสนาอิสลามที่ถือว่ามีพระเจ้าที่แท้พียงองค์เดียว คือ พระอัลเลาะห์ และได้รับการสนับสนุนจากชาวอาหรับและยิวจาก ตำบล ยาตะเร็ม ซึ่งต่อมาคือ เมือง เมดินา เดิมศาสนาอิสลาม สอนในเรื่องความสงบสันติ แต่ถูก เมกกะส่งกองทัพมาปราบปรามทำให้ต้องใช้อาวุธทั้งการอยู้รอด และ เผยแพร่ศาสนา (จึงเป็นทั้งผู้นำทัพและกษัตริย์) และ หลังจาก มูฮัมหมัด สินพระชนม์ ทายาทได้เผยแพร่ศาสนาอิสลามไปอย่างกว้างขวาง โดยใช้สงครามนำ ทั้งแถบตะวันออกกลาง เอเซียตะวันตก และ แอฟริกาเหนือ จากสเปน สู่ฝรั่งเศส แต่ถูกสกัดกั้นที่ฝรั่งเศส จึงเปลี่ยนทิศมาทางเอเซีย เข้าอินเดีย อัฟกานิสถาน ชวา สุมาตรา แหลมมลายู
ยุคกลางช่วงปลาย (ค.ศ. 1100 – 1517) ปลายศตวรรษที่ 11เริ่มเป็นยุคฟื้นฟูความรู้ ขึ้นมาใหม่ในยุโรป และ ในศตวรรษที่ 12 ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ และ เริ่มกลับไปศึกษาปรัชญาของ อริสโตเติล และวิทยาการแบบใหม่ แต่อยู่ได้ไม่นานเนื่องจากปัญหาความขัดแย้งกับความเชื่อของศาสนาคริสต์ในสมัยนั้น นักวิชาการเลยหันไปสนใจความรู้ทางด้านโลกมากขึ้น ยุคฟื้นฟูศิลปจริงๆนั้นจึงไปเริ่มจริงๆในศตวรรษที่ 14 ที่อิตาลี คือกาฟื้นฟูศิลปะคลาสสิกและศักยภาพการเรียนรู้ของมนษย์มากกว่าศาสนา
ค.ศ. 1469 – 1679 ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยการ (Renaissance) เริ่มในอิตาลี ภาคเหนือ ซึ่งมีนครรัฐที่มีอำนาจ เช่น เวนิช และ ฟลอเลนซ์ และ เผยแพร่ไปยังนครรัฐที่นับถือ โปรเตสแตนท์ (Protestant) ใหม่ๆ ในยุโรปเหนือ ช่วงศตวรรษที่ 14 -16 เพื่อตั้งคำถาม และศึกษาเรื่องราวของมนุษย์ทุกด้าน การเมือง บทบาทของรัฐและความสัมพันธ์ของรัฐกับพลเมือง
ค.ศ. 1466 – 1527 นิคโคโร แมคิอาวิลลี่ (Niccolo Macchiavelli) เป็นที่ปรึกษาและนักการเมืองชาวฟลอเรนช์ อิตาลี และเขียนหนังสือ “The Prince (1513)” เจ้าผู้ครองนคร อธิบายว่าสภาพการเมืองที่เป็นอยู่ ศีลธรรมแบบคริสต์ไม่เหมาะสมสำหรับเจ้าผู้ครองนคร ผู้ต้องการสร้างรัฐที่เข้มแข็ง แลประสบผลสำเร็จ ต้องใช่เลห์เหลี่ยมยุทธศาสตร์ยุทธวิธีในการเอาชนะศัตรูทุกหนทาง ต้องใช้ความฉลาด และ ยืดหยุ่น เหมือนหมาจิ้งจอก และ ใช้พลังความกล้าหาญเหมือนสิงโต แมคิอาเวลลี่ คิดว่าแม้การปกครองแบบสาธารณรัฐที่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชน จะเป็นรูปแบบรัฐบาลที่ดีที่สุด แต่ประชาชนสนใจความมั่นคงของชีวิตความเป็นอยู่ของตนเอง มากกว่าศีลธรรมของรัฐบาล และ มองว่าอำนาจถ้าใช้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่ต้องปราณี จะสร้างและรักษาความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรือง เป็นแนวคิดที่ไม่ได้มองรัฐและหน้าที่ของรัฐอย่างอุดมคติเหมือนนักคิดอื่นๆ
ค.ศ. 1478 – 1535 ทอมัส มอร์ (Thomas More) เป็นเสนาบดีอังกฤษที่กล้าคัดค้าน กษัตริย์ ในระบบสมบูรณญาสิทธิราชย์ เขาเห็นว่าความยากจนและการทำงานหนักของกรรมกร เกิดจากการยึดถือระบบกรรมสิทธิ์ในยุคที่เริ่มมีการพัฒนาอุตสาหกรรม (ในหนังสือ Utopia) เสนอสังคมอุดมคติที่ให้กรรมสิทธิ์เป็นของส่วนรวมและทำการผลิต ร่วมกันเป็นสังคมนิยมแบบ ยูโทเปีย หรือ โลก พระศรีอาริย์
ค.ศ. 1530 – 1596 ณอง โบแด็ง (Jean Bodin) นักกฎหมายและนักปรัชญาชาวฝรั่งเศส ผู้เสนอแนวคิดเรื่อง อำนาจอธิปไตยของรัฐ (Sovereignty) เป็นคนแรกๆ ก่อน ทอมัส ฮอบส์ โบแด็ง อยู่ในยุคสงครามกลางเมืองระหว่างนิกายคาทอลิก และ โปเตสแตนท์ เขาอยู่ในกลุ่ม โพลิติคส์ เห็นควรรับรองเสรีภาพในการนับถือศาสนานิกายต่างกัน และ ควรแยกผลประโยชน์ทางโลก และ ทางธรรมออกจากกัน ทั้งต้องรักษาเอกภาพของชาติไว้ แม้ว่าจะไม่มีเอกภาพทางศาสนา และกษัตริย์ต้องเป็นกลาง และ ปกป้องศาสนาทุกนิกาย โบแด็ง เขียนหนังสือเรื่อง รัฐ (State) อธิบายว่ารัฐคืออะไร และ ระบอบการปกครองที่ดีที่สุดควรเป็นระบอบแบบใด โบแด็ง มองว่ารัฐ คือ ประชาคม จากหลายครอบครัว ทีปกครองกันอย่างมีศีลธรรม เป็นผู้อยู่ใต้ปกครองที่มีอิสระที่ต้องเคารพ ปฎิบัติตามกฎหมาย อำนาจอธิปไตย หรืออำนาจสูงสุดของรัฐ คือ อำนาจการบัญญัติ และ ยกเลิกกฎหมาย (อำนาจนิติบัญญัติ) เพื่อประโยชน์ขอสังคมโดยรวม โบแด็ง บอกว่า อำนาจอธิปไตยในทางทฤษฎี อาจจะอยู่ที่มวลชน (ประชาธิปไตย) คนกลุ่มน้อย (อภิชนาธิปไตย) หรือ อยู่ที่คนคนเดียว (พระมหากษัตริย์) แต่ละรูปแบบก็มีข้อดีข้อเสียของตัวเอง และ โบแด็ง ชอบรัฐที่มีกษัตริย์เป็นอำนาจอธิปไตย แต่ต้องเป็นรัฐกษัตริย์ ที่ชอบธรรม เคารพกฎหมายธรรมชาติ จรรโลงไว้ซึ่งเสรีภาพธรรมชาติ และ ทรัพย์สินของผู้อยู่ใต้ปกครอง แต่เขาไม่สนับสนุนระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolutism) แบบ กษัตริย์มีอำนาจเด็ดขาด และ เห็นว่า สิทธิธรรมชาติ เสรีภาพของปัจจเจกชนและกลุ่ม เป็นรากฐานของอำนาจอธิปไตยที่เหนือกว่าเรื่องการสืบเชื้อสาย (Heredity) ของผู้ปกครอง
ค.ศ. 1588 – 1679) ทอมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) นักปราชญ์ชาวอังกฤษ ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักวัตถุนิยม สมัยใหม่ (Modern Materialist) ฮอบส์ พัฒนาทฤษีแนวคิดธรรมชาติและพฤติกรรมของมนุษย์ ฮอบส์ มองเรื่องวัตถุ และ พฤติกรรมมนุษย์ ในทางลบ ว่ากิจกรรมของมนุษย์ถูกจูงใจด้วยผลประโยชน์ส่วนตัว ฮอบส์ สนับสนุนรัฐแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่สามารถรักษาระเบียบได้ แต่ก็เสนอแนวคิดแบบสัญญาประชาคมด้วย ฮอบส์ เป็นนักคิดที่อิสระและเป็นนักเขียนที่ก้าวร้าว แต่แหลมคม หนังสือของเขาห้ามเผยแพร่ เช่นดียวกับ แมคิอาเวลลี่ โดยยืนยันว่าเราควรแยกการเมืองออกจากศาสนา ฮอบส์ เขียนใน หนังสือ Leviathan ว่ารัฐเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น อย่างไม่เป็นธรรมชาติและเป็นสิ่งจำเป็น และ มองว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคม ที่อยู่ด้วกันโดยมีข้อตกลงระหว่างกัน ไม่ได้เกิดจาดสัญชาติญาณการรวมหมู่เหมือนผึ้งหรือมด ปัจเจกชนต้องยอมสละสิทธิให้แก่องค์อธิปัตย์ (Sovereignty) ในการปกครอง และ ฮอบส์เห็นว่าองค์อธิปัตย์ ต้องมีอำนาจสูงสุดจึงจะป้องกันความวุ่นวายได้ และ ควรมอบอำนาจให้กษัตริย์ สมบูรณาญาสิทธิราชย์เพียงคนเดียว
