วันอาทิตย์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2551

12.ทรัพสิน (ซูวาน เจ คันนิงแฮม๗

โดย ซูซาน เจ. คันนิงแฮม
เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2551
นิตยสารฟอร์บส์ประจำวันที่ 1 กันยายน 2551
http://www.forbes.com/magazines/global/2008/0901/032.html
http://www.forbes.com/magazines/global/2008/0901/032_2.html

ทรัพย์สินประจำราชวงศ์ของสถาบันกษัตริย์ไทยไม่เคยมีการเปิดเผยมาก่อน เมื่อปีที่แล้วฟอร์บส์เอเชียประเมินไว้อย่างต่ำคือ 5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (170,000 ล้านบาท ที่ 34 บาทต่อ 1 ดอลลาร์) ตัวเลขประเมินของแหล่งอื่นคือ 8 พันล้านเหรียญ (272,000 ล้านบาท) มาปีนี้ ฟอร์บส์เอเชียอาศัยงานวิชาการที่ทำการศึกษาอย่างละเอียดเกี่ยวกับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ได้ตัวเลขออกมาอยู่ที่ 35 พันล้านเหรียญ (1,190,000 ล้านบาท) ซึ่งทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงครองตำแหน่งสูงสุดในการจัดอันดับราชวงศ์ที่ร่ำรวยที่สุดในโลกของเราในปีนี้ เมื่อปีแล้ว พระองค์ทรงอยู่อันดับที่ 5
ทรัพย์สินส่วนใหญ่ของสำนักงานทรัพย์สินฯ คือ อสังหาริมทรัพย์จำนวนมหาศาล ที่รวมถึงที่ดินราวหนึ่งในสามของย่านธุรกิจใจกลางกรุงเทพฯ ซึ่งทำให้สำนักงานทรัพย์สินฯ เป็นเจ้าที่ดินรายใหญ่ที่สุดของประเทศ นอกจากนี้สำนักงานทรัพย์สินฯ ยังถือหุ้น 30% ในเครือซีเมนต์ไทยและ 25% ในธนาคารไทยพาณิชย์อีกด้วย ในปี 2548 ทางสำนักงานทรัพย์สินฯ ได้อนุญาตให้พอพันธ์ อุยยานนท์ นักประวัติศาสตร์เศรษฐกิจที่กำลังเขียนงานเกี่ยวกับประวัติของสำนักงานฯ ได้เข้าถึงข้อมูลอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน บทความของพอพันธ์ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Contemporary Asia ของประเทศอังกฤษเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ประเมินทรัพย์สินของสำนักงานทรัพย์สินฯ ไว้ที่ 27.4 พันล้านเหรียญฯ โดยเป็นมูลค่าเมื่อปลายปี 2548 จากนั้นทรัพย์สินต่างๆ และเงินบาทมีมูลค่าสูงขึ้น (แม้ว่าค่าเงินบาทจะอ่อนลงไปเมื่อเร็วๆ นี้ก็ตาม) “แน่นอน [ตัวเลขประมาณค่า] มหาศาลมาก แต่ก็มีเหตุมีผล” พอพันธ์กล่าว “เราทราบราคาที่ดิน เราทราบมูลค่าในตลาด(market capitalization) [ของบริษัทต่างๆ]“ อวิรุทธ์ วงศ์พุทธพิทักษ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินฯ เขียนมาในอีเมล์ว่า “โดยทั่วไปแล้ว ไม่มีความคลาดเคลื่อนที่ใหญ่โตอันใด” ในบทความของพอพันธ์
แม้ว่าจะไม่มีใครภายนอกสำนักงานทรัพย์สินฯ ที่รู้ชัดว่าอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดของสำนักงานฯ อยู่ตรงไหนบ้าง แต่ที่มีมูลค่าสูงสุดนั้นอยู่ในย่านต่างๆ ที่เก่าแก่ที่สุดของกรุงเทพฯ และรวมถึงสถานที่สำคัญๆ หลายแห่งของกรุงเทพฯ ตัวเมืองกรุงเทพฯ จากเยาวราช ราชดำเนิน เกาะรัตนโกสินทร์ ได้แผ่ขยายไปทางทิศใต้เลาะแม่น้ำเจ้าพระยาและไปทางตะวันออกตามแนวคลองต่างๆ ตอนนี้สำนักงานทรัพย์สินฯ เป็นเจ้าของอาคารสำนักงานต่างๆ ของรัฐในบริเวณเหล่านี้ ตลอดจนทำเลริมแม่น้ำของโรงแรมห้าดาวอย่างโอเรียนเต็ลและรอยัลออร์คิด และที่ดินผืนใหญ่แถวสีลม สาทรและวิทยุอันเป็นย่านธุรกิจและที่ตั้งสถานทูตประเทศต่างๆ สำนักงานทรัพย์สินฯ ปล่อยเช่าที่ดินให้กับห้างหรูอย่างสยามพารากอนและเซ็นทรัลเวิร์ลด์ รวมถึงสวนลุมไนท์บาซาร์ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและอาคารสำนักงานเสริมมิตรและสินธร
อวิรุทธ์กล่าวว่า สำนักงานทรัพย์สินฯ มีที่ดินทั้งหมด 3,493 เอเคอร์ (8,732.5 ไร่) ในใจกลางกรุงเทพฯ ปัจจุบันนี้มีมูลค่า 31 พันล้านเหรียญ (1,054,000 ล้านบาท) คิดตามราคาที่ดินที่รวบรวมโดยบริษัทที่ปรึกษาแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ พอพันธ์ใช้ข้อมูลนั้นหาราคาที่ดินในทำเลต่างๆ 22 ทำเล แล้วหาราคาต่อเอเคอร์สำหรับที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินฯ ทางสำนักงานทรัพย์สินฯ ประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ในกรุงเทพฯ ของตนเพียง 9 พันล้านเหรียญ(306,000 ล้านบาท)เท่านั้น แต่อวิรุทธ์บอกว่า สำนักงานทรัพย์สินฯ ลงบัญชีทรัพย์สินในราคาต้นทุน ไม่ได้คำนึงถึงการเพิ่มมูลค่าตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา นายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินฯ ปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์แก่ฟอร์บส์เอเชีย แต่เจ้าหน้าที่ของเขาก็ได้ตอบคำถามต่างๆ ทางอีเมล์
อวิรุทธ์กล่าวว่า สำนักงานทรัพย์สินฯ ยังเป็นเจ้าของที่ดินอีก 12,500 เอเคอร์ (31,250 ไร่) ทั่วประเทศ ซึ่งน่าจะเป็นที่ดินตามตลาดเก่าๆ และตามจังหวัดปลูกข้าวในบริเวณภาคกลาง ตามแนวเขตแดนทางประวัติศาสตร์ของราชอาณาจักรสยาม ทั้งพอพันธ์และสำนักงานทรัพย์สินฯ ต่างก็ไม่ได้ทำการประเมินมูลค่าที่ดินในส่วนนี้ และก็ไม่ได้รวมอยู่ในตัวเลขการประเมินของฟอร์บส์ครั้งนี้ด้วย
สำนักงานทรัพย์สินฯ ได้อนุญาตให้พอพันธ์ ซึ่งเป็นอาจารย์สอนเศรษฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เข้ามาศึกษาบันทึกประวัติการเช่าที่และการจัดเก็บค่าเช่า ซึ่งเป็นโอกาสที่ไม่เคยมีใครได้รับมาก่อน พอพันธ์พบว่าในปี 2548 สำนักงานทรัพย์สินฯ มีรายได้จากทรัพย์สิน 56 ล้านเหรียญ ซึ่งเท่ากับ 79 ล้านเหรียญ (2,686 ล้านบาท)ตามอัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน เขาเชื่อว่าตั้งแต่ประมาณปี 2542 เป็นต้นมา สำนักงานทรัพย์สินฯ สามารถเพิ่มรายได้จากทรัพย์สินเหล่านี้ได้ถึงห้าเท่าเป็นอย่างน้อย ส่วนใหญ่โดยการเพิ่มค่าเช่ากับผู้เช่าเชิงพาณิชย์และส่วนแบ่งรายได้ที่สูงขึ้นจากธุรกิจเหล่านั้น
