วันพฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2551

1.วิกฤตการเงินสหรัฐ 2008

สถานการณ์ของบริษัทเฟรดดี้ แมค (Freddie Mac) และแฟนนี่ เม (Fannie Mae)

สถานการณ์ของบริษัทเฟรดดี้ แมค (Freddie Mac) และแฟนนี่ เม (Fannie Mae)
สำนักงานที่ปรึกษาเศรษฐกิจและการคลัง ประจำกรุงวอชิงตัน ขอรายงานสถานการณ์ของบริษัทเฟรดดี้ แมค (Freddie Mac) และบริษัทแฟนนี่ เม (Fannie Mae) สองสถาบันด้านสินเชื่อสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ของสหรัฐฯ หลังจากที่ประกาศภาวะขาดทุนในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้กว่า 3 เท่า จากผลของวิกฤติสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ที่มีความน่าเชื่อถือต่ำที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ อย่างต่อเนื่อง ดังนี้
1. มุมมองของนักวิเคราะห์และนักลงทุน นักวิเคราะห์ของนิตยสารบารอนส์ (Barron’s) ได้กล่าวถึงสถานการณ์ของบริษัทแฟนนี่ เม และเฟรดดี้ แมค ว่า รัฐบาลสหรัฐฯ กำลังกดดันใหัสถาบันการเงินทั้งสองแห่งเร่งระดมทุน เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการประสบภาวะขาดทุนอย่างหนักซึ่งส่งผลให้เงินทุนสำรองของทั้งสองบริษัทลดลงอย่างรวดเร็วในช่วงสองถึงสามไตรมาสที่ผ่านมา และได้แสดงความคิดเห็นว่า มีความเป็นไปได้สูงที่สถาบันการเงินทั้งสองแห่งอาจไม่สามารถระดมทุนได้เพียงพอเพื่อกอบกู้วิกฤติตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งการไม่ประสบความสำเร็จในการระดมทุนครั้งใหม่นั้น จะเป็นการเพิ่มแรงกดดันให้รัฐบาลสหรัฐฯ เข้าไปแทรกแซงการดำเนินงาน และเพิ่มแนวโน้มที่กระทรวงการคลังสหรัฐฯ อาจต้องอัดฉีดเงินทุนโดยการซื้อหุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock) ซึ่งมาตรการดังกล่าวนับเป็นการโอนกิจการของสถาบันการเงินทั้งสองแห่งมาเป็นของรัฐ และจะเป็นการขจัดผู้ถือหุ้นสามัญของทั้งสองบริษัทซึ่งอาจสร้างความเสียหายให้กับผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิและผู้ถือครองตราสารหนี้ด้อยสิทธิ (Subordinate bondholder) ที่มีมูลค่ารวมกว่า 1.9 หมื่นล้านเหรียญสรอ. และจะส่งผลให้ยอดหนี้สาธารณะของรัฐบาลสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 50 ของยอดหนี้สาธารณะในปัจจุบัน ทั้งนี้ ความคิดเห็นในเชิงลบของนักวิเคราะห์ข้างต้น ประกอบกับที่รัฐมนตรีว่าการคลังสหรัฐฯ(นาย เฮนรี พอลสัน) ปฏิเสธที่จะออกความเห็นเกี่ยวกับเรื่องกล่าว ได้ส่งผลให้ราคาหุ้นของสถาบันการเงินทั้งสองแห่งปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 20 ปีทางด้านบริษัทเฟรดดี้ แมค ที่เคยประกาศเป้าหมายการระดมทุนไว้ที่ 5.5พันล้านเหรียญสรอ. หรือกว่า 2 เท่าของมูลค่ารวมของบริษัทในปัจจุบัน ได้สร้างความกังวลให้กับนักลงทุนและนักวิเคราะห์เป็นอย่างมาก ซึ่งนอกจากจะส่งผลให้ต้นทุนในการระดมทุนผ่านตลาดพันธบัตรของบริษัทเฟรดดี้ แมค ครั้งล่าสุดเพิ่มสูงขึ้นแล้ว ยังส่งผลให้บริษัทเฟรดดี้แมค ประสบความยุ่งยากในการระดมทุนเพิ่มเติม และยังไม่สามารถระดมทุนได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ 2. ผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ นอกจากนี้ บริษัท มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ซึ่งเป็นบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือในการลงทุนได้ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นบุริมสิทธิของทั้งบริษัทแฟนนี่ เม และบริษัท เฟรดดี้ แมค จากระดับ A1 มาอยู่ที่ระดับ Baa3 และลดอันดับความน่าเชื่อถือของความแข็งแกร่งทางการเงิน (bank financial strength rating) จากระดับ B-minus มาเป็นระดับ D-plus เนื่องจากการระดมทุนของสถาบันการเงินทั้งสองแห่งเป็นไปได้ยากขึ้นซึ่งส่งผลให้ความเป็นไปได้สูงที่จะต้องรับความช่วยเหลือจากรัฐบาล ตามที่กล่าวข้างต้นอย่างไรก็ตาม บริษัท มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ยังคงระดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ที่มีความมั่นคงสูง (senior debt) ให้อยู่ที่ระดับ Aaa และระดับ Aa2 สำหรับตราสารหนี้ด้อยสิทธิ 3. ความเห็นจากภาคการเงิน ก่อนหน้านี้ นายอลัน กรีนสแปน อดีตประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ออกมาสนับสนุนให้รัฐบาลสหรัฐฯ ใช้มาตรการกอบกู้วิกฤติของบริษัทแฟนนี่ เม และเฟรดดี้ แมค ด้วยการเข้าครอบครองสถาบันการเงินทั้งสองแห่งอย่างเต็มรูปแบบและแยกสถาบันการเงินทั้งสองแห่งออกเป็นองค์กรขนาดเล็กลง เพื่อความคล่องตัวในการดำเนินงาน โดยแนวความคิดดังกล่าว ได้รับการสนับสนุนจากนายเจฟฟรีย์ แล็คเกอร์ ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐฯ สาขาริชมอนด์ อย่างไรก็ตาม นายแกรี่ สเติร์นส์ ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐฯ สาขามินนาโพลิส มีความคิดเห็นที่ต่างออกไป โดยสนับสนุนมาตรการของรัฐบาลที่ให้การช่วยเหลือในระยะนี้โดยมีเป้าหมายให้สถาบันการเงินด้านสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยทั้งสองแห่งยังสามารถดำเนินกิจการได้ต่อไป
ภาวะดุลการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐฯ ประจำเดือนเมษายน 2551

ภาวะดุลการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐฯ ประจำเดือนเมษายน 2551
สำนักวิเคราะห์เศรษฐกิจสหรัฐฯ (Bureau of Economic Analysis: BEA) ภายใต้กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ได้รายงานภาวะดุลการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐฯ ประจำเดือนเมษายน 2551 ว่ายังคงมีการขาดดุลการค้าอย่างต่อเนื่อง และขาดดุลที่เพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
โดยในเดือนเมษายนนี้ สหรัฐฯ มีดุลการค้า (Trade Balance) ขาดดุลอยู่ที่ระดับ 60.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขาดดุลเพิ่มขึ้นจำนวน 4.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม ที่ขาดดุลอยู่ที่ 56.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยในเดือนเมษายนนี้ มีมูลค่าการส่งออกสินค้าและบริการ (Export) จำนวน 155.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้น 5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับในเดือนมีนาคม โดยสินค้าและบริการที่สหรัฐฯ มีการส่งออกเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ สินค้าทุน วัสดุเครื่องมืออุปกรณ์โรงงาน สำหรับมูลค่าการนำเข้าสินค้าและบริการ (Import) มีจำนวน 216.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือมีการนำเข้าเพิ่มขึ้น 9.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ จากเดือนมีนาคม ในสินค้านำเข้าประเภทวัสดุเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในโรงงาน เครื่องจักรเครื่องยนต์ เชื้อเพลิงพลังงาน การบริการด้านการขนส่งโดยสาร และบริการด้านการท่องเที่ยว เป็นต้น
ดุลการค้าระหว่างประเทศ เมื่อเทียบระหว่างเดือนเมษายน 2551 ที่ขาดดุลจำนวน 60.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ กับเดือนเมษายน 2550 ที่ขาดดุลอยู่ที่ 60.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเดือนเมษายนปี 2551 มีการขาดดุลมากกว่าปีก่อนหน้า จำนวน 0.6 พันล้านเหรียญ โดยในเดือนเมษายน 2550 มีมูลค่าการส่งออก จำนวน 130.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ มูลค่าการนำเข้า จำนวน 190.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งในปี 2551 ได้มีมูลค่ามากขึ้นทั้งการนำเข้า การส่งออก และการขาดดุล ดังแสดงได้ตามตารางนี้
ตางรางเปรียบเทียบดุลการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐฯ
มูลค่าการค้า (พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) มูลค่าการส่งออก (Export) มูลค่าการนำเข้า(Import)
มี.ค. 2551 150.6 207.1
เม.ย. 2551 155.5 216.4
เม.ย. 2550 130.5 190.8
ดุลการค้าระหว่างประเทศ (EX - IM)
-56.5
-60.9
-60.3
ที่มา: สำนักวิเคราะห์เศรษฐกิจสหรัฐฯ, www.bea.gov
สหรัฐฯ มีการขาดดุลการค้าในด้านสินค้าและผลิตภัณฑ์ (ไม่รวมมูลค่าการบริการ) 3 อันดับแรกแก่ จีน สหภาพยุโรป และแคนาดา ตามลำดับ โดยมีการขาดดุลเพิ่มขึ้นให้กับทุกประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศจีน ดังนี้
ตางรางเปรียบเทียบดุลการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐฯ
มูลค่าการค้าเฉพาะสินค้าและผลิตภัณฑ์ (พันล้านเหรียญสหรัฐฯ)
จีน
สหภาพยุโรป
แคนาดา
ประเทศอื่นๆ
มี.ค. 51
เม.ย. 51
มี.ค. 51
เม.ย. 51
มี.ค. 51
เม.ย. 51
มี.ค. 51
เม.ย. 51
มูลค่าการส่งออก (Export)
6.3
5.7
24.1
24.1
22.9
23.4
58.8
57.4
มูลค่าการนำเข้า (Import)
22.4
25.9
31.6
32.6
29.3
31.0
87.2
91.8
ดุลการค้าระหว่างประเทศ (EX - IM)
-16.1
-20.2
-7.5
-8.5
-6.4
-7.6
-28.4
-34.4
ที่มา: สำนักวิเคราะห์เศรษฐกิจสหรัฐฯ, www.bea.gov
ทั้งนี้ ได้แนบรายงานของสำนักวิเคราะห์เศรษฐกิจสหรัฐฯ (BEA) เพื่อไว้ใช้ประโยชน์ต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น