ค.ศ. 1518 – 1659 ยุคปฏิรูปและต่อต้านการปฎิรูป (The Reformation and Counter- Reformation) มาร์ติน ลูเธอร์ (Martin Luther) นักบวชหนุ่ม ได้ประกาศแนวคิด 95 ข้อ โจมตีการใช้อำนาจที่ผิดของ โรมันคาทอลิก เพื่อให้เกืดการปฏิรูปศาสนจักร (The Reformation) และ แนวคิดได้แพร่หลายไปทั่วใน นามของผู้ประท้วง Protestant ทำให้กษัตริย์หลายเมืองปฏิเสธไม่ยอมรับอำนาจของสันตปาปา มีบทบาทหลักในการเมืองและการทูตของยุโรป ค.ศ. 1545 – 1563 โรมันคาทอลิก พยายามแก้ไขปัญหาและต่อต้านการปฏิรูป (Counter Reformation) และ ความสำคัญของศาสนาต่อการเมืองเริ่มลดลง จนเมื่อ ค.ศ. 1661 สมัย พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ราชวงศ์และ รัฐชาติกลับมามีความ สำคัญเหนือ บทบาทของศาสนจักร

3. ยุคสว่างทางภูมปัญญา (The Age of Enlargement) (ค.ศ. 1600 – 1788)
เป็นยุคสว่างทางปัญญา เป็นช่วงต่อจากการเติบโตทางวิชาการสมัยศตวรรษที่ 17 ไปจนถึงการปฏิวัติฝรั่งเศส แนวคิดที่สำคัญคือ ไม่เชื่อถือต่ออำนาจแบบประเพณีนิยม ในเรื่อง ศาสนาและ การเมือง โดยมีโลกทัศน์ที่เปิดกว้างและเคารพว่าเหตุผลเป็นหลักนำทางและบ่งถึงคุณสมบัติของความเป็นมนุษย์ งานเขียนของ วอลแตร์ มองเตสกิเออ (1689-1755)ในฝรั่งเศส และ อิมมานูเอล คานท์ (1724 – 1804) ในเยอรมัน สะท้อนความคิดเหล่านี้
ในยุโรป ฝรั่งเศสมีอำนาจเด่นสุดในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 (ค.ศ. 1598-1610) กษัตริย์มีฐานะเหมือนได้รับการแต่งตั้งจากพระเจ้า ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เติบโตถึงจุดสูงสุด บรรรดากษัตริย์ในยุโรปตะวันตกพยายามเลียนแบบ แม้แต่อังกฤษซึ่งเป็นประเทศที่มีระบบรัฐสภาเข้มแข็งเพราะมีชนชั้นขุนนางพ่อค้านายทุนที่เข้มแข็ง ก็ห่วงใยว่ากษัตริย์จะเพิ่มความสำคัญของตัวเองแล้วล้มอำนาจรัฐสภา พระเจ้าเจมส์ที่ 2 ก็มีท่าทีจะเป็นเช่นนั้น จึงเกิดการปฏิวัติโค่นล้มพระองค์ ในปี ค.ศ. 1688 ทีเรียกว่า Glorious Revolution
ค.ศ. 1632 – 1704) จอห์น ล็อค (John Locke) เป็นนักเสรีนิยม แนวคิด คติประจักษ์นิยม (Empiricism) เป็นแนวคิดที่เชื่อว่าความรู้ทั้งหลายได้จากประสบการณ์ ทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของมนุษย์ ล็อคมองสภาพธรรมชาติของมนุษย์ต่างจาก ฮอบส์ โดย ล็อค มองว่า มนุษย์ มีเหตุผลและจิตสำนึกที่แยกถูกผิดได้ ตะหนักในกฎธรรมชาติ ว่าคนเราไม่ควรทำลายชีวีต สุขภาพ เสรีภาพ ทรัพย์สินของคนอื่น และ มนุษย์เข้ามาอยู่รวมกันเป็นสังคมโดยสมัตรใจ เพื่อสร้างสังคมที่เป็นประโยชน์ต่อทุกคน อีกสิ่งที่ ล็อค มองต่างจาก ฮอบส์ คือ สัญญาทางสังคมเป็นการทำสัญญา ระหว่างปัจเจกชน ด้วยกัน ไม่ใช้สัญญาระหว่างรัฐบาลกับผู้ใต้ปกครอง เมื่อมีรัฐบาล ผู้อยู่ใต้ปกครองก็ยังมีความเป็นปัจเจก องค์อธิปัตย์ (Sovereign) ในที่สุดแล้วขึ้นอยู่กับ การยินยอม (Consent) ของประชาชน จุดมุ่งหมายที่ชอบธรรมของรัฐบาล ซึ่งเป็นเสมือนผู้คุ้มครองที่เป็นกลาง (Trustee) คือการปกป้องคุ้มครองชีวิต เสรีภาพ และ ทรัพย์สินของประชาชนโดยที่รัฐบาลไม่ควรมีอำนาจเกินไป หากรัฐบาลเป็นทรราช เพิ่มภาษี ทั้งที่ประชาชนไม่เห็นด้วยประชาชนมีสิทิผลักดันให้รัฐบาลแก้ไขโดยผ่านวิถีทางรัฐสภา ถ้ายังไม่สำเร็จประชาชนก็มีสิทธิโค่นล้มรัฐบาล เพื่อเปลี่ยนรัฐบาลที่ทำหน้าที่ที่ดีกว่า ทำให้ ล็อค ได้เข้าไปมีบทบาทในการปฏิวัติของอังกฤษ Glorious Revolution ในปี 1688 ในสมัยของพระเจ้าเจมส์ที่ 2 ที่พยายามนำคาทอลิกมาเป็นศาสนาประจำชาติอังกฤษ จนต้องลี้ภัยไปอยู่ต่างประเทศ และ รัฐสภาเชิญ พระเจ้าวิลเลี่ยม และ พระนางแมรี่ ผู้เป็นโปเตสแตนท์ มาเป็นกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ แนวคิดด้านทรัพย์สินของ ล็อค เน้นเรื่องสิทธิในทรัพย์สินส่วนบุคคล เป็นแนวคิดพื้นฐานของ ระบบทุนนิยมแบ เสรีนิยม ปรัชญาการเมืองของ ล็อค ที่เกี่ยวกับทฤษฎีความรู้ของเขาคือ ความเชื่อในเรื่องความอดกลั้น (Tolerance) และ ล็อค มีแนวคิด สัญญาประชาคม ที่ว่า ประชาชนยอมสละสิทธิ์บางประการ ส่วนสิทธิทางธรรมชาติต้องคงไว้ แนวคิดของ ล็อค มีอิทธิพลต่อ การปฏิวัติทั้งใน สหรัฐอเมริกา และ ฝรั่งเศส และ เป็น หนึ่ง ใน สาม ของนักปราชญ์ (อริสโตเติล และ คาร์ล มาร์กช์) ล็อค มีอิทธิพลต่อ ทอมัส เจฟเฟอร์สัน , เบนจามิน แฟรงคลิน ผู้ร่างรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา (สงครามเพื่อเอกราชของสหรัฐฯ ค.ศ. 1774 – 1781) งานของล็อค ยังมีอิทธิพลต่อนักคิดฝรั่งเศสในศตวรรษที่ 18 ด้วย อาทิ วอลแตร์ มองเตสกิเออ อย่างไรก็ตามเมื่อกล่าวถึงประชาธิปไตย หรือ สิทธิในการเลือกผู้แทน ล็อค หมายถึงเฉพาะ ผู้มีที่ดินและทรัพย์สินเท่านั้นที่มีสิทธิเลือกตั้ง และ รัฐบาล ของเขาหมายถึงรัฐบาลที่ทำหน้าที่จำกัดคุ้มครองดูแลทรัพย์สมบัติของประชาชนเท่านั้น ดังนั้นปรัชญาการเมืองของ ล็อค ก็ถูกวิจารณ์ในเรื่องกรรมสิทธิ์เอกชน ว่าไม่ได้นำไปสู่เสรีภาพของมนุษย์อย่างที่เขาคาดหวัง
