วันอาทิตย์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2551

16. ราชวงศ์ถัง

ถัง (ค.ศ.618 -907 หรือ พ.ศ. 1161-1450) ราชวงศ์นี้สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้จีนอย่างมาก ทั้งด้านศิลปกรรม วัฒนธรรม และอีกหลายๆ ด้าน หลี่หยวนได้ตั้งตัวเองเป็น พระเจ้าถังเกาจู่ หลังจากรวมแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่นแล้ว ก็เกิดการแย่งชิงตำแหน่งรัชทายาทขึ้น ระหว่างโอรสหลี่เจี้ยนเฉิง หลี่ซื่อหมิน และหลี่หยวนจี๋ หลี่ซื่อหมินนั้น มีความดีความชอบมาก เนื่องจากรบชนะมาหลายครั้ง ต่อมา ก็เกิดกรณีศึกสายเลือดขึ้นที่ประตูเสียนอู่ (เสียนอู่เหมิน) หลี่ซื่อหมินได้สังหาร หลี่เจี้ยนเฉิง รัชทายาท และหลี่หยวนจี๋ และให้พระเจ้าถังเกาจู่ตั้งตนเป็นรัชทายาท และต่อมาพระเจ้าถังเกาจู่ก็สละราชสมบัติ ตั้งตนเองเป็นไท่ซ่างอ๋อง (สมเด็จพระราชบิดา)
ราชวงศ์ถังปกครองประเทศนานถึง 289 ปีตั้งแต่ ค.ศ. 618 เมื่อราชวงศ์ถังสถาปนาขึ้นจนถึง ค.ศ. 907 ราชวงศ์ถังถูกจูเวินโค่นลง ราชวงศ์ถัง แบ่งได้เป็นสองช่วงจากการก่อกบฎของอันลู่ซันและสื่อซือหมิง ช่วงแรกเป็นช่วงที่เจริงรุ่งเรือง ช่วงหลังเป็นช่วงที่เสื่อมโทรมลง จักรพรรดิถัง เกาจู่สถาปนาราชวงศ์ถัง หลี่ ซื่อหมิน โอรสของจักรพรรดิถังเกาจู่ได้นำกองทัพรวบรวมจีนเป็นเอกภาพใช้เวลานานถึง 10 ปี หลังจากเหตการณ์ประตูเสียนอู่เหมิน หลี่ซื่อหมินขึ้นครองราชย์จนเป็นจักรพรรดิถังไท่จง จักรพรรดิถังไท่จงบริหารประเทศอย่างแข็งขันจนทำให้ราชวงศ์ถังเจริญรุ่งเรืองอย่างไม่เคยมีมาก่อน อยู่ในฐานะนำหน้าทั่วโลกในสมัยนั้นทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและด้านอื่นๆ ซึ่งเรียกว่า ”ช่วงเจริญรุ่งเรืองรัชสมัยเจินกวน” หลังจากนั้น ในสมัยจักรพรรดิ์ถังเสวียนจงก็เจริญรุ่งเรืองอีกครั้ง เรียกว่า ”ช่วงเจริญรุ่งเรืองรัชสมัยไคหยวน” ประเทศเข้มแข็งเกรียงไกร ประชาชนมีความมั่งคั่ง แต่หลังจากนั้นไม่นาน ในช่วงปลายรัชกาลถังเสวียนจงได้เกิดกบฎอันลู่ซันและสื่อซือหมิง จากนี้เป็นต้นมา ราชวงศ์ถังก็เริ่มเสื่อมโทรมลงเรื่อยๆ
ในสมัยราชวงศ์สุยและราชวงศ์ถัง ระบบการเมืองมีการพัฒนาไปไม่น้อยและมีส่งอิทธิพลต่อยุคหลังมาก เช่นระบบ 3 กระทรวง 6 ฝ่าย ระบบสอบจอหงวนและระบบภาษีเป็นต้น ในด้านการต่างประเทศ ราชวงศ์สุยและราชวงศ์ถังได้ใช้มาตรการที่ค่อนข้างเปิดประเทศ การแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมระหว่างประเทศมีบ่อยครั้ง ในด้านวรรณคดี บทกวีของราชวงศ์ถังมีผลงานอันยิ่งใหญ่ แต่ละช่วงล้วนมีกวียอดเยี่ยมเกิดขึ้น เช่นช่วงต้นของราชวงศ์ถังมีเฉินจื่ออ๋าง ช่วงเจริญรุ่งเรืองของราชวงศ์ถังมีหลี่ไป๋และตู้ฝู่ ช่วงกลางของราชวงศ์ถังมีไป๋จวีอี้และหยวนเจิ่น ช่วงปลายของราชวงศ์ถังมีหลี่ซังอิ่นและตู้มู่ ขบวนการส่งเสริมบทความสมัยโบราณที่หานอวี๋ และหลิ่วจงหยวนริเริ่มมีอิทธิพลต่อคนยุคหลังมาก ลายมือเขียนพู่กันของเอี๋ยนเจินชิง ภาพวาดของหยานลี่เปิ่น อู่เต้าจื่อ หลี่ซือซุ่น และหวางเหวย ชุดระบำที่ชื่อ ”หนีซังอวี่อีอู่” และศิลปะในถ้ำหินต่าง ๆ ได้แพร่หลายจนถึงยุคปัจจุบัน ในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิธีการพิมพ์และดินปืน ซึ่งเป็นสองอย่างในสิ่งประดิษฐ์อันยิ่งใหญ่สี่อย่างของจีนก็เกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์ถัง
ราชวงศ์ถังช่วงหลังมีความวุ่นวายในด้านการเมือง เกิดการปะทะกันระหว่างพรรคหนิวและพรรคหลี่กับการกุมอำนาจของขุนนางขันที การลุกขึ้นต่อสู้ของชาวนาเกิดขึ้นไม่ขาดสาย ในที่สุด การลุกขึ้นสู้ที่มีผู้นำได้แก่หวงเฉา จูเวินที่เคยเป็นบริวารของหวงเฉา แต่กลับไปยอมจำนนต่อรัฐบาลราชวงศ์ถัง หลังจากนั้น ก็ฉวยโอกาสโค่นราชวงศ์ถังลง ประกาศตนเป็นจักรพรรดิโดยสถาปนาราชวงศ์เหลียงยุคหลังซึ่งเป็นราชวงศ์แรกของสมัยอู่ไต้หรือสมัยห้าราชวงศ์
เนื้อหา
[ซ่อน]
• 1 ประวัติศาสตร์
o 1.1 สถาปนาราชวงศ์ถัง
o 1.2 หลี่ซื่อหมินรวมแผ่นดิน
o 1.3 การปกครองสมัยราชวงศ์ถัง
o 1.4 เหตุเปลี่ยนแปลงที่ประตูเสียนอู่
o 1.5 ศักราชเจินกวน
o 1.6 จักรพรรดินีอู่เจ๋อเทียน
o 1.7 ดวงตะวันฉายแสง
o 1.8 อาทิตย์ดับยามเที่ยง
o 1.9 ยุคเสื่อมของราชวงศ์ถัง
o 1.10 ยุคขันทีครองเมือง
o 1.11 ลมหายใจเฮือกสุดท้าย
• 2 การขยายอำนาจของอาณาจักรถัง
• 3 สถาปัตยกรรม
• 4 วัฒนธรรม
o 4.1 วรรณกรรม
o 4.2 ศาสนาและปรัชญา
o 4.3 สิ่งประดิษฐ์
• 5 ดูเพิ่ม
• 6 อ้างอิง
• 7 แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้] ประวัติศาสตร์
[แก้] สถาปนาราชวงศ์ถัง