พอล แฮนด์ลีย์ ที่ใช้เวลาอยู่ในเมืองไทยเป็นทศวรรษ ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์สำหรับหนังสือของเขาที่ถูกสั่งห้ามไปในปี 2549 กล่าวว่าเขาเชื่อว่า สำนักงานทรัพย์สินฯ ยังไม่ได้เรียกเก็บค่าเช่าในอัตราตลาด เป็นเพราะว่าหากเพิ่มเร็วเกินไปจะก่อผลที่รุนแรง โดยเฉพาะสำหรับผู้เช่ารายได้ต่ำนับพันๆ ราย “สำนักงานทรัพย์สินฯ ยังมีวิธีคิดที่ตรึงค่าเช่าต่ำกว่าอัตราตลาดเพื่อเป้าหมายความมีเสถียรภาพในระยะยาว” แฮนด์ลีย์กล่าว “หรือ มองได้อย่างนี้ว่า พวกเขาไม่ได้ตั้งเป้าอัตราผลตอบแทนสำหรับอสังหาริมทรัพย์บางส่วน มีเป้าจำกัดสำหรับบางส่วน และเกือบจะเชิงพาณิชย์สำหรับส่วนที่เหลือ”
ทรัพย์สินส่วนอื่นของสำนักงานทรัพย์สินฯ นั้นง่ายต่อการประเมิน หุ้น 30%ในเครือซีเมนต์ไทย(บริษัทที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของประเทศ)มีมูลค่า 1.9 พันล้านเหรียญ (64,600 ล้านบาท) หุ้น 25%ในธนาคารไทยพาณิชย์มีมูลค่า 1.1 พันล้านเหรียญ (37,400 ล้านบาท) ณ เดือนกรกฎาคมปีนี้ สำนักงานทรัพย์สินฯ เป็นเจ้าของเทเวศประกันภัยเกือบทั้งหมด ซึ่งมีมูลค่า 65 ล้านเหรียญ (2,210 ล้านบาท) และถือหุ้นในบริษัทมหาชนและเอกชนอีกหลายแห่งที่อวิรุทธ์บอกว่ามีมูลค่า 600 ล้านเหรียญ (20,400 ล้านบาท) จิรายุนั่งเป็นประธานเครือซีเมนต์และเทเวศประกันภัย เจ้าหน้าที่อื่นๆ ของสำนักงานทรัพย์สินฯ ก็ไปนั่งเป็น nonexecutive directors (กรรมการซึ่งไม่ใช่ผู้บริหารของบริษัท มีหน้าที่ให้คำปรึกษาทางนโยบาย) ของบริษัทต่างๆ ที่สำนักงานทรัพย์สินฯ ถือหุ้นอยู่
นอกจากทรัพย์สินในส่วนของสำนักงานส่วนพระมหากษัตริย์แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชยังทรงมีการลงทุนและถือครองที่ดินเป็นการส่วนพระองค์ด้วย พอพันธ์ไม่ได้พิจารณาทรัพย์สินส่วนนี้ และการวิเคราะห์จากภายนอกทำอะไรไม่ได้มากไปกว่าการคาดเดามูลค่า ซึ่งไม่ได้รวมอยู่ในตัวเลขประมาณการ 35 พันล้านเหรียญของฟอร์บส์เอเชียในครั้งนี้ด้วย ที่ดินในส่วนนี้ส่วนใหญ่เป็นสิ่งตกทอดของราชวงศ์มาหลายทศวรรษ บางทีมาจากการถวายที่ดินของชาวนาที่ไร้ทายาทและเลื่อมใสศรัทธาว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะได้ทรงใช้เพื่อประโยชน์สุขแก่อาณาประชาราษฎร์
ขณะที่ไม่มีบุคคลภายนอกคนใดเลยที่จะแน่ใจได้ว่าพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์ใดบ้างที่ทรงได้รับผลประโยชน์จากรายได้ของสำนักงานทรัพย์สินฯ นอกจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ แต่ก็อาจคาดเดาได้ว่ารวมถึงพระราชโอรสและพระราชธิดาทั้งสี่พระองค์ พระวรชายาฯ และพระราชนัดดาทั้งห้าพระองค์ที่อยู่ในเมืองไทย นอกนั้นก็อาจจะรวมถึงพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลีและพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา และพระนัดดาของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ไม่มีความชัดเจนว่าเงินจำนวนเท่าใดถูกใช้โดยเสด็จพระราชกุศลเนื่องจากไม่มีการเปิดเผยแก่สาธารณะ
สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มีสถานที่ตั้งอยู่ในวังลดาวัลย์อันเป็นคฤหาสน์หรูหราต้นศตวรรษที่ยี่สิบก่ออิฐสีเหลืองหลังคาแดงในเขตดุสิตใกล้แม่น้ำเจ้าพระยา รัฐสภาและพระราชวังสวนจิตรลดา เขตดุสิตทุกวันนี้ยังคงเป็นย่านที่พักอาศัยที่เขียวชอุ่ม แต่เมื่อต้นศตวรรษที่ยี่สิบนั้นเป็นบ้านนอก ในเวลานั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งพิมานเมฆที่สร้างจากไม้สักไว้แปรพระราชฐานเพื่อพักผ่อนพระอิริยาบถ แล้ววังและคฤหาสน์อื่นๆ ของเชื้อพระวงศ์และขุนนางก็มีตามมาในอีกไม่นาน
จิรายุบริหารงานสำนักงานทรัพย์สินฯ มาตั้งแต่ปี 2530 เขามาจากครอบครัวชนชั้นสูงและเป็นคนวงใน เขาเป็นนักกีฬาสค็วอชมือฉกาจและจบปริญญาเอกเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย (Australian National University) เขากลับมาสอนเศรษฐศาสตร์ที่เมืองไทยและรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมก่อนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้เขามาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นงานที่ไม่ธรรมดาเลย เนื่องจากเป้าหมายของสำนักงานทรัพย์สินฯ นั้นไม่ใช่การหารายได้สูงสุด หากแต่เป็นการช่วยสนับสนุนการพัฒนาของประเทศโดยการลงทุนในอุตสาหกรรมหลักๆ และจัดหาที่พักอาศัยราคาต่ำกว่าตลาดสำหรับพลเมืองที่มีรายได้ต่ำ เจ้าหน้าที่สำนักงานทรัพย์สินฯ เกือบทั้งหมดจาก 600 คนทำหน้าที่ดูแลการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ มีเจ้าหน้าที่ไม่ถึงสิบคนที่ดูแลหลักทรัพย์ด้านการเงิน และในฐานะนักลงทุนระยะยาวที่แท้จริง สำนักงานทรัพย์สินฯ ไม่ได้สนใจกับผลกำไรหรือการขาดทุนระยะสั้น “บทบาทของเราเพียงแค่เข้าร่วมในคณะกรรมการในฐานะ nonexecutive directors ไม่ใช่การบริหารจัดการ” อวิรุทธ์กล่าว
ตั้งแต่เริ่มแรกในปี 2433 ในฐานะกรมพระคลังข้างที่ สำนักงานทรัพย์สินฯ ได้มีบทบาททั้งในการพัฒนาและการลงทุน หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี 2475 รัฐบาลพลเรือนได้แบ่งทรัพย์สินของพระมหากษัตริย์และจัดกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ เครือซีเมนต์ฯ ธนาคารไทยพาณิชย์และบริษัทของกรมพระคลังข้างที่เป็นสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ รัฐบาลมีอำนาจควบคุมสำนักงานทรัพย์สินฯ ขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพำนักอยู่ต่างประเทศ แต่หลังจากมีรัฐประหารหลายต่อหลายครั้งในช่วงทศวรรษ 2480 ฝ่ายนิยมเจ้าก็สามารถสร้างความเข้มแข็งแก่สถาบันกษัตริย์ได้ และพระราชบัญญัติปี 2491 ก็คืนอำนาจควบคุมสำนักงานทรัพย์สินฯ แก่สถาบันกษัตริย์ พระราชบัญญัติดังกล่าวระบุว่า “รายได้…จะจำหน่ายใช้สอยก็ได้แต่โดยพระมหากษัตริย์ตามพระราชอัธยาศัยไม่ว่าในกรณีใดๆ ” และรัฐบาลไม่สามารถยึดหรือโอนหรือเก็บภาษีได้ สำนักงานทรัพย์สินฯ ไม่แสดงรายงานประจำปี ยกเว้นแต่ต่อองค์พระมหากษัตริย์เท่านั้น