ค.ศ. 1689 – 1755 มองเตสกิเออ (Montesquieu) นักกฏหมายและ ปรัชญาชาวฝรั่งเศส เจ้าของ ทฏษฏี การแบ่งและการคานอำนาจ ระหว่าง ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และ ฝ่ายตุลาการ เพื่อไม่ให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีอำนาจเกินไป ซึ่งจะนำไปสู่การใช้อำนาจแบบกดขี่ มองเตสกิเออ เห็นว่า เสรีภาพที่คนเราสามารถจะทำในสิ่งที่เราพึงต้องการและ ไม่บังคับให้กระทำในสิ่งที่เราไม่พึงต้องการ จะต้องมีกฎหมายเป็นคนกลางมากำหนด ว่าประชาชนควรจะทำอะไรได้แค่ไหน อย่างไร เพราะถ้าให้ประชาชนทุกคนมีอำนาจ ที่จะทำให้ทุกสิ่งที่เขาต้องการได้ เสรีภาพของคนๆหนึ่งก็อาจจะไปรบกวนเสรีภาพของประชาชนคนอื่นได้ ซึ่งเสรีภาพที่ว่านี้อาจจะมีได้ในระบอบการปกครองแบบกษัตริย์ หรือ สาธารณรัฐก็ได้ แต่ไม่อาจมีขึ้นได้ในระบบการปกครองแบบกดขี่ เผด็จการ (Despotism) มองเตสกิเออ เป็นนักคิดเสรีนิยม ที่นิยมระบบอภิชนธิปไตย แบบ เสรีนิยมของอังกฤษ ในขณะนั้น เป็นระบบที่มีการคานอำนาจ กัน ระหว่าง ฝ่าย กษัตริย์ ขุนนาง และ ประชาชน (ผ่านรัฐสภา) ได้ดีกว่าระบบอื่น โดยให้ทั้งสามฝ่ายใช้อำนาจสูงสุดร่วมกันและแยกกันไม่ได้ (ไม่ได้แบ่งแยกเด็ดขาด อย่างที่ตีความ) โดยเขาให้ความสำคัญขุนนางที่สภาขุนนางมีอำนาจออกหรือยับยั้งกฎหมาย ร่วมกับสภาที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน โดยเห็นว่าผู้แทนควรเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ออกเสียงลงมติเรื่องงบประมาณประจำปี แต่ไม่ควรเข้ามาใช้อำนาจบริหาร เพราะเขาไม่สามารถทำได้ดีเหมือนคณะเสนาบดี ที่มาจากการเลือกตั้งของกษัตริย์ ส่วนกษัตริย์ไม่ควรมีอำนาจออกกฎหมาย แต่มีอำนาจยับยั้งเพื่อป้องกันพระองค์ให้ไม่ต้องถูกออกจากอำนาจ รวมทั้งอยู่ในฐานะอันละเมิดมิได้ ฝ่ายสภาและนิติบัญญัติยังมีอำนาจตรวจสอบว่ากฏหมาย ที่ออกไปมีการบังคับใช้อย่างไร และสามารถกล่าวหาเอาผิดกับที่ปรึกษากษัตริย์ หรือเสนาบดีผู้รับผิดชอบแทนกษัตริย์ เป็นการถ่วงดุลยอำนาจ แนวคิดของ มองเตสกิเออ มีอิทธิพลต่อการร่างรัฐธรรมนูญของสหรัฐ และ หลายประเทศ ต่อมา
ค.ศ. 1711 – 1776 เดวิด ฮูม (David Hume) นักปรัชญาชาวสกอต เป็นพวก ประจักษ์นิยม (Empiricism) และ นักตั้งข้อสงสัย (Skeptic) ฮูม มองว่า ศีลธรรมเป็นเรื่องของอารมณ์ มากว่าเหตุผล และ มองว่าชีวิตของคนเราถูกชี้นำโดยธรรมชาติ ความรู้สึกประทับใจ (Impression) ประเพณี และ ความเชื่อของคน
ฮูม มองเรื่อง สัญญาประชาคม ว่า การยินยอม (Consent) ของประชาชนเป็นเรื่องสมมุติฐาน เพราะถ้าไปถามประชาชนจริงๆ ประชาชนจำเป็นต้องเชื่อฟังรัฐโดยไม่มีทางเลือกอยู่แล้ว และเป็นการยอมรับแบบต่อเนื่อง
ฮูม เห็นว่า ควรให้ประชาชนมีพื้นที่เสรีภาพส่วนบุคคลที่กว้างขวาง และ อำนาจรัฐควรจะมีจำกัด และ ระบุให้แน่ชัดว่ามีหน้าที่ทำอะไรได้บ้าง
ค.ศ. 1712 – 1778 ฌอง ฌากส์ รุสโซ (Jean Jacques Rousseau) เป็นชาวสวิส เสนอแนวคิดที่มีลักษณะปฏิวัติที่มีอิทธิพลในโลกตะวันตก 3 ข้อ คือ
1. อารยะธรรมไม่ใช่สิ่งที่ดีที่ใครๆชอบสรุปกัน และไม่ได้เป็นกลางด้วย แต่เป็นสิ่งเลวร้าย
2. เราควรตั้งคำถามต่อทุกสิ่งในชีวิตของเรา ไม่ว่าจะเป็นชีวิตส่วนตัวหรือสาธารณะ ไม่ใช่สนองตอบต่อเหตุผล แต่หากเพื่ออารมณ์ และ สัญชาตญาณธรรมชาติของเรา กล่าวคือ ความรู้สึกควรมาแทนที่เหตุผลในการเป็นผู้ชี้นำชีวิตและการตัดสินใจของเรา
3. สังคมมนุษย์เป็นสังคมรวมหมู่ซึ่งมีเจตจำนงของตัวมันเอง อันต่างจากผลรวมของเจตจำนงของสมาชิกที่เป็นปัจเจกชนแต่ละคน และพลเมืองควรเชื่อฟังเจตจำนงค์ร่วมกัน (General Will) โดยสิ้นเชิง รุสโซเชื่อว่า อารยะธรรมเป็นตัวกาลที่ฉ้อฉล มอมเมาและทำลายค่านิยมที่แท้จริงของคน ไม่ใช่เป็นผู้สร้างและเผยแพร่อย่างที่หลายคนเข้าใจ
รุสโซ เห็นว่า ประชาธิปไตยที่ประชาชนมีส่วนร่วม รัฐต้องไม่ใหญ่เกินไป ประชาชนจึงจะมีเสรีภาพ รัฐที่ใหญ่ทำให้เสรีภาประชาชนลดลง แนวคิดต่อต้าน อารยธรรม มามีอิทธิพล ต่อ นักปรัชญาในศตวรรษที่ 19 คือ พรูดอง (Proudhon) และ นิทเช่ (Nietzsche) และงานของเขามีอิทธิพลต่อ ซิกมันด์ ฟรอยด์ นักจิตวิทยาคนสำคัญ

ค.ศ. 1724 – 1804 อิมมานูเอล คานท์ (Immanuel Kant) นักปรัชญาเชิงวิพากษ์ ชาวเยอรมัน เขาเป็นผู้พยายามสังเคราะห์ ข้อโต้แย้งระหว่าง คติเหตุผลนิยม (Rationalism) และ ประจักษ์นิยม(Empiricism) และ พยายามวางพื้นฐานด้านเหตุผล ให้กับ จริยศาสตร์ สุนทรียศาสตร์ และ สร้างมุมมองใหม่ให้กับ ญาณวิทยา หรือ ทฤษฎีการเรียนรู้ คานท์ สนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตย และไม่เห็นด้วกับการสืบทอดตำแหน่งทางการเมืองโดยสายเลือด คานท์มีแนวคิดโลกนิยม เสนอความร่วมมือจัดตั้ง “สันนิบาตประชาชาติ”

4. เศรษฐกิจการเมืองแบบคลาสิค และคติอรรถประโยชน์นิยม
การขยายตัวของทุนนิยมยุคแรก
การปฏิวัติอุตสาหกรรม การเปลี่ยนแปลงการผลิตขั้นพื้นฐานจากการใช้แรงงานและเครื่องมืออย่างง่ายๆ เป็นการใช้เครื่องจักรที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงงาน เริ่มในอังกฤษในราว ศตวรรษที่ 17 อังกฤษมีสภาพทางภูมิศาสตร์ ทรัพยากร และ พัฒนาทางการเมืองและวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสมหลายประการ ทำให้เป็นผู้นำในการปฏิวัติ อุตสาหกรรมและระบบเศรษฐกิจทุนนิยม ซึ่งต่อมาได้ขยายไปที่ สหรัฐฯ และ ประเทศภาคพื้นยุโรป
ค.ศ. 1723 – 1790 อาดัม สมิธ (Adam Smith) เป็นนักปรัชญาสังคม ชาวสกอต ที่ได้รับอิทธิพลจากนักคิด มนุษย์นิยม (Humanism) ที่เน้นความสำคัญที่มนุษย์ เห็นว่ามนุษย์สามารถเข้าใจ โลกที่มีกฎเกณฑ์ ระเบียบด้วยเหตุผลได้ และ เหตุผลจะนำไปสู่ความจริง เขาได้รับความคิดเรื่องเสรีภาพจาก ล็อค และเป็นนักปราชญ์ที่อธิบายระบบ เสรีนิยมทางเศรษฐกิจ อย่างเป็นระบบ เขาไม่เห็นด้วยกับ การค้าแบบผูกขาดตัดตอน (Monopoly) เพราะจะทำให้ผู้ผูกขาดได้กำไรเกินควร ผู้ประกอบการรายย่อยต้องล่มจม สิ่งที่ สมิธเสนอคือ ราคาสินค้าในตลาด (มูลค่าการแลกเปลี่ยนของสินค้า) ย่อมเป็นไปตามกฎของการเสนอ (Supply) ของผู้ขาย (ผู้ผลิต) และ การสนอง (Demand) ของผู้ซื้อ (ผู้บริโภค) มูลค่าแลกเปลี่ยนนี้ต่างจากมูลค่าใช้สอย หรือมูลค่าที่แท้จริงของสินค้า คืออาจจะเท่ากันหรือไม่เท่ากันก็ได้ มูลค่าใช้สอยหรือมูลค่าที่แท้จริง นั้นมาจากค่าการผลิตหรือต้นทุนในการผลิตสินค้า (ค่าจ้าง ดอกเบี้ยเงินทุน ค่าเช่า)ส่วนมูลค่าแลกเปลี่ยน ขึ้นอยู่กับการเสนอ (เช่น ความหาได้ยาก) และ การสนองหรือความต้องการของผู้ซื้อ (ผู้บริโภค)ซึ่งแปรไปตามสภาวะของตลาดสำหรับสินค้าแต่ละชนิด ซึ่งทฤษฎีของสมิธ ได้กลายเป็นต้นกำเนิดของ ลัทธิเสรีนิยมทางเศรษฐกิจ