ปฐมจักรพรรดิถังเกาจู่หรือหลี่ยวน ถือกำเนิดในเชื้อสายชนชั้นสูงจากราชวงศ์เหนือ มีความเกี่ยวดองสายเครือญาติกับปฐมจักรพรรดิราชวงศ์สุยอย่างใกล้ชิด ครั้นถึงปลายราชวงศ์สุย แผ่นดินอยู่ในสภาพระส่ำระสายจากกลุ่มกองกำลังต่างๆ ที่ลุกฮือขึ้น ปี 617 หลี่ยวนที่รักษาแดนไท่หยวน ตกอยู่ในภาวะล่อแหลม เนื่องจากไท่หยวนเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญที่กลุ่มกองกำลังต่างต้องการแย่งชิง ขณะเดียวกันก็ทราบว่าสุยหยางตี้ทรงระแวงว่าหลี่ยวนจะแปรพักตร์ จึงประกาศตัวเป็นอิสระจากราชสำนักเวลานั้น กองกำลังหวากั่ง และเหอเป่ย เข้าปะทะกับกองทัพสุย เป็นเหตุให้กำลังป้องกันของเมืองฉางอันอ่อนโทรมลง หลี่ยวนได้โอกาสบุกเข้ายึดเมืองฉางอันไว้ได้ จากนั้นตั้งหยางโย่ว เป็นฮ่องเต้หุ่น ปีถัดมา สุยหยางตี้ถูกลอบปลงพระชนม์ที่เมืองเจียงตู หลี่ยวนจึงปลดหยางโย่ว ประกาศตั้งตนเป็นจักรพรรดิ สถาปนาราชวงศ์ถัง โดยมีนครหลวงอยู่ที่เมืองฉางอัน พร้อมกับแต่งตั้งโอรสองค์โตหลี่เจี้ยนเฉิง เป็นรัชทายาท หลี่ซื่อหมิน โอรสองค์รองเป็นฉินหวัง และหลี่หยวนจี๋ โอรสองค์เล็กเป็นฉีหวัง
[แก้] หลี่ซื่อหมินรวมแผ่นดิน
ภายหลังสถาปนาราชวงศ์ถัง แผ่นดินยังคงตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของกองกำลังต่างๆ อาทิ ทางตะวันตกเฉียงเหนือ มีเซียว์จี่ว์ ทางเหนือมีหลิวอู่โจว หวังซื่อชง สถาปนาแคว้นเจิ้ง ที่เมืองลั่วหยาง โต้วเจี้ยนเต๋อ ตั้งตนเป็นเซี่ยหวัง ที่เหอเป่ย (ทางภาคอีสานของจีน) ปลายปี 618 เซียว์จี่ว์เสียชีวิตกะทันหัน เซียว์เหยินเก่า บุตรชายสืบทอดต่อมา หลี่ซื่อหมินเห็นเป็นโอกาสรุกทางทหาร ยึดได้ดินแดนภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ปี 619 กลุ่มกองกำลังของหลี่กุ่ย เกิดการแย่งชิงอำนาจ จึงเป็นโอกาสให้ราชวงศ์ถังเข้าครอบครองแดนเหอซี ปี 620 กวาดล้างกลุ่มกองกำลังของหลิวอู่โจว ปลายปีเดียวกัน หลี่ซื่อหมินยกทัพใหญ่เข้าปิดล้อมหวังซื่อชงที่ลั่วหยาง โต้วเจี้ยนเต๋อยกกำลังมาช่วย แต่ถูกหลี่ซื่อหมินโจมตีแตกพ่ายไป โต้วเจี้ยนเต๋อถูกจับ ภายหลังเสียชีวิตที่ฉางอัน หวังซื่อชงได้ข่าวการพ่ายแพ้ของโต้วเจี้ยนเต๋อจึงยอมจำนนต่อราชวงศ์ถัง ปี 622 ทัพถังกวาดล้างกองกำลังเหอเป่ยที่หลงเหลือ จากนั้นกองกำลังต่างๆ บ้างยอมสวามิภักดิ์ บ้างถูกปราบปรามจนราบคาบ ภารกิจเบื้องต้นในการรวมแผ่นดินถือได้ว่าสำเร็จลง ขณะที่ศึกแย่งชิงอำนาจในราชสำนักก็เริ่มปะทุขึ้น
[แก้] การปกครองสมัยราชวงศ์ถัง
การปกครองสมัยราชวงศ์ถัง ได้รับการยกย่องว่าเป็นการปกครองที่ดีที่สุดของจีน ราชวงค์อื่นมีแต่การช่วงชิงอำนาจเท่านั้นหลี่ซื่อหมินองค์ถังไท่จงฮ่องเต้ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักปกครองที่เก่งที่สุดในประวัติศาสตร์จีนแม้วาจะได้ชื่อว่าก่อศึกสายเลือด สังหารพี่น้องแต่เป็นเรื่องที่มิอาจเลี่ยงได้และความจริงที่ควรได้เป็นฮ่องเต้ก็ไม่ใช่พระบิดาอยู่แล้วแต่เป็นตัวหลี่ซื่อหมิงเองที่จัดการทุกอย่างการปกครองสมัยราชวงศ์ถังและการแต่งกายตลอดจนวัฒนธรรมมีผลสะท้อนไปไกลถึงญี่ปุ่นกล่าวกันว่าที่โตกุกาว่าเรืองอำนาจมาได้ถึงกว่าสามร้อยปีเพราะคัมภีร์เจินกวนเจิ้งเยาที่รจนาโดยอู๋จิงโดยคัมภีร์นี้คือสิ่งที่รวบรวมกุศโลบายและคำแนะนำต่างๆ ที่มีในยุคเจินกวนการปกครองสมัยหมิงมีบางส่วนนำมาจากสมัยถังเช่นกันแต่ไม่นำมาจากซ่งเพราะแนวนโยบายอ่อนแอเกินไป
[แก้] เหตุเปลี่ยนแปลงที่ประตูเสียนอู่
หลี่ซื่อหมินที่นำทัพปราบไปทั่วแผ่นดิน นับว่าสร้างผลงานความชอบที่โดดเด่น เป็นที่ริษยาของพี่น้อง ประกอบกับระหว่างการกวาดล้างกองกำลังน้อยใหญ่นั้นได้เพาะสร้างขุมกำลังทางทหาร และยังชุบเลี้ยงผู้มีความสามารถไว้ข้างกายจำนวนมาก อาทิ อี้ว์ฉือจิ้งเต๋อ หลี่จิ้ง ฝางเซวียนหลิ่ง เป็นต้น อันส่งผลคุกคามต่อรัชทายาทหลี่เจี้ยนเฉิง เป็นเหตุให้รัชทายาทเจี้ยนเฉิงร่วมมือกับฉีหวังหลี่หยวนจี๋เพื่อจัดการกับหลี่ซื่อหมิน ปัญหาข้อขัดแย้งดังกล่าวทำให้สองฝ่ายยิ่งทวีความเป็นปรปักษ์มากขึ้นจวบจนกระทั่งปี 626 หลี่ซื่อหมินชิงลงมือก่อน โดยกราบทูลเรื่องราวต่อถังเกาจู่ ถังเกาจู่จึงเรียกทุกคนให้เข้าเฝ้าในเช้าวันรุ่งขึ้น ขณะที่ขบวนของหลี่เจี้ยนเฉิงและหลี่หยวนจี๋ผ่านเข้าประตูเสียนอู่นั้น (ประตูใหญ่ทางทิศเหนือของวังหลวง)หลี่ซื่อหมินก็นำกำลังเข้าจู่โจมสังหารรัชทายาท และฉีหวัง เหตุการณ์ครั้งนี้ต่อมาได้รับการเรียกขานว่า เหตุเปลี่ยนแปลงที่ประตูเสียนอู่ภายหลังเหตุการณ์ ถังเกาจู่แต่งตั้งหลี่ซื่อหมินเป็นรัชทายาท จากนั้นอีกสองเดือนต่อมาก็ทรงสละราชย์ ให้หลี่ซื่อหมินขึ้นครองบัลลังก์ต่อมา ทรงพระนามว่า ถังไท่จง และประกาศให้เป็นศักราชเจินกวน (ปี 627 – 649)
[แก้] ศักราชเจินกวน
ต้นศักราชเจินกวน บ้านเมืองยังอยู่ในสภาพทรุดโทรมเสียหายจากสงครามกลางเมือง ประชาชนต้องเร่ร่อนไร้ที่อยู่อาศัย จักรพรรดิถังไท่จงได้รับบทเรียนจากการล่มสลายของราชวงศ์สุย อันเป็นที่มาของคำกล่าวว่า “กษัตริย์เปรียบเสมือนเรือ ส่วนประชาชนคือน้ำ น้ำสามารถหนุนส่งเรือให้ลอย และสามารถจมเรือได้เช่นกัน” ทราบว่า การรีดเลือดกับปู ถ้าราษฎรอยู่ไม่ได้ ผู้ปกครองก็ไม่อาจดำรงอยู่เช่นกัน ดังนั้นจึงตั้งอกตั้งใจในการบริหารราชการแผ่นดินอย่างเต็มกำลัง ทรงดำเนินนโยบายที่เปิดกว้าง ผ่อนปรนการเรียกเก็บภาษี ลดการลงทัณฑ์ที่รุนแรง แต่เน้นความถูกต้องยุติธรรมมากกว่า เร่งพัฒนากำลังการผลิต จัดสรรที่ดินทำกินให้กับราษฎรได้กลับคืนสู่ไร่นาและดำเนินวิถีชีวิตตามปกติ ช่วงเวลาดังกล่าว มีการตรากฎหมายเพิ่มขึ้น