บทความของพอพันธ์มุ่งเน้นไปที่วิธีการที่สำนักงานทรัพย์สินฯ รับมือกับวิกฤตการณ์การเงินปี 2540 วิกฤตครั้งนั้นลดรายได้ทั้งปีของสำนักงานฯ ไปถึง 75% แทบจะโดยข้ามคืน สำนักงานทรัพย์สินฯ ต้องจ้างทีมงานผู้เชี่ยวชาญทางการเงินและอสังหาริมทรัพย์ทั้งไทยและเทศ หนึ่งในนั้นคือวิชิต สุรพงษ์ชัย อดีตประธานกรรมการธนาคารกรุงเทพฯ ปัจจุบันเป็นประธานกรรมการบริหารธนาคารไทยพาณิชย์ และไมเคิล เซลบี (Michael Selby) อดีตที่ปรึกษาเจ้าชายเจฟฟรีแห่งบรูไน แล้วสำนักงานทรัพย์สินฯ ก็ทิ้งหุ้นเกือบ 400 บริษัทและเริ่มเพิ่มค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ พอพันธ์ประมาณการว่าเมื่อถึงสิ้นปี 2548 รายได้ทั้งปีของสำนักงานทรัพย์สินฯ ก็เพิ่มเป็นสามเท่าของรายได้สูงสุดในช่วงทศวรรษ 2530 อันเฟื่องฟู หรือเท่ากับ 280 ล้านเหรียญ (9,520 ล้านบาทที่อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน) ราว 200 ล้านเหรียญ(6,800 ล้านบาท)จากจำนวนนั้นมาจากเงินปันผลของบริษัทต่างๆ
วิกฤตคราวนั้นแทบทำให้สำนักงานทรัพย์สินฯ ต้องสูญเสียหุ้นธนาคารไทยพาณิชย์ไป ไทยพาณิชย์ก่อตั้งในปี 2449 โดยพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัยเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ซึ่งทรงเป็นพระอนุชาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อแข่งขันกับธนาคารยุโรปที่ตั้งสาขาอยู่ในสยามในเวลานั้น เมื่อถึงเดือนสิงหาคม 2541 ธนาคารไทยพาณิชย์จำแนกหนี้ 34%เป็นหนี้เสีย ภายใต้โปรแกรมฟื้นฟูธนาคารของไทย กระทรวงการคลังรับภาระ 676 ล้านเหรียญ(22,984 ล้านบาท)ที่ไทยพาณิชย์กู้มาจากธนาคารต่างชาติ โดยกระทรวงการคลังได้ถือหุ้น 39% เป็นการตอบแทน และหุ้นของสำนักงานฯ ลดลงจาก 25% เป็น 11% ธนาคารยักษ์ใหญ่รายอื่นๆ ไม่ร่วมโปรแกรมนี้เพราะกลัวรัฐเทคโอเวอร์กิจการ
ไทยพาณิชย์กลับมาทำกำไรได้ในปี 2546 และปีถัดมาก็ได้รับหุ้นคืนโดยแลกกับที่ดิน 192 เอเคอร์(480 ไร่) ทางด้านตะวันตกของอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ มูลค่าในเชิงการพัฒนาของที่ดินผืนดังกล่าวนั้นเป็นที่น่ากังขา เนื่องจากเป็นที่ตั้งของโรงเรียน โรงพยาบาลและส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยมหิดล และใกล้พระราชวังกับสถานีรถไฟ “การแลกเปลี่ยนครั้งนี้มีความเฉพาะตัวไม่เหมือนใคร” พอพันธ์เขียนในบทความ แฮนด์ลีย์ก็บอกว่ามันแทบจะเรียกได้ว่าเป็นการจำนองของสำนักงานทรัพย์สินฯ
ทุกวันนี้ สำนักงานทรัพย์สินฯ มีขนาดและเงื้อมมือที่กว้างขวางและกล้าแข็งยิ่งกว่าที่เคยเป็นมา ทว่าบางคนก็มองอำนาจที่แผ่ขยายของสำนักงานทรัพย์สินฯ ว่าสวนทางกับปรัชญาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “มันไม่ใช่ความย้อนแย้งเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่สถาบันฯ ในฐานะประมุขของเครือธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย มาตอนนี้ส่งเสริมยุทธศาสตร์การพัฒนาที่มุ่งมายังภายใน (inward-looking development strategy)” เควิน ฮิววิสัน บรรณาธิการร่วมวารสารรายสามเดือนที่ตีพิมพ์บทความของพอพันธ์กล่าว “พระองค์ท่านทรงส่งเสริมแนวคิด ‘เศรษฐกิจพอเพียง’” ที่เน้นการเกษตรพื้นบ้านขนาดเล็กและคำสอนของพุทธศาสนาเรื่องความพอประมาณในช่วงเวลาเดียวกับที่บริษัทต่างๆ ในเครือสำนักงานทรัพย์สินฯ กำลังขยายการผลิตอุตสาหกรรม ส่งเสริมการบริโภคผ่านการลงทุนในห้างสรพพสินค้าหรูหราและทำกำไรมหาศาล”
ถ้างั้นแล้วทำไมสำนักงานทรัพย์สินฯ ถึงเปิดเผยข้อมูล หรืออย่างน้อยก็แง้มๆ ให้ดูด้วยเล่า? ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จิรายุได้เปิดเผยตรงนั้นบ้างตรงนี้บ้างแก่สื่อมวลชนไทยบางคน “ด้วยการเผยเล็กๆ น้อยๆ ในตอนนี้ สำนักงานทรัพย์สินฯ หวังว่าจะปกป้องตัวเองได้จากอะไรที่จะแย่ไปกว่านี้ บางทีอาจเป็นลักษณะเดียวกันกับที่ราชวงศ์อังกฤษเสนอที่จะจ่ายภาษีเงินได้ [ในปี 2535]” ไมเคิล แบ็คแมนกล่าว เขาเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องเครือข่ายธุรกิจเอเชียที่ประเมินมูลค่าทรัพย์สินของสำนักงานทรัพย์สินฯ ไว้ที่ 8 พันล้านเหรียญ(272,000 ล้านบาท) ในหนังสือของเขาที่ตีพิมพ์ในปี 2542 Asian Eclipse: Exposing the Dark Side of Business in Asia
บางที ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระชนมายุ 80 พรรษาแล้ว จิรายุและสำนักงานทรัพย์สินฯ กำลังเตรียมตัวสำหรับรัชสมัยถัดไป แฮนด์ลีย์ที่เคยสัมภาษณ์จิรายุมาสองครั้งแสดงความคาดเดา “ผมคิดว่าจิรายุเป็นคนหลักแหลม” เขากล่าว “กระทรวงการคลังและแวดวงธุรกิจให้ความเชื่อถือในวิจารณญาณของจิรายุตลอดมา แต่ตอนนี้พวกเขาจำต้องส่งสัญญาณบางอย่าง” ว่าต้องมีการจัดการอย่างมีความรับผิดชอบ หากไม่เช่นนั้น แฮนด์ลีย์กล่าวว่า “เศรษฐกิจของไทยจะเสียหายอย่างไม่สามารถแก้ไขกลับคืนมาได้”
แต่อวิรุทธ์กล่าวเพียงว่า “เป้าหมายสูงสุด [ของสำนักงานทรัพย์สินฯ] คือการธำรงพระเกียรติยศและพระบารมีของสถาบันพระมหากษัตริย์ เรารู้สึกว่า…เราควร…เปิดเผยข้อมูลบางอย่างเพื่อประโยชน์ของสาธารณะ”
On The Cover/Top Stories
2 of 2 The Crowning Fortune
Susan J. Cunningham 08.14.08, 5:00 PM ET
Forbes Magazine dated September 01, 2008
On The Cover/Top Stories
The Crowning Fortune
Susan J. Cunningham 08.14.08, 5:00 PM ET
Forbes Magazine dated September 01, 2008