เดวิด ริคาร์โด (ค.ศ. 1772 – 1823) David Ricardo ชาวอังกฤษจากครอบครัวยิว ให้ความสำคัญเรื่องการ กระจาย หรือการจำหน่าย (Distribution) ซึ่งต่างจาก สมิธ ที่ให้ความสนใจในการผลิต ทฤษฎีค่าเช่า ของเขามีอิทธิพลทางการเมืองในอังกฤษมาก (ค่าเช่าเกิดขึ้นเมื่อพลเมืองมีมากขึ้น ที่ดินจึงไม่พอจึงเกิดมีการเพาะปลูกในที่ดินที่คุณภาพด้อยกว่า หรือทำเลไม่ดีเท่ากับการครอบครองตอนแรก ค่าเช่า คือส่วนหนึ่งที่ผลเกิดจากพื้นดิน ที่คิดให้แก่เจ้าของที่ดิน เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับสิทธิ การใช้ที่ดินที่มีคุณภาพมากว่าที่ดินแปลงที่เลวที่สุด นอกจากนี้ ริคาร์โด ยังเสนอทฤษฎี แรงงานว่าด้วยมูลค่า (Labor Theory of Value) - มูลค่าของสินค้ามาจากเวลาของคนงานที่ใช้ในการผลิต , กฎว่าด้วยการได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ (Law of Comparative Advantage) – ผลิตสินค้าที่ตนถนัด และต้นทุนต่ำสุด ซื้อสินค้าที่ต้นทุนการผลิตสูงกว่า และ กฎที่ว่าด้วยผลตอบแทนที่ลดน้อยถอยลง (Law of Diminishing Return) – ของผลผลิตหน่วยท้ายๆ เมื่อเราเพิ่มแรงงาน และทุนในพื้นที่เท่าเดิม เรื่องการกระจาย (Distribution) ริคาร์โด แบ่งเป็น ค่าเช่า ค่าจ้าง และ กำไร และ ค่าเช่ามีแน้วโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ เพราะที่ดินมีจำกัด
เจเรอมี เบนเธม (ค.ศ. 1748 – 1832) Jeremy Bentham นักปรัชญาชาวอังกฤษ ผู้คิด อรรถประโยชน์นิยม (Utilitarianism) – สิ่งที่ดีมากที่สุดสำหรับคนจำนวนมากที่สุด เป็นแนวตัดสินใจว่า นั่นคือสิ่งที่ถูกต้อง กฎหมายต้องออกมาเพื่อ “ประโยชน์สุขมากที่สุดสำหรับคนจำนวนมากที่สุด” เบนแธม เสนอแนวคิด สิ่งที่ดีมากที่สุด (Greatest Good) ความถูกหรือผิดของกิจกรรมใดๆ จะวัดจากผลของมัน (แรงจูงใจไม่เกี่ยวข้อง) ผลดีคือกิจกรรมนั้นทำให้คนมีความสุข ผลเสียคือกิจกรรมนั้นทำให้คนมีความทุกข์ ดังนั้นไม่ว่าสถานการณ์ใด แนวทางที่ถูกต้องคือ ทำในสิ่งที่จะให้เกิดความสุขมากกว่าความทุกข์
จอห์น สจ๊วต มิลล์ (ค.ศ. 1806 – 1873) John Stuart Mill อยู่ในกลุ่มเดียวกับ เบนแธม คือ กลุ่มพวกหัวรุนแรงทางปรัชญา (Philosophical Radicals) และ สนับสนุน คติอรรถประโยชน์นิยมของ เบนแธม เขาเป็น สส.อังกฤษคนแรกที่เสนอให้ผู้หญิง มีสิทธิออกเสียงเลือกผู้แทน หนังสือของ มิลล์ ที่มีอิทธิพล คือ เรื่องเสรีภาพ On Liberty (1859) – ปัจเจกชนมีเสรีภาพที่จะปกป้องตัวเอง และทำอะไรได้ทุกอย่าง ตราบเท่าที่การกระทำนั้นไม่ทำร้ายคนอื่น เสรีภาพควรเป็นจุดมุ่งหมายสำคัญที่สุดของมนุษย์ และ ประเด็นของผู้หญิง (การยอมเป็นฝ่ายตามของผู้หญิง) - The Subject of Women (1869) – ว่าด้วยความเสมอภาคทางเพศ ซึ่งเป็นเรื่องที่ เพลโต และ เอปิคิวรัส เคยกล่าวไว้นานแล้ว เบนแธม และ มิลล์ สนับสนุนระบบเศรษฐกิจแบบ ทุนนิยมว่าเป็นระบบที่ดีที่สุดแล้ว แต่ มิลล์ก็ให้ความสนใจกับ ความคิดของนักสังคมนิยมรุ่นแรกๆ มิลล์ได้เขียนหนังสือ เศรษฐศาสตร์ Principal of Political Economy ในปี 1848 ซึ่งใช้เป็นตำราเรียนของยุโรปและอเมริกา กว่ารึ่งศตวรรษ
5. นักสังคมนิยมและ อนาธิปไตย ช่วงปี 1756 – 1763 เป็นช่วงปลดปล่อย อาณานิคม อเมริกาออกจาก อังกฤษ นำไปสู่การปกครองแบสาธารณรัฐประชาธิปไตย และ การปฏิวัติ ฝรั่งเศส ในปี 1789 จบลงด้วยการยกเบิกสถาบันพระมหากษัตริย์และระบบขุนนาง และ เกิดนักสังคมนิยม และ นักอนาธิปไตย (Anarchist) รุ่นแรกๆ เช่น แซงต์ ซิมอง, ชาร์ลส์ ฟูริเยร์, ปิแอร์ พรูดอง จนถึง คาร์ล มาร์ก
6. นักจารีตนิยม (Conservatism) นักเสรีประชาธิปไตย เฮเกล ดาร์วิน มาร์ก
7. นักสังคมวิทยา นักเศรษฐศาสตร์ และ ปรัชญาการเมือง / สังคม ยุคหลังมาร์ค
ยุค จักรวรรดินิยม (ค.ศ. 1870 – 1913) จักรวรรดินิยมเยอรมัน (ครอบงำโดย ปรัสเซีย หลังสงคราม ฟรังโก – ปรัสเซีย ในปี 1870) ได้สถาปนาขึ้นหลังจากการรบชนะฝรั่งเศส และ ในช่วง 1880 – 1992 แผ่นดินส่วนใหญ่ของทวีป แอฟริกาถูกแบ่งแยกเป็นส่วนๆ ในปี 1913 จักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดคือ อังกฤษ (ปกครอง แอฟริกา เอเซีย และ ลาตินอเมริกา)
แมกซ์ เวเบอร์ (ค.ศ. 1864 – 1920) Max Weber นักสังคมวิทยาและเศรษศาสตร์การเมืองเยอรมัน แนวคิดสำคัญของ เวเบอร์ คือ สังคมนอกจากจะมีชนชั้นทางเศรษฐกิจแล้ว ยังแบ่งเป็นกลุ่มสถานภาพ (Status Group) หรือการยอมรับทางสังคมด้วย เป็น พหุสังคม เวเบอร์ ให้ความเห็นว่า จิตใจสำคัญไม่น้อยกว่าฐานะทางเศรษฐกิจ ความขัดแย้งทางเศรษฐกิจไม่ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ มาร์กซ์ ทำนายไว้เสมอไป การที่ ฮิตเลอร์ ขึ้นมามีอำนาจได้ มีรากฐานมาจากประเพณีดั้งเดิม เหตุผลและกฎหมายเยอรมัน ลัทธิชาติสังคมนิยม และบุคคลิกส่วนตัว จริยธรรมแบบโปเตสแตนส์ – การปรหยัดอดออม การทำงานหนัก การรู้จักควบคุมตนเอง การพึ่งพาตนเอง เป็นปัจจัยช่วยสนับสนุนการพัฒนาของทุนนิยมในยุโรป
นักคิดแนวมาร์กซ์ ที่ประสบผลสำเร็จ คือ เลนิน ในรัสเซีย และ เหมา เจอ ตุง ใน จีน และ ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์ ในยุโรปตะวันออก เวียตนาม เกาหลีเหนือ และ คิวบา ฯลฯ