เปิดการสอบคัดเลือกบุคลากรเข้ารับราชการจากบุคคลทั่วไป ไม่เลือกยากดีมีจน ไม่จำกัดอยู่แต่ชนชั้นขุนนางดังแต่ก่อน ทั้งมีการตรวจตราการทำงานของบรรดาขุนนางท้องถิ่นอย่างเข้มงวด เลือกใช้คนดีมีปัญญา ถอดถอนคนเลว นอกจากนี้ ยังเปิดรับฟังความคิดเห็นและคำทักท้วงจากขุนนางรอบข้าง เพื่อแก้ไขปรับปรุงข้อผิดพลาดในการบริหารแผ่นดินได้อย่างทันการณ์ รอบข้างจึงเต็มไปด้วยอัจฉริยะบุคคลที่ตั้งอกตั้งใจทำงาน อย่าง ฝางเซวียนหลิ่ง เว่ยเจิง หลี่จิ้ง เวินเหยียนป๋อ เป็นต้น อันเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ศักราชเจินกวนมีการบริหารการปกครองที่โปร่งใสและมีเสถียรภาพในด้านแนวคิดการศึกษา จักรพรรดิถังไท่จงให้ความสำคัญต่อการรวบรวมและจัดเก็บตำราความรู้วิทยาการและประวัติศาสตร์เป็นหมวดหมู่ ทั้งยังเปิดกว้างในการนับถือและเผยแพร่แนวคิดในลัทธิศาสนาต่างๆ เช่น พุทธศาสนา เต๋า หยู(ลัทธิขงจื้อ) รวมทั้งศาสนาบูชาไฟของเปอร์เซีย ศาสนาแมนนี และคริสต์ศาสนาเหตุการณ์ที่มีความสำคัญต่อการเผยแพร่พุทธศาสนา ได้แก่ หลวงจีนเซวียนจั้ง หรือพระถังซำจั๋ง ได้เดินทางไปยังประเทศอินเดียอันไกลโพ้น เพื่ออัญเชิญพระไตรปิฎกกลับมา แปลเป็นภาษาจีนและเผยแพร่ออกไป ทำให้พุทธศาสนาในสมัยราชวงศ์ถังเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในเวลาต่อมานอกจากนี้ ถังไท่จงยังส่งเสริมและให้ความสำคัญกับการจัดแบบแผนการศึกษา มีการสร้างสถานศึกษาสำหรับบรรดาลูกหลานผู้นำ เรียกว่า สำนักศึกษาหงเหวินก่วน เปิดสอนศาสตร์สาขาต่างๆในการเป็นผู้นำ อาทิ การบริหารการปกครอง กฎหมาย วรรณคดี อักษรศาสตร์ การคำนวณ ฯลฯ เพื่ออบรมบ่มเพาะบรรดาลูกหลานที่เป็นทายาทเชื้อพระวงศ์ ขุนนาง และชนชั้นสูง ทั้งยังจัดตั้งสำนักศึกษาในศาสตร์สาขาต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร บรรดาเจ้าผู้ครองแคว้นรอบนอกจึงนิยมส่งบุตรหลานของตนเข้ามาศึกษายังนครฉางอัน ทำให้ในเวลานั้นจีนกลายเป็นศูนย์กลางการศึกษาวิทยาการต่างๆ ในแถบภูมิภาคนี้ในรัชสมัยนี้ ได้มีการปฏิรูปโครงสร้างการปกครอง ที่เน้นการรวมศูนย์อำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง เพื่อป้องกันการก่อหวอดของผู้มีกำลังทหารอยู่ในมือดังที่ผ่านมา ข้าราชการท้องถิ่นไม่มีสิทธิ์เคลื่อนพล ในภาวะสงคราม ส่วนกลางจะเป็นผู้สั่งระดมพลจากที่ต่างๆ จากนั้นจัดส่งนายทัพไปบัญชาการรบ ภายหลังเสร็จศึก ทหารกลับสู่กรมกอง แม่ทัพกลับคืนสู่ราชสำนัก
[แก้] จักรพรรดินีอู่เจ๋อเทียน
ดูบทความหลักที่ บูเช็กเทียน
อู่เจ๋อเทียน หรือ บูเช็กเทียน เป็นฮองเฮาในถังเกาจงหลี่จื้อ มีชื่อว่า ‘เจ้า’ บิดาเป็นพ่อค้าไม้ ปลายราชวงศ์สุยได้มีการติดต่อกับหลี่ยวน ต่อมาเมื่อหลี่ยวนสถาปนาราชวงศ์ถัง ก็ติดตามมาตั้งรกรากที่นครฉางอัน เข้ารับราชการต่อมา เมื่อบูเช็กเทียนอายุได้ 14 ปี ถูกเรียกตัวเข้าวังเป็นนางสนมรุ่นเยาว์ในรัชกาลถังไท่จงหลี่ซื่อหมิน เมื่อถังไท่จงสวรรคต จึงต้องออกบวชเป็นชีตามโบราณราชประเพณี หลังจากถังเกาจงหลี่จื้อขึ้นครองราชย์ก็รับตัวบูเช็กเทียนเข้าวังมา ด้วยการสนับสนุนจากหวังฮองเฮาที่กำลังขัดแย้งกับสนมเซียว และต่างฝ่ายต่างคอยให้ร้ายกัน ต่อมาในปี 655 ถังเกาจงคิดจะปลดหวังฮองเฮา และตั้งบูเช็กเทียนขึ้นแทน แต่เสนาบดีเก่าแก่ ฉางซุนอู๋จี้ และฉู่ซุ่ยเหลียง แสดงท่าทีคัดค้าน ส่วนหลี่อี้ฝู่ และสี่ว์จิ้งจง แสดงความเห็นคล้อยตาม ต่อมาเมื่อถังเกาจงปลดหวังฮองเฮา แต่งตั้งบูเช็กเทียนขึ้นเป็นฮองเฮาแทน ฉางซุนอู๋จี้ ฉู่ซุ่ยเหลียงและกลุ่มที่คัดค้านต่างทยอยถูกปลดจากตำแหน่ง บ้างถูกบีบคั้นให้ฆ่าตัวตาย ส่วนหวังฮองเฮาและสนมเซียวก็ไม่อาจรอดพ้นชะตากรรมได้ ภายหลัง ถังเกาจงร่างกายอ่อนแอ ล้มป่วยด้วยโรครุมเร้า ไม่อาจดูแลราชกิจได้ บูฮองเฮาเข้าช่วยบริหารราชการแผ่นดิน จึงเริ่มกุมอำนาจในราชสำนัก สุดท้ายสามารถรวบอำนาจไว้ทั้งหมดปี 683 รัชทายาท หลี่เสี่ยน โอรสองค์ที่สามของบูฮองเฮาขึ้นครองราชย์ต่อมา พระนามว่า ถังจงจง ปีถัดมา บูเช็กเทียนปลดถังจงจงแล้วตั้งเป็นหลูหลิงหวัง จากนั้นตั้งหลี่ตั้น ราชโอรสองค์ที่สี่ขึ้นครองราชย์แทน พระนามว่าถังรุ่ยจง แต่ไม่นานก็ปลดจากบัลลังก์เช่นกัน ระหว่างนี้ กลุ่มเชื้อพระวงศ์ตระกูลหลี่และขุนนางเก่าที่ออกมาต่อต้านอำนาจของตระกูลบูล้วนถูกกำจัดกวาดล้างอย่างเหี้ยมโหด ฐานอำนาจของกลุ่มตระกูลหลี่อ่อนโทรมลงอย่างมาก กระทั่งปี 690 บูเช็กเทียนประกาศเปลี่ยนราชวงศ์ถังเป็น ราชวงศ์โจว หรือในประวัติศาสตร์จีนเรียกว่า ราชวงศ์อู่โจว มีนครหลวงที่ลั่วหยาง ตั้งตนเป็นจักรพรรดินี ทรงอำนาจสูงสุด ด้วยวัย 67 ปี ถือเป็นจักรพรรดินีองค์แรกและองค์เดียวในประวัติศาสตร์จีน แม้ว่าการเข่นฆ่ากวาดล้างศัตรูทางการเมืองขนานใหญ่ ส่งผลให้บรรยากาศบ้านเมืองขณะนั้นเต็มไปด้วยความหวาดระแวงและความกลัว แต่โดยทั่วไปแล้ว สภาพเศรษฐกิจและสังคมยังมีความเจริญรุ่งเรือง บูเช็กเทียนได้ปรับปรุงระบบโครงสร้างการปกครองท้องถิ่น การสอบคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการและทหารให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งบ่มเพาะบุคลากรที่มีความสามารถมากมาย ซึ่งส่งผลให้ในรัชกาลถังเสวียนจงในเวลาต่อมา แวดล้อมด้วยเสนาอำมาตย์ที่ทรงภูมิความรู้และคุณวุฒิเป็นผู้ช่วยเหลือ เมื่อถึงปี 705 ขณะที่พระนางบูเช็กเทียนวัย 82 ปี ล้มป่วยลงด้วยชราภาพ เหล่าเสนาบดีที่นำโดยจางเจี่ยนจือ ก็ร่วมมือกันก่อการ โดยบีบให้บูเช็กเทียนสละราชย์ให้กับโอรสของพระองค์ ถังจงจงหลี่เสี่ยน ทั้งรื้อฟื้นราชวงศ์ถังกลับคืนมา ภายหลังเหตุการณ์ไม่นาน บูเช็กเทียนสิ้น