Drop by Drop

The Outsider

The Crowning Fortune

Complete Contents





The king of Thailand controls vast wealth. Just how vast wasn't clear, until some sleuthing by a Bangkok academic and some new openness by the monarchy's investment arm
The Thai monarchy's family fortune has always been shrouded in secrecy. Last year FORBES ASIA valued it at a conservative $5 billion. Other estimates have put it at $8 billion. But this year--using an exhaustive academic study of the monarchy's investment arm, the Crown Property Bureau--FORBES ASIA now values the fortune at $35 billion. This new estimate easily puts King Bhumibol Adulyadej atop our annual list of the world's richest royals. Last year we ranked him fifth.
The bulk of the bureau's assets lies in its vast real estate holdings, which make it the country's largest landowner and include roughly one-third of Bangkok's central business district. The bureau also holds a 30% stake in the Siam Cement Group and a 25% share of Siam Commercial Bank (other-otc: CBDP.PK - news - people ). The bureau granted an economic historian who is writing a history of the bureau, Porphant Ouyyanont, unprecedented access to its files in 2005. His paper, which was published in the U.K.'s Journal of Contemporary Asia in February, pegged the value of the bureau's assets at $27.4 billion as of the end of 2005. Since then the assets and the baht have appreciated (though the baht has fallen recently). "Sure, [the estimate] is enormous, but it's reasonable," he says. "We know the price of land. We know [the market] capitalization [of the companies]." An adviser to the bureau, Aviruth Wongbuddhapitak, said by e-mail that "generally, there is no major inaccuracy" in Porphant's paper.
Although no one outside the bureau knows precisely where all its real estate is located, the most valuable is in the oldest parts of Bangkok and includes many of the city's landmarks. From Chinatown, Ratchadamnoen and the old royal city on Ratanakosin Island, the city expanded south along the Chao Phraya River and eastward alongside canals. The bureau now owns government buildings in these areas as well as the riverside sites of the five-star Oriental and Royal Orchid hotels and large plots in the commercial and embassy districts of Silom, Sathorn and Wireless roads. It leases land to the high-end Siam Paragon and CentralWorld shopping plazas, the Suan Lum Night Bazaar, the Queen Sirikit convention center, the Stock Exchange of Thailand and the Sermit and Sinthorn office buildings.
Aviruth says that, in all, the bureau owns 3,493 acres in central Bangkok. Today that land is worth $31 billion, based on land values compiled by a Bangkok consulting firm. Porphant used the data to figure the price of land in 22 prime city zones and then to arrive at a price per acre for the bureau's land. The bureau values its Bangkok real estate at only $9 billion, but Aviruth says it books the property at cost, not taking into account appreciation over the decades. The bureau's longtime director-general, Chirayu Isarangkun Na Ayutthaya, declined an interview with forbes asia, but his staff did reply to e-mail queries.
Aviruth says it also owns 12,500 acres in the rest of the country, most likely the land under old marketplaces and in the rice-growing provinces of the Central Plains, along the historical boundaries of the Siamese kingdom. Neither Porphant nor the bureau estimates the value of this land, and it's not included in our estimate of the king's wealth.
The bureau allowed Porphant, who's a professor of economics at Sukhothai Thammathirat Open University north of Bangkok, to examine its records of the rents and fees collected on its land, something no previous researcher had gained access to. He found that in 2005 the income from the bureau's properties totaled $56 million, which is $79 million at the current exchange rate. He believes that beginning around 1999 the bureau was able to jack up property income at least fivefold, mostly by getting its commercial tenants to pay higher rents and a higher share of their business' revenue.
Paul Handley, who spent a decade in Thailand researching the monarchy for his banned 2006 biography of King Bhumibol, The King Never Smiles, says he believes that the bureau is still not charging market rates. That's because raising them to those levels so quickly would cause serious repercussions, especially for its thousands of low-income tenants. "It still has a below-market-rent mentality for long-term stability goals," he says. "Or, look at it this way: They have no rate-of-return goals on some of their real estate, limited goals on others and nearly commercial on others."
The bureau's other assets are easier to value. Its 30% share in the Siam Cement Group, the country's second-largest company, is worth $1.9 billion and its 25% share in Siam Commercial Bank is worth $1.1 billion. As of July it also owns virtually all of Deves Insurance, worth $65 million, and stakes in various other public and private companies that Aviruth says are worth $600 million. Chirayu sits as the chairman of Siam Cement and Deves, and other bureau staffers serve as nonexecutive directors of other companies where the bureau has a stake.
Aside from the bureau's holdings, the king also has extensive personal investments and landholdings. Porphant did not look at these assets, and no outside analysis could ever do more than guess at their value; they're not included in forbes asia's $35 billion estimate. Most of this land was bequeathed to the royal family over the decades, sometimes by farmers who had no heirs and believed the king would use it for a good purpose.
While no outsider can be certain which royals benefit from the bureau's income other than King Bhumibol and Queen Sirikit, a safe guess is that the list includes their four children; the wife of their only son, Crown Prince Vajiralongkorn; and their five grandchildren living in Thailand. Other likely beneficiaries are the prince's first wife and the daughter and grandson of the king's late sister. It's unclear how much of the money goes to charity because how the income is spent is not made public.
The bureau's headquarters is housed in a former prince's palace, an elegant early 20th-century yellow-brick and red-tile mansion in the Dusit district, close to the Chao Phraya River, the parliament buildings and the king and queen's Chitrlada Palace. Dusit today is still a leafy residential area but at the turn of the last century, it was countryside. At that time King Chulalongkorn built the teak Vimanmek Palace there as a rustic, cooler getaway home, and other mansions for nobility and aristocrats soon followed.
Chirayu has run the bureau since 1987. A palace insider from an aristocratic family, he played high-level squash and earned a doctorate in economics at the Australian National University. He taught economics back home and served as deputy minister of industry before the king tapped him as the bureau's chief. It's an unusual animal he oversees, for its goal is not strictly to earn the highest income but to aid the country's development by investing in key industries and providing below-market-rate housing for low-income citizens. Almost all of his staff of 600 is involved in property management, making the bureau, in effect, a giant landlord. Fewer than ten staffers manage the financial assets. And as the ultimate long-term investor, it isn't concerned with short-term profits or losses. "Our role is simply to participate in the board room as nonexecutive directors rather than as management," says Aviruth.
From its beginning in 1890 as the Privy Purse Bureau, the Crown Property Bureau had both developmental and investment roles. After the 1932 revolution overturned the absolute monarchy, a civilian government divided up royal properties and grouped much of the land, the Siam Cement conglomerate, Siam Commercial Bank and some other Privy Purse companies into the new Crown Property Bureau. The government kept control of the bureau while the royal family was in exile, but after several coups in the 1940s, royalist supporters were able to strengthen the monarchy and a 1948 law handed control of the bureau back to the crown. The law specifies that the use of the bureau's assets and income "depends totally on the royal inclination" and that the government cannot seize or transfer them, or tax them. The bureau doesn't issue an annual report, except to the king.
Porphant's paper focused on how the bureau handled the 1997 financial crisis. The crisis cut the bureau's annual income by 75% virtually overnight. To help it recover, the bureau hired a high-powered group of Thai and foreign experts in finance and real estate. Among them were Vichit Surapongchai, a former president of Bangkok Bank and now chairman of Siam Commercial Bank's executive committee, and Michael Selby, onetime adviser to Brunei's Prince Jefri. Then it jettisoned its stakes in nearly 400 companies and began raising the rent it charged on its properties. Porphant estimates that by the end of 2005 the bureau's annual income in baht terms was three times its peak during the 1990s boom, or $280 million at the current exchange rate. Roughly $200 million of that comes from company dividends.








Drop by Drop

The Outsider

The Crowning Fortune

Complete Contents





The crisis almost cost the bureau its stake in Siam Commercial. The bank was founded in 1906 by the finance minister of that time, a half-brother of King Chulalongkorn, to compete with European bank branches in what was then Siam. Associated with the royal family ever since, it was listing 34% of its loans as nonperforming by August 1998. Under a program to bolster Thailand's failing banks, the finance ministry matched $676 million Siam had raised from foreign banks. In return the ministry took a 39% stake, diluting the bureau's 25% share to 11%. Wary of a state takeover, none of the other big banks chose to participate.
The bank returned to profitability in 2003, and the next year it got its shares back by handing over 192 acres of land west of Victory Monument, a clogged roundabout in the north-central part of downtown. The land's development value is questionable: It contains a school, a hospital and a division of Mahidol University and is close to the royal palace and a railway station. "This deal was unique," Porphant writes in his paper. Handley, the author who studied the bureau, says it was as close as the bureau has come to borrowing money.
Today the vast size and reach of the bureau is greater than ever, but some see its growing power as a contradiction of the king's own philosophy. "It is not a little ironic that the monarchy, at the head of Thailand's biggest business conglomerate, now promotes an inward-looking development strategy," says Kevin Hewison, coeditor of the quarterly journal that published Porphant's paper. "The king has promoted his idea of the "sufficiency economy," emphasizing small-scale, traditional farming and Buddhist notions of moderation at the very time that the bureau's companies are expanding industrial production, encouraging consumption through investment in glitzy shopping malls and making large profits."
So why is the bureau opening up its books, at least a crack? In recent years Chirayu, the bureau's manager, has been disclosing bits and pieces to a few Thai journalists. "By offering up a little now it hopes to protect itself from something worse--perhaps in the same way that the U.K. royal family offered to pay income tax [in 1992]," says Michael Backman, an authority on Asian business networks who put the value of the bureau's holdings at $8 billion in his 1999 book, Asian Eclipse: Exposing the Dark Side of Business in Asia.
Perhaps, with King Bhumibol now 80 years old, Chirayu and the bureau are preparing for the time when Thailand is ruled by the less predictable Prince Vajiralongkorn, suggests Handley, who twice interviewed the director-general. "I think Chirayu is pretty shrewd," he says. "The finance ministry and business community have always trusted Chirayu's judgment, but now they must signal to the prince," Handley adds, that he must handle the fortune responsibly. If he doesn't, Handley says, "Thailand's economy could be irreversibly damaged."
But bureau adviser Aviruth says simply: "The utmost aim [of the bureau is] to uphold the royal prestige and kindness of the monarchy. We feel that … we should … disclose certain information for the benefit of the public."