กลุ่มนักสังคมนิยม เฟเบี้ยน (Fabian Society) เป็นกลุ่มนักเขียนและปัญญาชนชาวอังกฤษ (1884) เรียกร้องการปฏิรูปสังคมให้เป็นสังคมนิยม โดยให้ความรู้ชักชวนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโดยวิถีทางประชาธิปไตย
นักคิดกลุ่มวิพากษ์ หรือ สำนักแฟรงก์เฟิร์ต (Critical Theory, Frankfurt School) กลุ่มนักคิดเยอรมัน มีศูนย์กลางอยู่ที่แฟรงเฟิร์ตในทศวรรษที่ 1920 – 1930 และ ต่อมาต้องลี้ภัยจากลัทธิฟาส์ซิสม์ไปอยู่สหรัฐ เป็นแนวคิด มาร์กซิสม์ แบบดั้งเดิม คือ สภาพทางวัตถุและเศรษฐกิจ เป็นตัวกำหนดความคิดจิตสำนึกคน และ การเปลี่ยนแปลงทางสังคมนั้นเป็นการตีความแบบเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดด้านเดียว (Economic Determinism) อย่างคับแคบ ชนชั้นนายทุนครอบงำให้คนงานและประชชนคล้อยตามโดยผ่าน ศิลปและวัฒนธรรมแบบตลาด (Popular Culture) พลังที่ทุนนิยมอยู่ได้ เพราะคนงานไมเกิดความสำนึกในชนชั้น ที่จะเปลี่ยนแปลงทุนนิยมไปเป็นสังคมนิยม และ มองว่าการจะสร้างสังคมประชาธิปไตยได้ต้องพัฒนาจิตสำนึกของประชาชนเป็นเรื่องสำคัญ
กลุ่มนักเศรษฐศาสตร์ในศตวรรษที่ 20 คือกลุ่มคลาสิคใหม่ (Neoclassic Economists) ขยายแนวคิด คลาสิค ของ อดัม สมิธ หลัการประโยชน์หน่วยสุดท้าย (Marginal) ในการอธิบายเรื่อง ราคา การผลิโภค การผลิต และ การกระจายรายได้ ทฤษฎีค่าเช่า
ลีออง วอลรัส (ค.ศ. 1834 – 1910) Leon Walrass นักเศรษศาสตร์ชาวฝรั่งเสศ สร้างโมเดล ทฤษฎี ดุลยภาพทั่วไป (General Equilibrium Theory) ที่ว่าความต้องการ (Demand) จะเท่ากับการสนองหรือ ซัพพลายในทุกตลาดรวมกัน และ ทฤษฎีอรรถประโยชน์หน่วยสุดท้ายของสินค้า (Marginal Utility) ซึ่งอธิบายว่าอรรถประโยชน์หน่วยสุดท้ายจะลดลง เมื่อมีการบริโภคเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งหน่วย (เช่น ก๊วยเตี๋ยว ชามที่ 2 ,3 มีอรรถประโยชน์หรือให้ความพอใจน้อยกว่า ก๊วยเตี๋ยว ชามแรก) ดังนั้นคนที่มีเหตุผลและอยากได้ประโยชน์สูงสุดก็จะเลือกใช้เงินไปบริโภคของอื่นแทน
อัลเฟรด มาร์แชลล์ (ค.ศ. 1842 – 1924) Alfred Marshall นักเศรษศาสตร์ชาวอังกฤษ อัลเฟรด เน้นถึงพลังอำนาจของ Supply (อุปทาน หรือ ปริมาณตอบสนอง) และ Demand (อุปสงค์ หรือ ความต้องการ) ว่าสามารถสร้างราคาที่สมดุลยในตลาดได้ และ เสนอแนวคิดเรื่องความยืดหยุ่นของ Demand (อุปสงค์) เมื่อ ราคาสินค้าเปลี่ยนไป ในหนังสือ Principles of Economics (1980) เป็นตำราที่มีอิทธิพลมากที่สุดต่อเศรษฐศาสตร์แบบนีโอคลาสสิค
จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ (ค.ศ. 1883 – 1946) John Maynard Keynes นักเศรษฐศาสตร์และที่ปรึกษากระทรวงการคลังอังกฤษ เป็นผู้ริเริ่มวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์แบบมหภาคที่ถือเป็นโมเดลที่เป็นมาตรฐานต่อมา ผลงานดีเด่นคือ The General Theory of Employment, Interest and Money, 1936 (ทฤษฎีทั่วไปเกี่ยวกับการว่าจ้างแรงงาน ดอกเบี้ย และ การเงิน) คัดค้านทฤษฎีการจ้างงานเดิมของเศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิก ซึ่งเสนอให้ลดค่าจ้างในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำเพื่อจูงใจให้นักธุรกิจลงทุน เคนส์เห็นว่าจะยิ่งไปลดอุปสงค์ (Demand) รวมทำให้เศรษฐกิจยิ่งตกต่ำ และ เสนอว่ารัฐต้องมีบทบาทในการสร้างอุปสงค์ (Demand) เคนส์ วิเคราะห์ ปริมาณการจ้างงาน หรือ ปริมาณการผลิตของสังคม ทั้งหมดเป็ส่วนรวม ไม่ใช่การวิเคราะห์ เกี่ยวกับการลงทุน รายได้ การบริโภคของหน่วยครัวเรือน ทฤษฎีของ เคนส์ เข้ามามีบทบาทในการก้ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำของโลกทุนนิยมในยุค 1930 และ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และ เคนส์ เป็นตัวแทนของอังกฤษ ไปเข้าร่วมประชุม Bretton Woods ในปี 1944 ซึ่งนำไปสู่การก่อตั้ง กองเงินทุนระหว่างประเทศ (International Monetary Fund –IMF) เพื่อเป็นสถาบันช่วยแก้ปัญหาสภาพคล่องระหว่างประเทศที่มีบทบาทต่อมาถึงปัจจุบัน
โจเซฟ เอ. ชุมปีเตอร์ (ค.ศ. 1883 – 1950) Joseph A. Schumpeter นักเศรษฐศาสตร์และนักสังคมวิทยาอเมริกัน งานชิ้นสำคัญของเขาคือ Capitalism Socialism and Democracy (1943) อธิบายระบบเศรษฐกิจทุนนิยมตะวันตก ถูกบังคับโดยความสำเร็จในตัวของระบบเอง ให้วิวัฒนาการเป็นสังคมนิยมรูปแบบหนึ่ง และมองว่าประชาธิปไตยโดยเสียงส่วนใหญ่อาจไม่ได้นำมาซึ่งผลที่น่าปรารถนาเสมอไป เช่น การสังหารชาวยิวโดยรัฐบาลเยอรมันที่มาจากการเลือกตั้ง จึงประเมินว่าประชาธิปไตยเป็นเพียงวิธีการที่ผู้นำใช้ในการบริหารหลังจากที่ได้ผ่านการออกเสียงประชามติอย่างมีเหตุผลแล้ว แนวคิดของ เขาเป็นต้นแบบของ สำนักคิดการเลือกอย่างมีเหตุผล (Rational Choice School) ในสมัยต่อมา
8. ปรัชญาการเมือง / สังคม อเมริกัน สหรัฐอเมริกา เป็นประเทศเกิดใหม่ที่เกิดจากชาวยุโรปอพยพที่ต้องการสร้างเนื้อสร้างตัวทางเศรษฐกิจหรือแสวงหาเสรีภาพทางศาสนา จึงเป็นแหล่งรวมของปรัชญาทั้งอนุรักษ์นิยมและเสรีนิยม
ทอมัส เจฟเฟอร์สัน (ค.ศ.1743 – 1826) Thomas Jefferson เป็นนักกฎหมายและนักการเมืองท้องถิ่น เป็นกำลังสำคัญในการเรียกร้องเอกราชของสหรัฐอเมริกา เป็นประธานคณะกรรมการร่างคำประกาศอิสระภาพในปี 1766 มีแนวคิดประชาธิปไตยสนับสนุนการปฏิวัติฝรั่งเศส คัดค้านระบบการเมืองแบบอาณานิคมของอังกฤษอย่างรุนแรง เป็นผู้สนับสนุนอำนาจอธิปไตยของรัฐ (State Sovereignty) และ การกระจายอำนาจการปกครองสู่ท้องถิ่น ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี 2 สมัย ในปี 1801 – 1809
อเล็ก ซานเดอร์ แฮมิลตัน (1757 – 1804) และ เจมส์ เมดิสัน (1751 – 1836) ผู้สนับสนุนแนวคิดพหุนิยม สหพันธรัฐนิยม และ การแบ่งแยกอำนาจ รวมทั้ง วูดโรว์ วิลสัน (1856-1924) เป็นนักปราชญ์การเมืองประชาธิปไตย