[แก้] ดวงตะวันฉายแสง
ภายหลังรัชกาลของบูเช็กเทียน สภาพการเมืองภายในราชสำนักปั่นป่วนวุ่นวาย เนื่องจากถังจงจงอ่อนแอ อำนาจทั้งมวลตกอยู่ในมือของเหวยฮองเฮา ที่คิดจะยิ่งใหญ่ได้เช่นเดียวกับบูเช็กเทียน เหวยฮองเฮาหาเหตุประหารรัชทายาท จากนั้นในปี 710 วางยาพิษสังหารถังจงจง โอรสองค์ที่สามของถังรุ่ยจง นามหลี่หลงจี ภายใต้การสนับสนุนขององค์หญิงไท่ผิง ชิงนำกำลังทหารบุกเข้าวังหลวงสังหารเหวยฮองเฮาและพวก ภายหลังเหตุการณ์องค์หญิงไท่ผิงหนุนถังรุ่ยจงขึ้นครองราชย์ แต่งตั้งหลี่หลงจีเป็นรัชทายาท แต่แล้วองค์หญิงไท่ผิงพยายามเข้ากุมอำนาจเบ็ดเสร็จ แต่เกิดขัดแย้งกับรัชทายาทหลี่หลงจี ปี 712 ถังรุ่ยจงสละราชย์ให้กับโอรส หลี่หลงจีเมื่อขึ้นครองราชย์ทรงพระนามว่า ถังเสวียนจง สิ่งแรกที่กระทำคือกวาดล้างขุมกำลังขององค์หญิงไท่ผิง นำพาสันติสุขกลับคืนมาอีกครั้ง
[แก้] อาทิตย์ดับยามเที่ยง
ต้นรัชกาลถังเสวียนจงบริหารบ้านเมืองอย่างจริงจัง รอบข้างแวดล้อมด้วยขุนนางผู้ทรงความรู้ความสามารถมากมาย มีการปฏิรูปการบริหารการปกครองครั้งใหญ่ ตัดทอนรายจ่ายฟุ้งเฟ้อที่เคยมีในรัชกาลก่อน ลดขนาดหน่วยงานราชการที่ใหญ่โตเทอะทะ กวาดล้างขุนนางฉ้อราษฎร์ที่มาจากการซื้อขายตำแหน่ง จัดระเบียบและรวบรวมผลงานวรรณกรรมและวิทยาการต่างๆ บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองถึงจุดสูงสุดแต่แล้วในปลายรัชสมัย เนื่องจากบ้านเมืองสงบสุขเป็นเวลานาน ถังเสวียนจงค่อยวางมือจากราชกิจ ปี 744 นับแต่รับตัวหยางอวี้หวนเป็นสนมกุ้ยเฟยไว้ข้างกาย ก็ลุ่มหลงกับการเสพสุขในบั้นปลาย ทอดทิ้งภารกิจบริหารราชการแผ่นดิน จนเป็นโอกาสให้เสนาบดีหลี่หลินฝู่ เข้ากุมอำนาจ แสวงหาอำนาจส่วนตน คอยกีดกันขุนนางและนายทัพที่มีความดีความชอบ ริดรอนขุมกำลังจากส่วนกลางในที่ไม่ใช่พรรคพวกตน ขณะที่ให้การสนับสนุนแม่ทัพชายแดนที่มาจากกลุ่มชนเผ่าภายนอก เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าวเกิดภาวะตึงเครียดตามแนวชายแดนกับทิเบต ทูเจี๋ยว์ เกาหลี และน่านเจ้าทางภาคใต้ กำลังทหารรับจ้างที่ต้องประจำอยู่ตามแนวพรมแดนมีจำนวนมากขึ้น แม่ทัพชายแดนจึงกุมอำนาจเด็ดขาดทางทหารไว้ได้ หลังจากหลี่หลินฝู่เสียชีวิต หยางกั๋วจง ญาติผู้พี่ของสนมหยางกุ้ยเฟยได้ขึ้นเป็นเสนาบดีแทน แต่กลับเลวร้ายยิ่งกว่า ด้วยถืออำนาจบาตรใหญ่ ฉ้อราษฎร์บังหลวง การโกงกินของขุนนางทำให้ระบบการจัดสรรที่นาและการเกณฑ์ทหารล้มเหลว กำลังทหารอ่อนโทรมลง ช่วงเวลาดังกล่าว เกิดเหตุขัดแย้งจากการแย่งชิงอำนาจระหว่างหยางกั๋วจงเสนาบดีคนใหม่กับอันลู่ซัน แม่ทัพชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นเหตุให้อันลู่ซันหาเหตุยกกำลังบุกเข้านครฉางอันถังเซวียนจงและหยางกุ้ยเฟยหลบหนีลงใต้ ระหว่างทางบรรดานายทหารที่โกรธแค้นพากันจับตัวหยางกั๋วจงสังหารเสีย จากนั้นบีบบังคับให้ถังเซวียนจงประหารหยางกุ้ยเฟย จากนั้นเดินทัพต่อไปถึงแดนเสฉวน ขณะเดียวกัน รัชทายาทหลี่เฮิง หลบหนีไปถึงหลิงอู่(ปัจจุบันอยู่ในมณฑลหนิงเซี่ย) ก็ได้รับการสนับสนุนให้ขึ้นครองราชย์ต่อมา พระนามว่า ถังซู่จง
ฝ่ายกองกำลังกบฏเมื่อได้ชัย ก็เข้าปล้นชิงทรัพย์สินราษฎร ปี 757 เกิดการแตกแยกภายใน อันลู่ซันถูกชิ่งซี่ว์ บุตรชายสังหาร ทัพถังได้โอกาสยกกำลังบุกยึดนครฉางอันและลั่วหยางกลับคืนมา แต่แล้วในปี758 สื่อซือหมิงขุนพลเก่าของอันลู่ซันก่อการอีกครั้ง ที่เมืองฟั่นหยาง (ปักกิ่ง) สังหารอันชิ่งซี่ว์ จากนั้นบุกยึดนครลั่วหยางได้อีกครั้ง ปี 761 ระหว่างยกกำลังบุกฉางอันถูกเฉาอี้ บุตรชายสังหารเช่นกัน เป็นเหตุให้กองกำลังระส่ำระสาย ทัพถังได้โอกาสร่วมกับกองกำลังของชนเผ่าหุยเหอ ตีโต้กลับคืน เฉาอี้พ่ายแพ้ฆ่าตัวตาย เหตุวิกฤตจากกบฏอันลู่ซันและสื่อซือหมิง ตั้งแต่ปี 755 – 763 จึงกล่าวได้ว่าสงบราบคาบลง ความเสียหายร้ายแรงที่เกิดจากการกบฏครั้งนี้ เป็นเหตุให้ยุคทองของราชวงศ์ถังดับวูบลง อย่างไม่อาจฟื้นคืนกลับคืนมาเช่นเมื่อครั้งก่อนเก่าได้อีก
[แก้] ยุคเสื่อมของราชวงศ์ถัง