สุพจน์ แจ้งเร็ว
ศิลปวัฒนธรรม ฉบับที่ 272 วันที่ 1 มิถุนายน 2545

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี
ตั้งแต่วันที่ ๒๕ ไปจนถึงวันที่ ๓๐ ของเดือนธันวาคม ปี ๒๔๘๔ หนังสือพิมพ์สองฉบับ คือ ข่าวภาพ และศรีกรุง ได้ลงประกาศขายทอดตลาดทรัพย์สินจำนวนหนึ่ง ตามที่กองบังคับคดีทางแพ่ง กระทรวงยุติธรรมแจ้งมา.
คำประกาศขายทอดตลาดทรัพย์สินนั้น โดยทั่วไปก็มิได้ทำให้ผู้อ่านมีความรู้สึกอันใดนัก เว้นแต่ผู้ที่เคยเป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้นมาก่อน, แต่การลงประกาศครั้งนี้เป็นเรื่องที่ต่างออกไป.
ข้าวของจำนวนไม่น้อยที่จะได้เริ่มขายตั้งแต่วันที่ ๘ มกราคม ๒๔๘๕ เป็นต้นไปนั้น มิได้เป็นของราษฎรทั่วไปคนใดคนหนึ่งที่ล้นพ้นไปด้วยหนี้, หากเป็นพระราชทรัพย์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี อดีตพระมหากษัตริย์และพระราชินี ผู้ทรงตกเป็นจำเลยในคดีที่กระทรวงการคลังฟ้องร้องเมื่อสามปีก่อนและบัดนี้ทรงแพ้คดี.
สำหรับประวัติการเมืองไทย, คดีนี้เป็นคดีประวัติศาสตร์. เป็นความจริงที่ว่าเหตุการณ์ภายหลังการปฏิวัติ ๒๔๗๕ ไม่ได้เป็นไปถึงขนาดที่พวกบอลเชวิคได้เคยกระทำแก่ราชวงศ์โรมานอฟ, แต่ในประเทศที่อำนาจสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้ดำรงมาช้านาน, ในประเทศที่ยังมีผู้เห็นว่าราษฎรโง่แม้จะเป็นคนชาติเดียวกัน, การณ์เช่นนี้ย่อมไม่เป็นเรื่องที่ผู้ใดจะอาจคิดได้ว่าวันหนึ่งจะเกิดขึ้น.
อีกหลายสิบปีต่อมา, ในงานเขียนเรื่องชีวิตเหมือนฝัน, คุณหญิงมณี สิริวรสาร ซึ่งในระหว่างที่เกิดคดีดังกล่าวนั้นเป็นผู้หนึ่งที่อยู่ใกล้ชิดกับองค์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี, ได้ย้อนเล่าถึงเรื่องนี้ว่า :
“การฟ้องร้องพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ นั้น ทุกคนทราบดีว่ามีการเมืองเป็นต้นเหตุ คือรัฐบาลต้องการกลั่นแกล้ง และให้ผู้ที่ไม่ทราบเรื่องราวเกลียดชังเจ้านายและระบอบกษัตริย์ เพราะทุกคนที่มีความเกี่ยวข้องกับศาลและกฎหมายย่อมทราบดีว่า พระมหากษัตริย์ย่อมจะทรงใช้เงินจากกรมพระคลังข้างที่ได้ เพราะทรงมีสิทธิและอำนาจที่จะใช้จ่ายในกรณีใดๆ ก็ได้ หรือจะพระราชทานเงินแก่ผู้ใดก็ได้”
ข้อความย่อๆ ดังกล่าวนี้ย่อมเป็นการง่ายแก่ผู้อ่านที่จะเข้าใจและคิดเห็นไปตามนั้น. อย่างไรก็ตาม, ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเมืองหรือไม่, ในความเป็นจริงนั้นคดีฟ้องร้องที่เกิดขึ้นนี้ก็หาได้เกิดขึ้นและเป็นไปอย่างรวบรัดดังกับที่ข้อความสั้นๆ เพียงเท่านี้จะชวนให้นึกเห็นไปไม่, หากมีที่มาก่อนหน้านั้นหลายปี.
และการที่จะทราบเรื่องราวดังกล่าว เราจะต้องย้อนกลับไปดูที่มาของเรื่องและสภาพแวดล้อมของที่มานั้น, นั่นก็คือ, ตั้งแต่ในช่วงแรกๆ ของการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นต้นมา.