9. นักปรัชญาแนวธรรมชาตินิยม
ราลฟ์ วัลโด อีเมอร์สัน (ค.ศ. 1803 – 1882) Ralph Waldo Emerson เป็นนักเขียนความเรียง กวี และ ปรัชญาก่อตั้งกลุ่มปรัญา Transcendental (อุตรภาพ หรือ เหนือธรรมชาติ) ปรัชญาที่มองว่าญาณหยั่งรู้ (intuition) เป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญกว่าประสาทสัมผัสและการให้เหตุผล
เฮนรี่ เดวิด ธอโร (ค.ศ. 1817 – 1862) Henry David Thoreau นักปราชญ นักเขียนแนวธรรมชาติ และ อณาธิปไตยชาวอเมริกัน จบจาก ม. ฮาร์วาด อุทิศตนเองหกับการศึกษาธรรมชาติ เสนอเรื่อง การดื้อแพ่งของพลเมือง หรือ อารยะขัดขืน (Civil Disobedience) เช่นการไม่เสียภาษีถ้าหากไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล เช่น การทำสงคราม การคงมีระบบทาส เมื่อศาลสั่งปรับเพื่อนๆ ต้องมาช่วยจ่ายเงินค่าปรับเพื่อช่วยไม่ให้เขาติดคุก เขาเห็นว่าสามัญสำนึกสำคัญกว่ากฎหมายและอำนาจปกครอง รวมทั้งรัฐบาลที่ดีที่สุดคือรัฐบาลที่ไม่ต้องปกครองเลย เขาเป็นนักอณาธิปไตยแบบธรรมชาตินิยมที่มีอิทธิพลทางความคิดต่อ มหาตมะ คานธี มาร์ติน ลูเธอร์ คิง ผู้ใช้วิธีดื้อแพ่งต่อรัฐด้วยสันติวิธี และ นักธรรมชาตินิยมรุ่นหลัง
10. ปรัชา สำเร็จนิยม หรือ ประยุกต์นิยม (Pragmatism) สหรัฐได้เอกราชตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 18 แต่ต้องใช้เวลาอีกราว 100 ปี คือปลายศตวรรษที่ 19 ถึงต้น ศตวรรษที่ 20 ชาวอเมริกันถึงได้สร้างปรัชญาที่เป็นของตัวเองที่โลกยอมรับคือ ปรัชญา Pragmatism หรือ ปฏิบัตินิยม ซึ่งเป็นการประสานความขัดแย้งระหว่าง ปรัชญาประสบการณ์นิยม และ เหตุผลนิยม ในศตวรรษที่ 19 มาเป็นปรัชญาแนวใหม่ที่เสนอว่าความคิดต้องนำไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลได้
11. ปรัชญาการเมือง / สังคม ยุคศตวรรษที่ 20 ในศตวรรษที่ 19 หลังการปฏิวัติและสงครามนโปเลียน ยุโรปค่อนข้างสงบ แต่พอต้น ศตวรรษที่ 20 เรามมีกระแส ลัทธิชาตินิยม ลัทธิจักวรรดินิยม ลัทธิทหารนิยม ที่นำไปสู่การขัดแย้ง และแบ่งกลุ่ม
สงครามโลกครั้งที่ หนึ่ง การลอบสังหาร รัชทายาท แห่งบัลลังก์ จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ในวันที่ 28 มิถุนายน 1914 ได้จุดชนวนให้ต่างฝ่ายสร้างกลุ่มพันธมิตร (อิตาลี, เยอรมันนี, ออสเตรีย ฮังการี) กลุ่มหนึ่ง และ อีกกลุ่มหนึ่ง ( รัสเซีย, ฝรั่งศส, อังกฤษ) นำยุโรปเข้าสงครามอย่างรวดเร็ว เพราะทั้งสองฝ่ายกระตือรือร้นจะเข้าสงคราม พวกเขาคิดว่าสงครามจะสั้น และเป็นสงครามที่รุ่งโรจน์ แต่ตรงข้าม อาวุธยุทโธปกรณ์ถูกพัฒนาไปมาก ทำให้สงครามตั้งรับเป็นฝ่ายได้เปรียบ สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เป็นสงครามยุโรปมากว่า และยุติลงในปี 1918 (4 ปี) มีคนตายเป็นจำนวนมากที่สุดในประวัติศาสตร์สงครามที่ผ่านมา สงครามและการเมืองภายในได้นำไปสู่การล่มสลายของระบบกษัตริย์ ในออสเตรีย เยอรมันนี และ รัสเซีย โดยเฉพาะ รัสเซีย โดยแทนที่ด้วย คอมมิวนิสต์ เมื่อปี 1917 ยุโรปหมดแรงทางเศรษฐกิจ ระบบเก่าถูกทำลายโดยสิ้นเชิง การฟื้นฟูเป็นไปอย่างเชื่องช้า ส่วนที่ฟื้นฟูก็ถูกทำลายโดยเหตุการณ์ตลาดหุ้นวอลสตรีท ในปี 1929 เป็นเศรษฐกิจโลกที่ตกต่ำครั้งใหญ่ สหรัฐฯ ถอยไปอยู่โดดเดี่ยว สหภาพโซเวียต สตาลิน ขึ้นครองอำนาจต่อจาก เลนิน ในปี 1924 ทำให้ยุโรปหลายประเทศต้องหันไป นิยม นโยบาย ขวาจัด พร้อมกับการขึ้นมาของจอมเผ็จการทหาร มุสโสลินี (อิตาลี) ฟรังโก (สเปน) ซาลาซ่าร์ (โปรตุเกส) และ ฮิตเลอร์ (เยอรมันนี) แนวคิดของ ฮิตเลอร์ ผสมผสานกับ ลัทธิ เชื้อชาตินิยม และ ลัธทธิฟาสซิสต์ ได้รับความนิยมจากประชาชนชาวเยอรมันนี เพราะปัญหาความยากลำบากทางเศรษฐกิจที่ถูกบีบด้วยสนธิสัญญาสันติภาพแวร์ซายส์ ปี 1919 และ หลังจากพรรคนาซีของ ฮิตเลอร์ชนะการเลือกตั้งและขึ้นครองอำนาจในปี 1933 เยอรมัน ก็เปลี่ยนจินตนาการในการครอบครองโลกให้เป็นจริง โดย การบุกประเทศเพื่อนบ้านเพื่อขยายดินแดน เมื่อการเจรจาประนีประนอมก็ล้มเหลว อังกฤษ และ ฝรั่งเศส ก็ไม่มีทางเลือก ที่ต้องยื่นคำขาดให้เยอรมันนี ซึ่งนำไปสู่สงครามโลกรั้งที่ 2 (ค.ศ. 1939 – 1945) – หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติได้ 21 ปี สหภาพโซเวียต เข้าอยู่ข้างสัมพันธมิตร เยอรมันนี มีชัยในช่วงแรก โดยกองทัพนาซี และ อิตาลี เข้ายึดครองฝรั่งเศส และ ยุโรปส่วนใหญ่ได้ เหลืออังกฤษที่เป็นเกาะ แต่ก็ถูกโจมตีอย่างหนัก และ เมื่อ มิถุนายน 1941 เยอรมันนีหันไปบุก สหภาพโซเวียต ได้รับความเสียหายอย่างหนัก และในเดือน ธันวาคม ปีเดียวกัน (6 เดือนหลัง เยอรมันนีบุก รัสเซีย) ญี่ปุ่น ก็โจมตี เพิร์ลฮาร์เบอร์ ของสหรัฐฯ และ เข้าร่วมเป็นฝ่าย อักษะ กับเยอรมันนี และ อิตาลี โดยการบุก เอเซียปาซิฟิค ทำให้ สหรัฐฯ ต้องเข้าร่วมสงครามโดยอยู่ข้างฝ่ายสัมพันธมิตร และ เมื่อ มิถุนายน 1944 กองทัพแองโกอเมริกัน ก็พร้อมจะยึดยุโรปคืน เดือน พฤษภาคม 1945 เบอร์ลิน เมืองหลวงของ เยอรมันนี ก็ถูกรัสเซีย ตีแตก และ เยอรมันนียอมแพ้ สำหรับ ญี่ปุ่นอีก 2-3 เดือนต่อมา ก็ถูกระเบิดปรมณู 2 ลูก ที่ ฮิโรชิมา และ นางาซากิ คนบาดเจ็บล้มตายนับแสน และ ญี่ปุ่นประกาส ยอมแพ้ ผลขอสงครามโลกครั้งที่ สอง ทำให้มีผู้เสียชีวิตไปราว 25 ล้านคน (ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว 6 ล้านคน)