ระหว่างเกิดกบฏอันลู่ซัน สภาพเศรษฐกิจและสังคมในเขตเมืองที่กบฏอันลู่ซันเข้าปล้นสะดมได้รับความเสียหายเป็นบริเวณกว้าง กองทัพถังถูกเรียกระดมกลับเข้าสู่ส่วนกลางเป็นจำนวนมาก ป้อมรักษาการณ์เขตชายแดนว่างเปล่า เป็นเหตุให้อาณาจักรรอบนอก อาทิ ถู่ฟานหรือทิเบตทางภาคตะวันตก และอาณาจักรน่านเจ้าทางทิศใต้ต่างแยกตัวเป็นอิสระ ทั้งยังรุกรานเข้ามาเป็นครั้งคราว ช่วงปลายวิกฤตในปี 762 เกิดเหตุเปลี่ยนแปลงในราชสำนักถังโดยขันทีหลี่ฝู่กั๋ว สังหารจางฮองเฮา ถังซู่จงสิ้น ขันทีหลี่ฝู่กั๋วจึงยกรัชทายาทหลี่อวี้ขึ้นครองราชย์ พระนามว่าไต้จง ภายหลังกบฎอันลู่ซัน ภาพลักษณ์ความเป็นปึกแผ่นมั่นคงของอาณาจักรสั่นคลอนครั้งใหญ่ บรรดาแม่ทัพรักษาชายแดนต่างสะสมกองกำลังของตนเอง แม้ว่าในนามแล้วยังรับฟังคำสั่งจากราชสำนัก แต่ไม่จัดเก็บภาษีเข้าสู่ส่วนกลาง ทั้งสืบทอดตำแหน่งแม่ทัพโดยผ่านทางสายเลือด ไม่ยอมรับการแต่งตั้งจากส่วนกลางอีก ขอบเขตอำนาจจากส่วนกลางหดแคบลง เหลือเพียงดินแดนแถบเสฉวน ส่านซีและซันซี สภาพบ้านเมืองเสื่อมทรุด ภายนอกเป็นสงครามแก่งแย่งของเหล่าขุนศึก ภายในยังมีการช่วงชิงในราชสำนัก
[แก้] ยุคขันทีครองเมือง
ต้นราชวงศ์ถัง ปริมาณขันทีมีไม่มากนัก สถานภาพทางสังคมยังต่ำต้อย ไม่มีสิทธิ์ข้องเกี่ยวทางการทหาร แต่เมื่อถึงรัชสมัยถังเสวียนจง ปริมาณขันทีเพิ่มมากขึ้น โดยหัวหน้าขันทีเกาลี่ซื่อ ได้รับความไว้วางพระทัยอย่างสูง ช่วงปลายรัชกาลถังเสวียนจงละเลยราชกิจ หนังสือถวายรายงานทั้งหลาย ล้วนต้องผ่านเกาลี่ซื่อก่อน ทั้งมีอำนาจจัดการตัดสินชี้ขาดต่างพระเนตรพระกรรณ ขันทีผู้ใหญ่ยังเข้ารับหน้าที่สำคัญๆ อย่างการออกตรวจพล และเป็นราชทูต ตัวแทนพระองค์ ฯลฯ เมื่อถึงรัชกาลถังซู่จง ขันทีหลี่ฝู่กั๋ว ที่หนุนพระองค์ขึ้นครองบัลลังก์ ระหว่างลี้ภัยกบฏอันลู่ซันก็ยิ่งได้รับความไว้วางพระทัย จนสามารถกุมอำนาจสั่งการทหารองครักษ์ในวังหลวงทั้งหมดหลังจากรัชสมัยถังไต้จง(762 – 779) ขันทีมีหน้าที่เป็นตัวแทนพระองค์ออกตรวจกำลังพล ประกาศราชโองการ ตรวจตราหนังสือกราบทูล ดูแลหน่วยข่าวกรองและสืบราชการลับ และองค์รักษ์วังหลวงทั้งหมด ทั้งสามารถแต่งตั้งโยกย้ายผู้ว่าการทหารท้องถิ่น มีอิทธิพลล้นฟ้า อำนาจในราชสำนักจึงตกอยู่ในมือของเหล่าขันที กษัตริย์ราชวงศ์ถังในรัชกาลต่อมา บ้างสิ้นพระชนม์ด้วยมือขันที และบ้างขึ้นสู่ราชบัลลังก์ด้วยมือของขันที ยุคขันทีครองเมืองนี้ได้นำพาสังคมสู่ภัยพิบัติ เนื่องจากขันทีไม่ได้มีฐานอำนาจจากขุนนางอยู่แต่เดิม มือเท้าที่คอยทำงานให้ก็เป็นกลุ่มพ่อค้าและอันธพาลร้านถิ่น สภาพสังคมวุ่นวายสับสน ต่างแย่งชิงเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินและอำนาจส่วนตน ทั้งกษัตริย์ ขุนนางที่ไม่ยินยอมตกอยู่ภายใต้คำบงการของกลุ่มขันทีได้แต่กล้ำกลืนฝืนทน ดังนั้น จึงมักเกิดเหตุการณ์ลุกฮือขึ้นต่อต้านเป็นระยะ
[แก้] ลมหายใจเฮือกสุดท้าย
ภายหลังกบฏอันลู่ซัน เศรษฐกิจสังคมเสียหายหนัก มีราษฎรสูญเสียทรัพย์สินและที่ดินทำกินเป็นจำนวนมาก ประกอบกับการโกงกินของข้าราชการขุนนาง ทำให้ระบบการปกครองล้มเหลว ประชาชนไม่อาจดำรงชีวิตอยู่ตามปกติสุข สุดท้ายต้องลุกฮือขึ้นก่อการ เริ่มจากปี 875 กลุ่มพ่อค้าเกลือเถื่อนหวังเซียนจือ ลุกฮือขึ้นก่อการ จากนั้นเป็นกบฏหวงเฉา ลุกฮือขึ้นหนุนเสริม ภายหลังหวังเซียนจือเสียชีวิตในการต่อสู้ หวงเฉาจึงกลายเป็นผู้นำต่อมา โดยยึดได้ดินแดนทางตอนใต้เกือบทั้งหมด จากนั้นมุ่งตะวันออกอย่างรวดเร็ว กบฏหวงเฉาสยายปีกขึ้นเหนือ ยึดได้ฉางอัน สถาปนาแคว้นต้าฉี ในปี 880 บีบให้ถังซีจง(873 – 887)หลบหนีไปยังแดนเสฉวน ภายหลัง แม้ว่ากบฏหวงเฉาถูกปราบราบคาบลง แต่ครั้งนี้ ราชสำนักได้รับความเสียหายอย่างหนัก ไม่อาจฟื้นตัวได้อีก ได้แต่รอวันดับสูญอย่างช้าๆ ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการปราบปรามกบฏหวงเฉาคนหนึ่งคือ จูเฉวียนจง แต่เดิมชื่อจูเวิน เคยเป็นขุนพลใต้ร่มธงของหวงเฉา แต่ภายหลังหันมาสวามิภักดิ์กับราชวงศ์ถัง ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรองหัวหน้าหน่วยปราบปรามในแดนเหอตง และได้รับพระราชทานนามว่าเฉวียนจง (แปลว่าซื่อสัตย์จงรักภักดี) ปีถัดมาได้เลื่อนเป็นแม่ทัพรักษาดินแดนหน่วยเซวียนอู่ พอถึงปี 884 จูเฉวียนจงร่วมมือกับหลี่เคอย่ง ชนเผ่าซาถัว เข้าปราบกองกำลังของหวงเฉา ภายหลังเหตุการณ์ กองกำลังที่นำโดย จูเฉวียนจง หลี่เคอย่อและหลี่เม่าเจิน ถือเป็นกองกำลังที่ทรงอำนาจที่สุดในขณะนั้นกบฏหวงเฉาจบสิ้นไปแล้ว แต่การแก่งแย่งในราชสำนักยังไม่จบสิ้น ทั้งที่ความจริงอำนาจราชสำนักเหลือเพียงแต่เปลือก หลังจากถังเจาจง (888 – 904)ขึ้นครองราชย์ ก็ร่วมมือกับกลุ่มเสนาบดีชุยยิ่น เพื่อกำจัดอำนาจขันทีในวัง จึงนัดหมายกับจูเฉวียนจงให้เป็นกำลังสนับสนุนจากภายนอก ปี 903 หลังจากจูเฉวียนจงโจมตีกองกำลังของหลี่เม่าเจินที่ให้การสนับสนุนฝ่ายขันทีแตกพ่ายไป ก็นำกำลังทหารบุกเข้าฉางอัน กวาดล้างเข่นฆ่าขันทีในวังครั้งใหญ่ เป็นอันสิ้นสุดยุคขันทีครองเมืองจูเฉวียนจงได้รับการปูนบำเหน็จความดีความชอบจากการกวาดล้างขันที ให้เป็นเหลียงหวัง กุมอำนาจบริหารแผ่นดินอย่างเบ็ดเสร็จแต่ผู้เดียว แต่แล้วในปี 904 จูเฉวียนจงสังหารเสนาบดีชุยยิ่นและถังเจาจง แต่งตั้งถังอัยตี้ วัย 13 ขวบขึ้นเป็นฮ่องเต้หุ่นเชิดแทนจากนั้นในปี 907 จูเฉวียนจงปลดถังอัยตี้ ตั้งตนเป็นใหญ่ สถาปนาแคว้นเหลียงขึ้น โดยมีนครหลวงที่เมือง เปี้ยนโจว (ปัจจุบันคือเมืองไคฟง) ราชวงศ์ถังจึงถึงกาลอวสาน
[แก้] การขยายอำนาจของอาณาจักรถัง