หลังจากที่พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีคนแรกต้องพ้นจากตำแหน่งไปแล้ว, และโดยเฉพาะภายหลังกรณีกบฏบวรเดชในปี ๒๔๗๖, ความสัมพันธ์ระหว่างพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฐานะพระมหากษัตริย์ กับ “คณะราษฎร” ในฐานะรัฐบาลของประเทศมิได้ราบรื่นนัก. แรกสุดทีเดียวคณะราษฎรเห็นว่า พระองค์ได้ทรงหนุนช่วยฝ่ายพระองค์เจ้าบวรเดชด้านการเงิน ดังปรากฏในหลักฐานการโอนเงินสองแสนบาท ที่ศาลพิเศษซึ่งตั้งขึ้นเมื่อหลังเหตุการณ์นั้นได้นำมาใช้ประกอบคำพิพากษา. จริงอยู่, ในเวลาต่อมา ม.จ.พูนพิศมัยทรงอ้างว่า ผู้ที่โอนเงินให้นั้นเป็นผู้อื่น หากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต้องทรง “รับบาป” แทน, แต่น่าเสียดายที่ต่อหน้าศาลในเวลานั้นข้ออ้างเช่นว่านี้ก็มิได้มีผู้ใดยกขึ้นมา.
แต่ไม่ว่าข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างไร และไม่ว่าแต่ละฝ่ายจะรู้สึกอย่างไร, ข้อความจริงหนึ่งก็มีว่า แต่นั้นมาพระราชดำริของพระองค์ กับความคิดเห็นของฝ่ายรัฐบาล และรวมไปถึงมติของรัฐสภาดูเหมือนจะไม่เคยผสานกันได้ไม่ว่าจะในประเด็นใด. ลักษณาการเช่นนี้ได้ดำเนินและขยายตัวไป กระทั่งทรงตัดสินพระราชหฤทัยสละราชสมบัติในปลายปี ๒๔๗๗ เป็นที่สุด ขณะประทับอยู่ในประเทศอังกฤษ.
ข้อที่ทรงคับข้องพระราชหฤทัยมีอยู่หลายประการ, ซึ่งทั้งหมดนั้นทำให้พระองค์ทรงรู้สึกเสมอว่า ทรงถูกจำกัดให้เพียงแค่ “ลงพระปรมาภิไธย” เท่านั้น, ในขณะที่ฝ่ายรัฐบาลเองก็รู้สึกว่าตนได้อนุโลมตามพระราชประสงค์เป็นส่วนมากแล้ว และสามารถตอบข้อที่ทรงข้องพระราชหฤทัยนั้นได้ทุกประการทั้งต่อพระองค์เองและต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร. ในการประชุมสภาสมัยที่ ๒ ในวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๔๗๗, กล่าวคือ ก่อนที่จะทรงสละราชสมบัติหนึ่งเดือน, พระยาพหลฯ ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่ในช่วงแห่งความขัดแย้งอย่างรุนแรงนั้นถึงกับกล่าวว่า “เราอยากจะให้ท่านแน่พระทัยว่า ‘กูอยากจะเอาอะไรที่มันไม่ขัดรัฐธรรมนูญแล้วมันก็ให้’ นี่เราแสดงใจนักเลงอย่างนี้แหละ.”
ก่อนหน้าการประชุมสภาครั้งนี้, พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชโทรเลขลงวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๔๗๗ ถึงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ (พระยศในขณะนั้น) ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์. ในพระราชโทรเลขนั้นทรงยกตัวอย่างถึงเรื่องที่ทำให้พระองค์จะทรงทนต่อไปมิได้, นั่นก็คือ, เรื่องพระราชบัญญัติอากรมรดก ซึ่งทรงเห็นว่ารัฐบาลทำให้พระองค์ “เซ็น” ด้วยวิธีหลอกลวง, กับเรื่องคดีพระพิบูลย์ไอศวรรย์ฟ้องร้องพระคลังข้างที่ ซึ่งทรงกล่าวว่า ถ้าพระคลังข้างที่แพ้พระองค์ก็จะทรงสละราชสมบัติ. เมื่อมองโดยรวมบางทีเราจะเห็นว่าตัวอย่างที่ทรงยกมานี้ (ในขณะที่ทรงกล่าวว่า “เรื่องอื่นก็ยังมีอีกมากมาย”) เป็นแต่เพียงฟางเส้นสุดท้าย และมิได้มีอะไรมากไปกว่านั้น.
ในความเป็นจริง, ทั้งสองกรณีนี้โดยตัวของมันเองมิใช่เรื่องเล็กน้อย; ที่สำคัญก็คือมันจะเป็นเรื่องโยงใยไปถึงคดีฟ้องร้องอันเป็นประวัติการณ์ดังที่กล่าวมาข้างต้นนั้น. การที่จะเชื่อมโยงไปนั้นก็ด้วยสาเหตุสำคัญที่ว่า, กรณีทั้งสองนี้เกี่ยวพันกับเงินก้อนหนึ่งในพระคลังข้างที่อันเป็นที่มาของเรื่องทั้งหมด.
คดีพระพิบูลย์ไอศวรรย์นั้นมีอยู่ว่า, เดิมพระพิบูลย์ไอศวรรย์เป็นคนหนึ่งที่ได้รับพระราชทานพินัยกรรมจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖, ตั้งแต่เมื่อครั้งยังเป็นนักเรียนกฎหมายที่อังกฤษ. เมื่อกลับเข้ามารับราชการในกระทรวงยุติธรรม, ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๗ กรมพระคลังข้างที่ก็ได้ตัดเงินปีตามพระราชพินัยกรรมนั้นเสีย. แต่พระพิบูลย์ฯ เห็นว่าพระราชพินัยกรรมมิได้ระบุเช่นนั้น, และเห็นเอาว่าเมื่อได้รับพระราชทานแล้วก็จะต้องได้รับพระราชทานตลอดไป แม้ตนจะได้รับราชการมีเงินเดือนแล้วก็ตาม. ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองได้ระยะหนึ่ง พระพิบูลย์ฯ ก็ได้ยื่นฟ้องพระคลังข้างที่, เรียกร้องเงินเลี้ยงชีพที่ถูกยกเลิกไป.
คดีพระพิบูลย์ฯ นี้แม้มิได้เป็นเรื่องที่ใครจะนำมากล่าวขวัญอย่างเอิกเกริกเลื่องลือต่อมาเช่นกรณีนายถวัติ ฤทธิเดช ฟ้องร้องว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงหมิ่นประมาทราษฎร, แต่ก็เป็นเรื่องกระทบกระเทือนพระองค์ไม่น้อย, หาไม่ก็คงไม่ทรงมีพระราชดำรัสถึงเช่นนั้น. อันที่จริงคดีเช่นนี้ก็มิได้มีเพียงคดีเดียว และบรรดาผู้ที่ฟ้องร้องพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ก็ล้วนแต่เป็นคนในราชสำนักทั้งสิ้น. ในเรื่องนี้ ม.จ.พูนพิศมัย ดิศกุล ทรงเล่าว่า, เมื่อได้มีการตัดทอนเงินพระราชทานในสมัยรัชกาลที่ ๗ นั้น บรรดาพวกที่ถูกลดถอนก็พากันโกรธเคืองพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ว่า ทรงลบล้างพระราชพินัยกรรม. พอเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้วพระสุจริตสุดา (เปรื่อง สุจริตกุล) พระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ก็เป็นผู้นำฟ้องต่อศาลก่อนเป็นรายแรก โดยมีเจ้าพระยารามราฆพเป็นรายถัดมา. ครั้นที่สุดเมื่อศาลตัดสินว่าที่ทรงชี้ขาดเช่นนั้นเป็นเรื่องในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์, เรื่องจึงได้สงบลงเท่านั้น.
ส่วนในเรื่องพระพิบูลย์ฯ นี้ ขณะนั้นยังมิได้มีการตัดสิน. ในพระราชโทรเลขถึงสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงยืนยันว่า : “หม่อมฉันได้ทูลมาแล้วว่า หม่อมฉันจะไม่กลับจนกว่าคดีนี้จะได้เสร็จไป เพราะหากคดีนี้พระคลังข้างที่แพ้หม่อมฉันก็จะสละราชสมบัติ หม่อมฉันสัญญาไม่ได้ว่าจะไม่สละราชสมบัติ และไม่มีประโยชน์อะไรเลยที่จะเจรจากันต่อไป จนกว่าคดีนี้จะเสร็จไป…”
ทางฝ่ายรัฐบาลเองเมื่อได้ทราบความในพระราชโทรเลขเช่นนี้ก็ได้มีหนังสือถึงเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ หัวหน้าคณะตัวแทนที่รัฐบาลส่งไปเข้าเฝ้าที่อังกฤษ, ให้กราบบังคมทูลว่าคดีนี้เป็น “เรื่องเกี่ยวแก่อำนาจตุลาการ ซึ่งคณะรัฐมนตรีจะสั่งศาลมิได้ เพราะเป็นการผิดต่อรัฐธรรมนูญ แล้วจะทำให้ต่างประเทศขาดความไว้ใจในศาล ซึ่งกระทบถึงสัญญาทางพระราชไมตรีโดยทั่วๆ ไป.”
ข้อที่ทรงตั้งเงื่อนไขถึงขนาดว่า หากคดีนี้กรมพระคลังข้างที่แพ้ พระองค์ก็จะทรงสละราชสมบัตินั้นเป็นที่กังขากันอยู่ เพราะไม่มีผู้ใดจะอาจทราบพระราชประสงค์ได้. โดยที่ในเวลาเดียวกันนั้นเองได้ทรงตั้งข้อคัดค้านรัฐบาลในเรื่องพระราชบัญญัติป้องกันรัฐธรรมนูญว่าไม่เป็นการยุติธรรมแก่ผู้ถูกกล่าวหา, ในที่ประชุมสภาฯ วันที่ ๓๑ มกราคม ๒๔๗๗, พระพินิจธนากร ผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่จึงกล่าวอภิปรายว่า : “ในการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะขอให้ทรงเลิกพระราชบัญญัติป้องกันรัฐธรรมนูญนั้น ข้าพเจ้ายังไม่ทราบว่ามีพระราชประสงค์อันใดแน่นอน คือข้าพเจ้ามีความฉงนเป็นอันมากในคติตอนหนึ่งซึ่งเกี่ยวแก่ผลประโยชน์ของท่าน คือในเรื่องพระพิบูลย์ไอศวรรย์ในตอนหนึ่งท่านบอกว่า เพราะเหตุว่าเราใช้การพิจารณาโดยไม่มีศาลไม่มีอะไร ท่านไม่พอพระราชหฤทัย แต่ว่าในเรื่องพระพิบูลย์ไอศวรรย์ถ้าท่านแพ้ท่านก็จะลาออก เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าผู้มีสติปัญญาอันน้อยไม่ทราบพระราชประสงค์ของท่านอันใดเลย.”
นั้นเป็นเรื่องหนึ่ง.
เรื่องที่สำคัญกว่าเรื่องพระพิบูลย์ไอศวรรย์ คือเรื่องพระราชบัญญัติอากรมรดก. ตอนหนึ่งในพระราชโทรเลขที่ทรงมีถึงสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศฯ ที่ได้อ้างถึงมาข้างต้นนั้น, ทรงกล่าวถึงเรื่องนี้ว่า :