12. ยุคสงครามเย็น ระหว่าง ค่าย ทุนนิยม (เสรีประชาธิปไตย) กับ ค่าย สังคมนิยม (คอมมิวนิสต์) เมื่อ สงครามโลกครั้งที่สองยุติลง แต่ความขัดแย้งด้านอุดมการณ์ และ ผลประโยชน์ ของมหาอำนาจทุนนิยม และ มหาอำนาจคอมมิวนิสต์ ซึ่งถูกกดไว้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ก็โผล่ขึ้นมา ยุโรปถูกแบ่งตรง เส้นที่กองทัพโซเวียตรัสเซีย และ มหาอำนาจตะวันตกมาพบกัน และ สหภาพรัสเซียได้พัฒนาอาวุธปรมณู (นิวเคลียร์) ของตนเอง เพื่อถ่วงดุลยอำนาจกับสหรัฐฯ ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ยังมีสงครามกลางเมืองที่หนุนโดยมหาอำนาจทั้งสอง เช่น สงครามเกาหลี (1950-1953) จบด้วยการแบ่งเกาหลีออกเป็น เกาหลีเหนือ และ ใต้ สงครามอินโดจีนจบลงในปี 1975 และ คอมมิวนิสต์ เป็นฝ่ายชนะ สงคราม 8 ปีในอาฟกานิสถาน จบลงในปี 1988 ด้วยความพ่ายแพ้ของสหภาพโซเวียต ยุโรปตะวันตก จักวรรดินิยมอังกฤษและฝรั่งเศษ ล่มสลาย บทเรียนจากสงครามโลกครั้งที่สอง ทำให้ยุโรปต้องผนึกรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ เป็นตลาดร่วมยุโรปในปี 1957 ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นสหภาพยุโรป และรัฐใหม่ที่สร้างปัญหาอย่างมากคือ ประเทศอิสราเอล ที่หนุนโดยประเทศตะวันตก โดยตั้งประเทศ ในดินแดนของชาวยิว และ ถิ่นที่อยู่ของชาวปาเลสไตน์ ในตะวันออกกลาง ในอาฟริกาหลังสงครามและการจัดตั้งรัฐชาติโดยจักวรรดินิยม ทำให้รัฐและหลายเผ่าเกิดสงครามกัน ประชาชนส่วนใหญ่ยากจน การเมืองภายในไม่มั่นคง จากความเสียหายของสหรัฐในการเข้าไปร่วมทำสงครามอินโดจีน เริ่มเปลี่ยนท่าทีมาคบค้าทางเศรษฐกิจกับประเทศค่ายคอมมิวนิสต์ รัสเซีย และ จีน มากขึ้น ซึ่งประเทศคอมมิวนิสต์ก็มีการลงทุนในตะวันตกมากขึ้นเลิกการสนับสนุน พรรคคอมมิวนิสต์เล็กๆในตะวันออก ประเทศสังคมนิยม ก็เริ่มเปลี่ยนมาเป็นทุนนิยม สงครามโลกครั้งที่สองมีผลทางด้านการเติบโตของเทคโนโลยี่อย่างรวดเร็ว การใช้พลังงาน (น้ามัน) ที่เพิ่มมากขึ้น มลภาวะที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก ความขัดแย้งระหว่างสังคมนิยมและทุนนิยม หรือ สงครามเย็น หมดไปในปี 1980 แต่ปัญหาข้อขัดแย้งระหว่างประเทศร่ำรวยและยากจน บริษัทข้ามชาติที่เน้นผลกำไรกับประชาชนประเทศยากจน ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ กับกลุ่มประเทศอาหรับ หัวรุนแรง การก่อการร้ายในปี 2001 (9/11) การบุกอาฟกานิสถานในปี 2002 และ การบุก อิรักในปี 2003
เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์ (ค.ศ. 1872 – 1970) Bertrand Russell นักคณิตศาสตร์ และ นักปรัชญาชาวอังกฤษ นักต่อต้านสงคราม เป็นปรัชญาการวิเคราะห์ (Analytical Philosophy) ซึ่งวิเคราะห์ความหมายของแนวคิดรวบยอดต่างๆ เชิงตรรกวิทยา และ มีอิทธิพล ต่อนักปรัชญา ออสเตรีย เวียนนา เซอเคิล ในทศวรรษ 1920 พวกเขาได้พัฒนาปรัชญาแนว Logical Positivism ซึ่งหาความหมายที่แท้จริงของประโยคโดยการพิสูจน์เชิงประจักษ์ว่ามันผิดหรือถูกอย่างไร (แนวคิดพื้นฐานคล้ายปรัชญา Pragmatism ของสหรัฐฯ) หลักตรรกวิทยาแบบ Logical Positivism กลุ่มหลัง (G.E. Moore, J.L. Austin) เป็นที่รู้จักกันในชื่อ Linguistic Philosophy (ปรัชญาภาษา) หรือ “Linguistic Analysis” (การวิเคราะห์เชิงภาษา) แต่เบอร์ทรันด์ วิจารณ์พวกหลังนี้ว่า หมกมุ่นกับการวิเคราะห์ถกเถียงมากไปจนไม่สนใจใช้แนวคิดตรรกวิทยาใหม่ๆ เพื่อเข้าใจโลกภายนอกตัวเรา
ลัทธิฟาสซิสต์ (Fascism) และ ฟาสซิสต์ใหม่ (Neo – Fascism) ลัทธิฟาสซิสต์ คือลัทธิชาตนิยม หรือ เผ่าพันธุ์นิยมแบบหลุ่มหลง ที่เกิดขึ้นใน อิตาลี ภายใต้การนำของ มุสโสลินี (Benito Mussolini, 1883 - 1945) ในช่วง ปี 1922 – 1943 และ สมัย ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler, 1889 – 1945) ในช่วง ปี 1939 – 1945 ลัทธิ ฟาสซิสต์ เป็นปฏิกิริยาของพวก อนุรักษ์นิยมและเชื้อชาตินิยม ที่ต่อต้านความคิดแบบ เสรีนิยม ซึ่งพวกเขาเห็นว่าก่อให้เกิดความไม่มั่นคง ความไม่ปลอดภัย และ ความเสื่อมโทรม ทั้งในระดับตัวบุคคลและสถาบันต่างๆที่เกี่ยวข้อง แนวคิดพื้นฐานของลัทธิฟาสซิสต์คือ ต่อต้านคติเสรีนิยม และ สังคมนิยม สนับสนุน รัฐนิยม (Statism) คือให้ความสำคัญรัฐอย่างสูง ส่งเสริมเศรษฐกิจแบบ บรรษัทนิยม (Corporatism) แม้ ฟาสซิสต์จะพ่ายแพ้เสรีนิยม (อังกฤษ ฝรั่งเศส และ สหรัฐฯ) และ สังคมนิยม (โซเวียตรุสเซีย) ที่เป็นพันธมิตรกันในสงครามโลกครั้งที่สอง แต่ในทศวรรษที่ 1970 บุคคลบางกลุ่มใน อิตาลี เยอรันนี ฝรั่งเศส และที่อื่นๆ ได้มีการรื้อฟื้นความคิดแบบ ฟาสซิสต์ เรียกว่า ฟาสซิสต์ใหม่ (Neo- Fascism) จุดประสงค์เพื่อต่อต้านคอมมิวนิสต์ และ แรงงานอพยพต่างชาติ การรวมเข้ากับยุโรป และ นโยบายเสรีนิยมบางเรื่อง
อัลเบิร์ตไอน์สไตน์ (ค.ศ. 1879 – 1995) Albert Einstein นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน เชื้อสายยิว ผู้ค้นพบทฤษฎีสัมพันธภาพ และ ทฤษฎีควอนตัม ไม่มีอะไรที่เป็นความรู้ที่ถาวร แม้แต่สิ่งซึ่งเราคิดว่าเป็นความรู้ที่ดีที่สุดที่มนุษยชาติมีอยู่นั้น ก็เป็นเพียงทฤษฎีที่มนุษย์สร้างขึ้นมา ซึ่งสามารถถูกล้มล้างได้ แก้ไขได้เมื่อมีทฤษฎีที่ดีกว่ามาทดแทน เป็นนักปรัชญาทางสังคมที่เชื่อในเรื่องสันติภาพ และ เสรีประชาธิปไตย การพัฒนาของการเรียนรู้ของมนุษย์ ไอน์สไตน์ ได้เข้าร่วมกับนักฟิสิกส์และปัญญาชนอื่นๆ ลงนามเรียกร้องให้ยุติการใช้ระเบิดปรมณูและใช้พลังงานปรมณูเพื่อสันติ
ฌอง ปอล ซาร์ตร์ (ค.ศ. 1905 – 1980) Jean Paul Sartre เป็นนักปรัชญาแนว คติอัตถภาวนิยม (Existentialism) เป็นผลมาจากความโหดร้าย และ สิ้หวังจากสงครามโลกครั้งที่สอง ปรัชญาของ ซาร์ตร์เน้น ความสำคัญของเสรีภาพของปัจจเจกชน ในโลกที่ปราศจากพระเจ้า เราไม่มีทางเลือกอื่นใดนอกจากจะเลือกและสร้างค่านิยมของตัวเนาเอง เราวางกฎพื้นฐานสำหรับชีวิตของตัวเราเองให้เป็นคนตัดสินใจ ว่าเราจะพัฒนาบุคคลิกของเราอย่างไร ซึ่งก็คือเราสร้างตัวของเราเองขึ้นมา