"เขตแดนยุคจักรพรรดิถังไท่จง" 616-649
การขยายอำนาจของจักรวรรดิถัง:
ซันซี (617 : his father is governor, Taizong encouraged him to revolt.) Sui's China by 622-626.(618). Tang dynasty 618. Controlled all of Sui's China by 622-626. Submit the Oriental Turks territories (630-682) Tibetan's King recognizes China as their emperor[1] (641-670) Submit the Occidental Turks territories (642-665) (idem) add the Oasis (640-648 : northern Oasis ; 648 : southern Oasis) [Not shown in the map : Conquest of Goguryeo by his son (661-668)] The two darkest area are truly the Chinese empire, the 3 lightest area are temporaly vasalised. Borders are not factual, they are indicatives.
ทิศเหนือ รบชนะพวกเติร์กมีอำนาจเหนือมองโกเลีย
ทิศตะวันออก มีอำนาจเหนือคาบสมุทรเกาหลี
ทิศใต้ มีอำนาจเหนือเวียดนาม
ทิศตะวันตก รบชนะพวกอุยเกอร์มีอำนาจเหนือซินเจียง
[แก้] สถาปัตยกรรม

เจดีย์ห่านใหญ่สถาปัตยกรรมในสมัยราชวงศ์ถัง
สมัยราชวงศ์ถัง เป็นช่วงที่เศรษฐกิจและวัฒนธรรมในสังคมศักดินาพัฒนาเร็วที่สุด ลักษณะพิเศษของสถาปัตยกรรมสมัยราชวงศ์ถังคือมีขนาดใหญ่โต มี ระบบระเบียบ ใช้สีไม่ค่อยมากแต่ลายชัดเจนดี ในเมืองฉางอานเมืองหลวงสมัยราชวงศ์ถัง (เมืองซีอานในปัจจุบัน) และเมืองลั่วหยางเมืองหลวงทางตะวันออกของราชวงศ์ถังต่างก็เคยสร้างวังหลวงอุทยานและที่ทำการเป็นจำนวนมาก เมืองฉางอันเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของโลกในสมัยนั้น วังค้าหมิงในเมืองฉางอันใหญ่มาก เขตซากของวังนี้กว้างกว่ายอดจำนวนพื้นที่วังต้องห้ามสมัยหมิงและชิงในกรุงปักกิ่ง 3 เท่ากว่า ๆ สถาปัตยกรรมที่สร้างด้วยไม้ในสมัยราชวงศ์ถังสวยมาก วิหารประธานในวัดโฝกวางเขต อู่ไถซาน มณฑลซานซี ก็คือสถาปัตยกรรมสมัยราชวงศ์ถังที่เป็นแบบฉบับ นอกจากนี้สถาปัตยกรรมที่สร้างด้วยอิฐและก้อนหินในสมัยราชวงศ์ถังก็ได้รับ การพัฒนาอีกขั้นหนึ่ง เจดีย์ห่านใหญ่ เจดีย์ห่านเล็กในเมืองซีอันและเจดีย์เชียนสุน ในเมืองต้าหลี่ต่างก็เป็นเจดีย์ที่สร้างด้วยอิฐและก้อนหิน
จักรวรรดิโรมัน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา


จักรวรรดิโรมัน
IMPERIUM ROMANUM
จักรวรรดิ
<-
พ.ศ. 517 - พ.ศ. 1019 ->
->

สัญลักษณ์



ไม่มีข้อมูลธงชาติ ไม่มีข้อมูลตราแผ่นดิน
คำขวัญ
Senatus Populusque Romanus (SPQR)
แผนที่

จักรวรรดิโรมันในช่วงที่ยิ่งใหญ่ที่สุด เมื่อประมาณ พ.ศ. 660
ข้อมูลทั่วไป[ซ่อน]
เมืองหลวง
โรม
(พ.ศ. 500-พ.ศ. 829)
คอนสแตนติโนเปิล
(ตั้งแต่ พ.ศ. 873)

ภาษา
ละติน ต่อมา (ในจักรวรรดิตะวันออก) กรีก

ศาสนา
ลัทธิโรมัน ต่อมา คริสต์ศาสนา

สกุลเงิน
Solidus, Aureus, Denarius, Sestertius, As
การปกครอง ราชาธิปไตย

จักรพรรดิ

- พ.ศ. 517-557 ออกุสตุส

- พ.ศ. 1018-1019 โรมิวลุส ออกุสตุส
กงสุล

- พ.ศ. 517-521 ออกุสตุส

- พ.ศ. 1019 บาซิลิสคุส
สภานิติบัญญัติ สภาซีเนต

- สภาสูง {{{house1}}}
- สภาล่าง {{{house2}}}
ยุคประวัติศาสตร์ Classical antiquity
- พ.ศ. 517 ออกุสตุส ซีซาร์ประกาศตัวเป็นผู้ปกครองคนเดียว
- 2 กันยายน พ.ศ. 513
ยุทธการแอคทิอุม

- 16 มกราคม พ.ศ. 517
ออคเตเวียน ได้เป็นออกุสตุส

- พ.ศ. 828
ไดโอคลีเชียนแยกการปกครองเป็นฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก
- พ.ศ. 873
พระเจ้าคอนสแตนตินที่ 1 ประกาศให้คอนสแตนติโนเปิลเป็นเมืองหลวงใหม่

- {{{date_end}}} โรมิวลุส ออกุสตุส ถูกยึดอำนาจโดย Odoacer

เนื้อที่

- สูงสุด 5,900,000 กม.2
2,278,003 ไมล์2
ประชากร

- สูงสุด 88,000,000
ความหนาแน่น
14.9 /กม.²
38.6 /ไมล์²
ก่อนหน้านี้ ต่อจากนี้

สาธารณรัฐโรมัน

จักรวรรดิไบแซนไทน์


จักรวรรดิโรมันตะวันตก





จักรวรรดิโรมันในช่วงเวลาต่างๆกัน
จักรวรรดิโรมัน (ภาษาอังกฤษ: Roman Empire) เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งของอารยธรรมโรมันโบราณซึ่งปกครองโดยรูปแบบอัตตาธิปไตย จักรวรรดิโรมันได้สืบต่อการปกครองมาจากสาธารณรัฐโรมัน (510 ปีก่อนคริสตกาล - ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตาล) ซึ่งได้อ่อนแอลงหลังจากความขัดแย้งระหว่างไกอุส มาริอุสและซุลลา และสงครามกลางเมืองระหว่างจูเลียส ซีซาร์และปอมปีย์[1] มีวันหลายวันที่ได้ถูกเสนอให้เป็นเส้นแบ่งของการเปลี่ยนแปลงระหว่างสาธารณรัฐและจักรวรรดิ ได้แก่
• วันที่จูเลียส ซีซาร์ประกาศตัวเป็นผู้เผด็จการ (44 ปีก่อนคริสตกาล)
• ชัยชนะของออคเตเวียนในยุทธการแอคทิอุม (2 กันยายน, 31 ปีก่อนคริสตกาล)
• วันที่สภาซีเนตประกาศยกย่องออคเตเวียนให้เป็นออกุสตุส (16 มกราคม, 27 ปีก่อนคริสตกาล)
จักรวรรดิโรมันเคยมีดินแดนอยู่ในการครอบครองมากมาย ได้แก่ อังกฤษและเวลส์ ยุโรปส่วนใหญ่ (ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไรน์และทางใต้ของเทือกเขาแอลป์) ชายฝั่งของแอฟริกาเหนือ บริเวณมณฑลใกล้เคียงของอียิปต์ แถบบอลข่าน ทะเลดำ เอเชียไมเนอร์ และส่วนใหญ่ของบริเวณลีแวนท์ ซึ่งดินแดนเหล่านี้ จากตะวันตกสู่ตะวันออกในปัจจุบันได้แก่ โปรตุเกส สเปน อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี แอลเบเนียและกรีซ แถบบอลข่าน ตุรกี ภาคตะวันออกและภาคตะวันตกของเยอรมนี ทางภาคใต้จักรวรรดิโรมันได้รวบรวมตะวันออกกลางไว้ ซี่งในปัจจุบันก็ได้แก่ซีเรีย เลบานอน อิสราเอล จอร์แดน จากนั้นในภาคตะวันตกเฉียงใต้ จักรวรรดิได้รวบรวมอียิปต์โบราณไว้ทั้งหมด และได้ทำการยึดครองต่อไปทางตะวันตกซึ่งเป็นบริเวณชายฝั่งทะเลซี่งในปัจจุบันคือประเทศลิเบีย ตูนิเซีย แอลจีเรียและโมร็อกโก จนถึงตะวันตกของยิบรอลตาร์ ประชาชนทั่วไปที่อาศัยอยู่ในจักรวรรดิโรมันเรียกว่าชาวโรมัน และดำเนินชีวิตภายใต้กฎหมายโรมัน การขยายอำนาจของโรมันได้เริ่มมานานตั้งแต่ก่อนที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และเรืองอำนาจสูงสุดในสมัยจักรพรรดิทราจัน ด้วยชัยชนะเหนือดาเซีย (ปัจจุบันคือประเทศโรมาเนียและมอลโดวา และส่วนหนึ่งของประเทศฮังการี บัลแกเรียและยูเครน) ในปี ค.ศ.106 และเมโสโปเตเมียในปี ค.ศ. 116 (ซึ่งภายหลังสูญเสียดินแดนนี้ไปในสมัยจักรพรรดิฮาเดรียน) ถึงจุดนี้ จักรวรรดิโรมันได้ครอบครองแผ่นดินประมาณ 5,900,000 ตร.กม. (2,300,000 ตร.ไมล์) และห้อมล้อมทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งชาวโรมันเรียกทะเลนี้ว่า mare nostrum "ทะเลของเรา" อิทธิพลของโรมันได้ส่งผลต่อการพัฒนาทางด้านภาษา ศาสนา สภาปัตยกรรม ปรัชญา กฎหมายและระบบการเมืองมาจนถึงทุกวันนี้
จักรวรรดิถูกแบ่งออกเป็นฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออกในสมัยของจักรพรรดิไดโอคลีเชียน และถือว่าจักรวรรดิโรมันล่มสลายลงในช่วงเวลาประมาณวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 476 เมื่อจักรพรรดิโรมิวลุส ออกุสตุส จักรพรรดิพระองค์สุดท้ายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกถูกขับไล่และเกิดการจลาจลขึ้นในโรม (ดูในการล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน) อย่างไรก็ตาม จักรวรรดิโรมันตะวันออก หรือที่รู้จักกันในชื่อจักรวรรดิไบแซนไทน์ ก็ได้รักษากฎหมาย ขนบธรรมเนียมประเพณีแบบกรีก-โรมัน รวมถึงศาสนาคริสต์นิกายออโธดอกซ์ไว้ได้ในอีกสหัสวรรษต่อมา จนถึงการล่มสลายเมื่อเสียกรุงคอนแสตนติโนเปิลให้กับจักรวรรดิออตโตมัน ในปีค.ศ. 1453
เนื้อหา
[ซ่อน]
• 1 พัฒนาการของจักรวรรดิโรมัน
• 2 จักรพรรดิพระองค์แรก
• 3 จากสาธารณรัฐสู่สมัยผู้นำ: ออกุสตุส
• 4 อ้างอิง