“เขา (คณะรัฐบาล) ได้ทำให้หม่อมฉันเซ็นพระราชบัญญัติอากรมฤดกโดยวิธีหลอกลวง เขาได้ทำให้หม่อมฉันเข้าใจว่าจะเสนอพระราชบัญญัติใหม่ แถลงความหมายแห่งพระราชสมบัติส่วนพระมหากษัตริย์ตามนัยที่หม่อมฉันได้วางไว้ให้ออกใช้เป็นกฎหมายโดยเร็วที่สุดที่จะเร็วได้ ดั่งที่นายกรัฐมนตรีได้แจ้งไปตามโทรเลขของท่านลงวันที่ ๒๓ สิงหาคม (๒๔๗๗) ร่างพระราชบัญญัตินี้ควรร่างขึ้นได้ภายในเวลาครึ่งชั่วโมง แทนที่จะได้ทำเช่นนั้นกลับตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อร่างพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งจะทำให้หม่อมฉันอยู่ในฐานะเช่นเดียวกับฐานะของพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษ สภาพการณ์เช่นนี้หม่อมฉันจะยอมรับไม่ได้ สภาพการณ์ของทรัพย์สมบัติของกรมพระคลังข้างที่ในประเทศสยามไม่เหมือนกับพระราชทรัพย์ส่วนพระมหากษัตริย์อังกฤษ หม่อมฉันเห็นว่าเป็นการพยายามที่จะดึงเอาความครอบครองกรมพระคลังข้างที่ไปจากหม่อมฉัน วิธีการเช่นนี้อาจเป็นที่พึงพอใจสำหรับผู้อื่นได้แต่ไม่ใช่สำหรับหม่อมฉัน และหม่อมฉันก็คงจะต้องทักท้วงพระราชบัญญัตินี้อีก…”
ที่มาของเรื่องนี้มีอยู่ว่า, ในวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๔๗๗ รัฐบาลได้เสนอร่างพระราชบัญญัติอากรมรดกและรับมรดก ซึ่งเมื่อสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาแล้วก็ได้ลงมติให้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย. อย่างไรก็ตาม, พระองค์ก็มิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยโดยทันที, หากได้พระราชทานร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวนี้กลับคืนมาให้สภาฯ พิจารณาอีกครั้ง, โดยทรงขอให้เพิ่มบทบัญญัติยกเว้นการเก็บอากรมรดกจากทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ให้ชัดแจ้งว่าไม่ต้องเสียอากรมรดก. พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์จะให้เติมข้อความต่อไปนี้ลงในร่างพระราชบัญญัติ :
“พระราชทรัพย์สินใดๆ ที่เป็นพระราชมฤดกไปยังผู้อื่นนอกจากผู้สืบราชสมบัติต้องเสียอากรมฤดก นอกจากนั้นเป็นพระราชทรัพย์ฝ่ายพระมหากษัตริย์ไม่ต้องเสียอากรมฤดก”
คณะรัฐมนตรียืนยันว่า ตามร่างพระราชบัญญัตินี้ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไม่ต้องเสียอากรมรดกอยู่แล้ว. เมื่อที่ประชุมสภาฯ ได้พิจารณาและลงมติด้วยคะแนนลับ ยืนยันตามร่างเดิมด้วยคะแนนเสียง ๑๓๒ ต่อ ๘๙ นายกรัฐมนตรีจึงได้ทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยอีกครั้งหนึ่ง. ในการนี้ทางรัฐบาลได้ให้หม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ (พระยศในขณะนั้น) ไปอังกฤษเพื่อกราบบังคมทูลถวายรายงานด้วยว่า ร่างพระราชบัญญัตินั้นตรงกับพระราชประสงค์แล้ว คือจะไม่เรียกเก็บอากรจากทรัพย์สินพระมหากษัตริย์, และรัฐบาลจะร่างกฎหมายยกเว้นอากรดังกล่าวให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ในที่สุดได้ทรงยอมลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไปได้.
หลังจากนั้นมารัฐบาลก็ได้แต่งตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อพิจารณายกร่างพระราชบัญญัติยกเว้นการเก็บอากรมรดกจากทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ให้เป็นที่ชัดเจนตามพระราชประสงค์, ดังสำเนาหนังสือที่รัฐบาลได้มีไปกราบบังคมทูลต่อไปนี้ :
ที่ ก. ๔๕๐๘/๒๔๗๗ สำนักนายกรัฐมนตรี
วันที่ ๒๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๗๗
ขอเดชะ ฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม
ตามที่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทมีพระราชประสงค์ให้สภาผู้แทนราษฎรแก้ไขร่างพระราชบัญญัติอากรมฤดกและการรับมฤดก พุทธศักราช ๒๔๗๖ เติมความลงให้ปรากฏชัดเจนในการยกเว้นพระราชสมบัติฝ่ายพระมหากษัตริย์ไม่ต้องเสียอากร แต่สภาผู้แทนราษฎรได้ประชุมปรึกษาลงมติยืนตามมติเดิมนั้น ในการอภิปรายของผู้แทนราษฎรก็ได้แสดงเห็นพ้องด้วยกับรัฐบาลว่า พระราชสมบัติฝ่ายพระมหากษัตริย์ไม่ต้องเสียอากรมฤดกเหมือนกัน
แต่เพื่อที่จะให้หลักฐานแน่นอนตามพระราชประสงค์ รัฐบาลจึ่งได้ดำริร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการยกเว้นภาษีอากรอันเกี่ยวแก่พระราชสมบัติฝ่ายพระมหากษัตริย์ (Crown Property) ขึ้นอีกฉะบับหนึ่ง โดยมี
๑. เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ เปนประธาน
๒. หม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ
๓. เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์
๔. พระยาวิกรมรัตนสุภาษ
๕. เซอร์รอเบอร์ต ฮอลแลนด์
๖. พระดุลยธารณ์ปรีชา ไวท์
๗. นายชาลส์ เลเวกส์
เปนกรรมาธิการของคณะรัฐมนตรี พิจารณาหลักการและยกร่างเป็นพระราชบัญญัติเพื่อเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร
ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานทูลเกล้าฯ ถวายคำมั่นว่าจะจัดการเสนอร่างพระราชบัญญัตินี้ต่อสภาผู้แทนราษฎรในสมัยประชุมสามัญปีนี้ เพื่อประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป
ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ข้าพระพุทธเจ้า
(ลงนาม)
นายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา
นายกรัฐมนตรี
จากหนังสือนี้, ต่อมาในเดือนตุลาคมก็ได้ทรงมีพระราชโทรเลขกลับมามีความดังที่ยกมาข้างต้นนั้น. เพราะเหตุที่ทรงกล่าวว่าถูกหลอกลวงให้เซ็น, นายกรัฐมนตรีจึงขอให้ ม.จ.วรรณไวทยากร วรวรรณ ชี้แจงต่อที่ประชุมสภาฯ. ในคำชี้แจงนั้น, ม.จ.วรรณไวทยากรก็ได้ทรงเล่าถึงการเข้าเฝ้า และย้ำในข้อที่ว่าพระมหากษัตริย์จะไม่ต้องเสียอากรมรดก, ซึ่งเป็นข้อที่มีพระราชประสงค์จะให้เป็นดังนั้น และรัฐบาลเองก็ต้องการให้เป็นดังนั้นอยู่แล้ว.
ถ้าเช่นนั้นปัญหาที่ทำให้ถึงกับต้องทรงออกพระโอษฐ์ว่าทรงถูก “หลอกลวง” คืออะไร?
อันที่จริงข้อความในพระราชโทรเลขนั้นเองก็ได้แสดงให้เห็นอยู่แล้วว่า หัวใจของปัญหาไม่ได้อยู่ที่พระราชบัญญัติอากรมรดกเลย, ไม่ได้อยู่ในข้อที่ว่าพระมหากษัตริย์จะต้องเสียอากรมรดกหรือไม่; นั่นไม่ใช่ปมขัดแย้งที่แท้ แม้ดูเสมือนว่าจะเป็น. แท้จริงหัวใจสำคัญของปัญหานั้นอยู่ที่สิ่งที่รัฐบาลกำลังจะทำ, นั่นก็คือ, “ดำริร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการยกเว้นภาษีอากรอันเกี่ยวแก่พระราชสมบัติฝ่ายพระมหากษัตริย์ (Crown Property) ขึ้นอีกฉบับหนึ่ง”; พระราชบัญญัติฉบับใหม่นี้, แทนที่จะร่างขึ้นง่ายๆ “ภายในเวลาครึ่งชั่วโมง” ตาม “นัย” ที่ทรงวางไว้, กล่าวคือ มีเนื้อเพียงว่าพระมหากษัตริย์ไม่ต้องเสียภาษี, รัฐบาลกลับตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างขึ้นมาใหม่ อันจะทรง “ยอมรับไม่ได้”.
พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์เพียงข้อความประโยคเดียว, ไม่ใช่พระราชบัญญัติใหม่ทั้งฉบับที่จะเข้าไปยุ่มย่ามกับพระราชทรัพย์ในพระคลังข้างที่!
พระราชบัญญัติฉบับใหม่ที่เกิดขึ้นมาโดยมิได้ทรงมีพระราชประสงค์, กับยังมีเนื้อหาที่ทรงเห็นว่าต่อไปอีกมิช้ามินานจะทำให้พระองค์ต้องทรง “อยู่ในฐานะเช่นเดียวกับฐานะของพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษ” ฉบับนี้แหละ คือพระราชบัญญัติที่จะเรียกกันในเวลาต่อมาว่า “พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์”.
และคดีฟ้องร้องยึดพระราชทรัพย์ที่จะเกิดขึ้นในอีก ๗ ปีข้างหน้าก็เริ่มขึ้นจากหวอดนี้เอง.
สุพจน์ แจ้งเร็ว: คดียึดพระราชทรัพย์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ
ฟ้าเดียวกัน