คาร์ล ปอปเปอร์ (ค.ศ. 1902 -1994) Karl Popper นักปรัชญาวิทยาศาสตร์ชาวออสเตรีย และ ภายหลังไปเป็นอาจารย์ด้านตรรกวิทยา และ วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ที่ London School of Economics ในอังกฤษ ปอปเปอร์ มองว่าความเป็นจริงทางกายภาพเป็นอิสระจากจิตใจมนุษย์ และ มีระเบียบที่แตกต่างจากประสบการณ์ของมนุษย์อย่างถึงรากถึงโคน ด้วยเหตุผลนี้เราจึงไม่มีทางจะเข้าใจมันโดยตรงได้ จึงเพียงแต่สร้างทฤษฎี ที่พอเป็นไปได้มาอธิบายมัน และ ถ้าทฤษฎีได้ก่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติได้ เราก็ใช้มันจนกว่าจะใช้ไม่ได้ แล้วก็หาทฤษฎีที่ดีกว่ามาแทน ปอปเปอร์นำเอาแนวคิดปรัชญาทางวิทยาศาสตร์ของเขาไปประยุกต์ใช้กับทฤษฎีทางการเมืองและสังคมด้วย โดยเขามองว่าในทางการเมืองก็ไม่มีความจริงแท้เช่นกัน ดังนั้นการที่ใครจะอ้างว่าทรรศนะของตนเป็นฝ่ายถูกที่สุดทั้งหมดจึงไม่มีเหตุผลที่จะรองรับได้ สังคมที่ผู้สร้างนโยบายจะแก้ปัญหาในเชิงปฏิบัติได้ดีที่สุดคือ สังคมเปิด (Open Society) ที่ยอมรับการอภิปรายและการค้านอย่างวิพากษ์วิจารณ์ การเมืองก็เหมือนวิทยาศาสตร์ไม่สามารถสร้างสังคมที่เป็นอุดมคติแบบใดแบบหนึ่งขึ้นมาได้ เราต้องพยายามแก้ปัญหาไปตลอดเวลา พยายามลดสิ่งเลวร้ายที่สุดทางสังคม เช่น ความยากจน การขาดอำนาจของประชาชน การคุกคามสันติภาพ และ สร้างสิ่งที่ดี ขึ้นมาแทนที่ของเดิม เราไม่อาจจะล่วงรู้ว่าจะทำให้คนมีความสุขได้อย่างไร แต่เราสามารถขจัดความทุกข์ยากและอุปสรรคต่างๆที่ทำให้คนไปไม่ถึงความสุขได้
ทัลคอต พาร์สันส์ (ค.ศ. 1902 – 1979) นักสังคมวิทยาอเมริกัน ผู้เสนอทฤษฎี โครงสร้างหน้าที่นิยม (Structural functionalism) มองว่า ความหมายในสิ่งต่างๆของมนุษย์ โดยเฉพาะผลผลิตทางสังคมและวัฒนธรรมอยู่ที่โครงสร้าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องภาษา การกระทำ พีธี ศาสนา งานเขียน เสื้อผ้า ฯลฯ
13. ปรัชญาแบบพหุนิยม สิทธิสตรี และ การพัฒนาที่ยั่งยืน
ปลายศตวรรษที่ 20 ถึงต้น ศตวรรษที่ 21 ได้มีแนวคิดเรื่อง การสร้างสังคมที่ยอมรับความหลากหลายของกลุ่มชนต่างๆ เช่น การเมืองแบบพหุนิยม (Pluralism) เป็นการขยายความหมายของแนวคิดเสรีนิยมหรือเสรีประชาธิปไตย ให้กว้างขวางกว่าระบบประชาธิปไตยแบบนายทุน เช่น การลดอำนาจรัฐบาล การกระจายอำนาจให้สถาบันและองค์กรอิสระเพิ่มขึ้น การยอมรับของกลุ่มชน ที่หลากหลายทั้งเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา และ วัฒนธรรม ชนชั้น ช่วยเหลือกลุ่มคนด้อยโอกาส ให้มีโอกาสเท่าเทียมคนอื่นๆ ให้คนต่างกลุ่มต่างมีอำนาจต่อรองและมีบทบาทเพิ่มขึ้น โดยไม่มีกลุ่มใดมีอำนาจเหนือกลุ่มใด นักคิดชาวอเมริกัน ชื่อ Robert A. Dahl เห็นว่าสังคมสมัยใหม่ เป็นสังคมที่มีคนจำนวนมาก มีสิทธิมีเสียงในการปกครอง แต่ไม่ใช่พลเมืองทุกคนได้ปกครอง เขาเสนอใช้ “Polyarchy” แทน “Democracy”
กลุ่มเรียกร้องสิทธิความเสมอภาคของสตรี เริ่มมีการเรียกร้อง โดย ปัญญาชนสตรีชาวอังกฤษ แมรี่ วอลสโตนคราฟท์ (Mary Wollstonecraft, 1759 – 1797) ในศตวรรษที่ 18 แต่มาได้รับความสนใจในศตวรรษที่ 20 เรียกร้องและโต้แย้งว่าสังคมที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบันถูกครอบงำด้วยผู้ชายในทุกๆด้าน
ซีโมน เดอ โบวัวร์ (ค.ศ. 1908 – 1986) Simone De Beauvoir นักเขียนนวนิยาย และ นักปรัชญาสตรีชาวฝรั่งเศส ผู้บุกเบิก ขบวนการสิทธิสตรีสมัยสมัยในงานเขียน ชิ้นสำคัญเรื่อง The Second Sex (เพศที่สอง) ในปี 1953
14. ปรัชญาอื่นๆ
Populism เป็นขบวนการทางการเมืองที่มุ่งกระตุ้นให้ประชาชน ใช้พลังผลักดันให้รัฐบาลทำตามจุดมุ่งหมายของประชาชน โดยไม่ต้องพึ่งพรรคการเมืองหรือสถาบันที่มีอยู่ เกิดขึ้นครั้งแรกในหมู่ปัญยาชนหัวก้าวหน้ารุสเซียในทศวรรษ 1860 คือ กลุ่ม Narodniks ผู้เชื่อว่าสังคมรุสเซียสามารถก้าวกระโดดไปเป็นกลุ่มสังคมนิยมได้ โดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนของการพัฒนาทุนนิยม โดยอาศัยพื้นฐานของระบบคอมมูนของชาวนาที่มีอยู่แล้ว พวก นารอดนิค เชื่อว่า การปฏิวัติต้องเป็นงานของประชาชน ไม่ใช่ของนักปฏิวัติอาชีพกลุ่มน้อย ปลายศตวรรษที่ 19 พวกมาร์กซิสต์รุสเซีย เริ่มเรียกแนวทางปฏิวัติที่ไม่ใช่มาร์กซิสต์ทั้งหลายว่า “Populist” และ กลายเป็นความหมายที่ยอมรับกัน หลังจากนั้น คำว่า Populism ถูกนำไปใช้ในความหมายแตกต่างออกไป เช่น ในสหรัฐอเมริกา ในปี 1891 พรรค Populist เป็นพรรคที่ปกป้องผลประโยชน์ของภาคเกษตรและเรียกร้องให้รัฐบาลควมคุมการผูกขาด ในระยะหลัง Populism ทีเมืองไทยเรียกว่าประชานิยม หมายถึงขบวนการทางการเมืองที่พยายามเข้าถึงและอิงพลังประชาชนขั้นรากหญ้าเป็นหลัก ในประวัติศาสตร์ มีทั้งฝ่ายขวาและฝ่ายซ้ายที่นำไปใช้ ในความหมายบวก หมายถึงความเชื่อมั่นในพลังและคุณธรรมประชาชน ในความหมายลบ คือ นักการเมือง ใช้ปลุกระดมพลังมวลชนเพื่อหาเสียงและใช้พลังประชาชนเป็นเครื่องมือ เช่น ในอาร์เจนตินาในสมัยของประธานาธิบดีเปรอง และในไทยสมัย นายกฯทักษิณ ชินวัตร
Post Colonialism (Post Colonial Theory) แนวคิดของโลกตะวันออก วิเคราะห์ปัญหาของวัฒนธรรมความคิดและวรรณกรรมที่เป็นผลมาจากลัทธิอาณานิคม ในลักษณะวิพากษ์และแนวคิดแบบอาณานิคม
Post Modernism (Post Modernity) 1. ขบวนการทางศิลปะและการออกแบบในประเทศตะวันตก ในทศวรรษ 1960 ที่แสดงปฏิกิริยาปฏิเสธศิลปแบบ Modernism 2. แนวคิดที่คัดค้าน คติ Modernism คือคติสมัยใหม่ ที่เสนอว่าความเติบโตทางวิทยาศาสตร์และเหตุผลคือ วิธีการในการเข้าใจ กลุ่ม Post modernism มองว่าทั้งวิทยาศาสตร์และเหตุผลล้มเหลวที่จะสร้างความก้าวหน้าให้มนุษย์ พวกเขาเสนอว่าสิ่งที่พออ้างได้ว่าเป็นความรู้มีลักษณะเป็นบางส่วนและขึ้นอยู่กับท้องถิ่น มากกว่าจะมีลักษณะแบบสากลที่ใช้อธิบายทั่วไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น