[แก้] พัฒนาการของจักรวรรดิโรมัน
นักประวัติศาสตร์ได้แบ่งแบกช่วงการปกครองของจักรวรรดิโรมันเป็นสมัยผู้นำ (Principate) ซึ่งเริ่มตั้งแต่จักรพรรดิออกุสตุสจนถึงวิกฤติการณ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 3 และสมัยครอบงำ (dominate) ซึ่งเริ่มตั้งแต่จักรพรรดิไดโอคลีเชียนจนถึงการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ซึ่งในสมัยผู้นำ จักรพรรดิจะมีอำนาจอยู่เบื้องหลังการปกครองแบบสาธารณรัฐ แต่ในสมัยครอบงำ อำนาจของจักรพรรดิได้แสดงออกมาอย่างเต็มที่ ด้วยมงกุฎทองและพิธีกรรมที่หรูหรา และเมื่อเร็วๆ นี้ นักประวัติศาสตร์ได้พิสูจน์ว่ารูปแบบการปกครองนี้ได้ใช้ต่อจนถึงช่วงเวลาของจักรวรรดิไบแซนไทน์
[แก้] จักรพรรดิพระองค์แรก
ไม่มีคำตอบแน่ชัดว่าใครเป็นจักรพรรดิพระองค์แรกของโรม อันที่จริงแล้วไม่มีตำแหน่งจักรพรรดิในระบบการเมืองของโรมัน มันเหมือนกับเป็นตำแหน่งที่แยกออกมามากกว่า
จูเลียส ซีซาร์ได้ประกาศตัวเป็นผู้เผด็จการตลอดอายุขัย ซึ่งตามกฎหมายแล้ว ผู้เผด็จการจะต้องไม่อยู่ในตำแหน่งเกิน 6 เดือน ตำแหน่งของซีซาร์จึงขัดกับกฎหมายอย่างเห็นได้ชัด ทำให้เหล่าสมาชิกสภาซีเนตบางคนเกิดความหวาดระแวงว่าเขาจะตั้งตนเป็นกษัตริย์และสถาปนาระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ดังนั้นจึงเกิดการวางแผนลอบสังหารขึ้น และในวันที่ 15 มีนาคม 44 ปีก่อนคริสตกาล จูเลียส ซีซาร์เสียชีวิตลงโดยฝีมือของพวกนักลอบสังหาร
ออคเตเวียน บุตรบุญธรรมและทายาททางการเมืองของจูเลียส ซีซาร์ ได้เรียนรู้จากความผิดพลาดที่เกิดขึ้น และไม่อ้างสิทธิในตำแหน่งผู้เผด็จการ แต่ได้ขยายอำนาจภายใต้รูปแบบสาธารณรัฐอย่างระมัดระวัง โดยเป็นการตั้งใจที่จะสนับสนุนภาพลวงแห่งการฟื้นฟูของสาธารณรัฐ เขาได้รับตำแหน่งทางการเมืองหลายตำแหน่ง เช่น ออกุสตุส ซึ่งแปลว่า "ผู้สูงส่ง" และพรินเซปส์ ซึ่งแปลว่า"พลเมืองชั้นหนึ่งแห่งสาธารณรัฐโรมัน" หรือ "ผู้นำสูงสุดของสภาซีเนตโรมัน" ตำแหน่งนี้เป็นรางวัลสำหรับบุคคลผู้ทำงานรับใช้รัฐอย่างหนัก แม่ทัพปอมปีย์เคยได้รับตำแหน่งนี้เช่นกัน
นอกจากนี้ ออกุสตุสยังได้สิทธิในการสวมมงกุฎพลเมือง ที่ทำจากไม้ลอเรลและไม้โอ๊คอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ทั้งตำแหน่งต่างๆ และมงกุฎก็ไม่ได้มอบอำนาจพิเศษใดๆ ให้เขา เขาเป็นเพียงกงสุลเท่านั้น และใน 13 ปีก่อนคริสตกาล ออกุสตุสได้เป็น พอนติเฟกซ์ แมกซิมุส ภายหลังการเสียชีวิตของมาร์คุส อีมิลิอุส เลพิดุส ออกุสตุสสะสมพลังอำนาจไว้มากโดยที่ไม่ได้อ้างสิทธิในตำแหน่งต่างๆ มากเกินไป
[แก้] จากสาธารณรัฐสู่สมัยผู้นำ: ออกุสตุส
มาร์ค แอนโทนีและคลีโอพัตรา พ่ายแพ้ในยุทธการแอคทิอุมและได้กระทำอัตวินิบาตฆาตกรรมทั้งคู่ ออคเตเวียนได้สำเร็จโทษซีซาเรียน ลูกชายของคลีโอพัตราและจูเลียส ซีซารด้วย การสังหารซีซาเรียนทำให้ออคเตเวียนไม่มีคู่แข่งทางการเมืองที่มีสายเลือดใกล้ชิดกับจูเลียส ซีซาร์แล้ว เขาจึงกลายเป็นผู้ปกครองคนเดียวของโรม ออคเตเวียนเริ่มการปฏิรูปทางทหาร เศรษฐกิจและการเมืองครั้งใหญ่ โดยมีเจตนาเพื่อทำให้อาณาจักรโรมันมั่นคงและสงบสุข และยังทำให้เกิดการยอมรับในรูปแบบการปกครองใหม่นี้ด้วย
ในช่วงเวลาที่ออคเตเวียนปกครองโรมัน สภาซีเนตได้มอบชื่อออกุสตุสให้เขา พร้อมกับตำแหน่ง อิมเพอเรเตอร์ "จอมทัพ"ด้วย ซึ่งได้พัฒนาเป็น เอ็มเพอเรอร์' "จักรพรรดิ" ในภายหลัง
ออกุสตุสมักจะถูกเรียกว่า ซีซาร์ ซึ่งเป็นนามสกุลของเขา คำว่าซีซาร์นี้ถูกใช้เรียกจักรพรรดิในราชวงศ์จูลิโอ-คลอเดียน ราชวงศ์ฟลาเวียน จักรพรรดิเวสปาเซียน จักรพรรดิทิทุส และจักรพรรโดมิเชียนด้วย และยังเป็นรากศัพท์ของคำว่า ซาร์ (รัสเซีย:czar) และ ไกเซอร์ (เยอรมัน:kaiser)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น