ก่อนที่จะได้กล่าวถึงเนื้อหาของพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวต่อไป ยังมีสิ่งที่ควรจะได้กล่าวถึงไว้ในที่นี้ด้วย.
ในเรื่องเกี่ยวกับทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นกรณีขึ้นนี้, นอกจากพระราชโทรเลขที่อ้างถึงมาข้างต้นนั้นแล้ว ก็ยังมีเอกสารสำคัญอีก ๒ ฉบับที่ทรงกล่าวถึงเรื่องนี้โดยตรง. เอกสารทั้งสองฉบับนี้มิได้เป็นเอกสารทางราชการ, หากเป็นพระราชบันทึกที่ทรงทำขึ้นพระราชทานพระยาราชวังสันเป็นการส่วนพระองค์ ในช่วงเดือนกันยายนของปี ๒๔๗๗, กล่าวคือ ก่อนหน้าที่จะมีพระราชโทรเลขมาเล็กน้อย, เมื่อพระยาราชวังสันกราบบังคมทูลขอเป็นคนกลางระหว่างองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับคณะรัฐบาล. ความตอนหนึ่งในพระราชบันทึกฉบับที่ ๑ มีว่า :
“มีข่าวว่าจะเปลี่ยนรูปโครงการณ์ของกระทรวงวังใหม่ให้เหมือนราชสำนักอังกฤษ เรื่องนี้ได้ยินว่ารัฐบาลจะเก็บเป็นความลับจนกว่าฉันจะกลับถึงกรุงเทพฯ แล้วจึงจะดำเนินการ ซึ่งเดาได้ว่าการเปลี่ยนเหล่านี้คงจะเป็นไปในทางที่ฉันจะไม่พอใจ จึงต้องรอให้ได้ตัวไปขังไว้ในเมืองไทยเสียก่อนจึงจะดำเนินการ ในเรื่องนี้ต้องขอให้รัฐบาลเลิกล้มความดำริ หรือมิฉะนั้นต้องส่งโครงการณ์ที่คิดจะเปลี่ยนแปลงนี้มาให้ทราบเสียก่อนฉันกลับ มิฉะนั้นจะไม่กลับ…”
ส่วนพระราชบันทึกที่ ๒ ซึ่งตอนต้นเป็นเรื่องภาษีมรดก และตอนปลายเป็นเรื่องผู้ที่จะสืบราชสมบัติต่อไปหลังจากที่พระองค์ทรงสละราชสมบัติแล้ว, มีความตอนหนึ่งว่า :
“พระองค์เจ้าจุลจักรพงศ์ซึ่งอาจยินดียอมรับตำแหน่ง และฉันได้ทราบแน่นอนว่า มีความคิดความเห็นอยู่หลายอย่างในทางที่จะทำให้พระมหากษัตริย์กับคณะราษฎรหมดข้อบาดหมางกันได้ และดำเนิน Policy บางอย่างที่จะเป็นที่พอใจของคณะราษฎร เช่นจะยกสมบัติของพระคลังข้างที่ให้รัฐบาล และขอเงินก้อนประจำปีแทน จะเลิกทหารรักษาวังและยอมให้รัฐบาลตั้งข้าราชการในราชสำนักตามใจ วิธีการเหล่านี้ล้วนเป็นของที่ฉันเองยอมไม่ได้ และจะต้องวิวาทกับรัฐบาลอีกต่อไปอย่างแน่นอน เว้นแต่รัฐบาลจะผ่อนผันตาม”
“ข่าว” ที่ทรงได้รับนั้นจะทรงได้โดยทางใดหรือจะมีรายละเอียดมากน้อยเพียงไรไม่ปรากฏ. อย่างไรก็ดี, ในเดือนธันวาคมปีเดียวกันนั้นเอง หลังจากได้ทราบความจากพระราชโทรเลขและพระราชบันทึกทั้งสองฉบับนี้แล้ว, รัฐบาลก็ได้ส่งคณะผู้แทนอันประกอบด้วยเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ, หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ และนายดิเรก ชัยนาม ไปเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ประเทศอังกฤษ.
นายดิเรก ชัยนาม ได้ทำบันทึกการเข้าเฝ้าถึงรัฐบาลว่า :
“ทรงรับสั่งว่าเรื่องหลักการ Crown Property เป็นอย่างไร คณะผู้แทนได้กราบบังคมทูลว่า ก่อนออกมาคราวนี้ได้มีการประชุมกรรมการครั้งที่ ๑ แล้ว ได้วางหลักการตามที่คณะรัฐมนตรีได้ถวายความเห็น ซึ่งได้ทรงเห็นชอบแล้ว คือ
๑. พระราชทรัพย์ซึ่งจะตกทอดไปยังผู้สืบสันตติวงศ์นั้นไม่ต้องเสียภาษี
๒. ที่ตกไปยังผู้อื่นซึ่งมิใช่ผู้สืบสันตติวงศ์นั้นต้องเสีย
เวลานี้คณะกรรมการได้ตกลงให้ Sir Robert Holland กับ M. L’evesque ไปจัดการร่างเบื้องต้นมา มิได้จัดการอย่างพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษ การที่มิได้ร่างโดยเร็วก็เพราะเป็นพระราชบัญญัติที่ยากมาก และรัฐบาลหวังว่าถ้าเสด็จกลับไปร่วมมือในการร่างพระราชบัญญัตินี้ก็จะเป็นการเรียบร้อย แต่ในขั้นนี้อาจทำได้โดยวางหลักการไว้และทำ Inventory บัญชีสำรวจภายหลังก็ได้ ก็ทรงพอพระราชหฤทัย
ต่อจากนั้นได้ทรงรับสั่งว่า เหตุผลในการที่พระองค์ทรง Veto พระราชบัญญัตินั้นมีอยู่สองข้อ (๑) เป็นการทำลายฐานะของพระมหากษัตริย์ (๒) การใดที่ไม่ต้องด้วยความประสงค์ของราษฎรทั่วไปแล้ว ในสองข้อนี้จะต้อง Veto นอกจากนี้แล้วจะไม่ทรงใช้เลย”
การเข้าเฝ้ากราบบังคมทูลคราวนี้ถึงจะไม่มีผลมากนัก แต่ก็ไม่ถึงกับล้มเหลวไปเสียทีเดียว, เพราะหลังจากนั้นมาเรื่องพระราชบัญญัติฉบับใหม่นี้ก็มิได้เป็นประเด็นอีก, หากเป็นเรื่องอื่นและเรื่องอื่นต่อไป. ถึงที่สุดพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็มิได้เสด็จกลับ และก็ทรงสละราชสมบัติในอีกสองเดือนต่อมา.
ข้อที่ทรงย้ำไว้ในหลายที่ว่ารัฐบาลกำลังจะทำให้พระองค์อยู่ในฐานะเช่นเดียวกับกษัตริย์อังกฤษด้วยการดึงเอาความครอบครองกรมพระคลังข้างที่ไปจากพระองค์นั้น ได้กลายเป็นข้อที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบางท่านยกขึ้นมาอภิปรายอย่างรุนแรงอย่างถึงขั้นก้าวร้าว. ร.ท.ทองคำ คล้ายโอภาส ผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีนบุรีถึงกับกล่าวว่า “…ที่นี้พระราชบันทึกของพระองค์ พระองค์ต้องการให้ประเทศเรามีการปกครองอย่างประชาธิปไตยอย่างประเทศอังกฤษแท้ๆ แต่พระองค์ก็บอกไว้ในนั้นเอง บอกแย้งในนั้นเองว่าจะให้ฉันทำอย่างพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษไม่ได้ ทีการปกครองละก้อจะเอาอย่างอังกฤษ แต่ไม่อยากจะเป็นอย่างพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษ เพราะฉะนั้นก็เหลือที่จะทนทานเหมือนกัน.”
นั่นเป็นถ้อยคำที่ก้ำเกิน, แต่กระนั้นมันก็เป็นหลักฐานที่สะท้อนให้เราเห็นถึงบรรยากาศส่วนหนึ่งของเวลานั้น.
ประการหนึ่งที่เราต้องเข้าใจก็คือว่า, การที่ทรงรู้สึกว่ารัฐบาลกำลังจะดึงเอาความครอบครองพระคลังข้างที่ไปจากพระองค์เช่นนี้มิได้เป็นข้อที่ทรงรู้สึกเพียงเมื่อเกิดเรื่องนี้ขึ้นเท่านั้น, หากทรงระแวงพระราชหฤทัยมาตั้งแต่วันแรกๆ ของการเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดินแล้ว, เพราะมีข่าวลือว่ารัฐบาลจะริบทรัพย์เจ้า. และไม่ใช่แต่ข่าวลือเท่านั้น, ตอนหนึ่งในคำประกาศของคณะราษฎรเองที่ว่า “เมื่อเราได้ยึดเงินที่พวกเจ้ารวบรวมไว้จากการทำนาบนหลังคนตั้งหลายร้อยล้านมาบำรุงประเทศขึ้นแล้ว ประเทศจะต้องเฟื่องฟูขึ้นเป็นแม่นมั่น” นั้นก็มีกังวานอันน่าพรั่นพรึงอยู่.
ย้อนหลังไปสองปี, เมื่อตัวแทนของคณะราษฎรเข้าเฝ้าในวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๔๗๕ ได้ทรงมีพระราชปรารภในเรื่องนี้. ในเอกสารที่เจ้าพระยามหิธร ซึ่งทำหน้าที่ราชเลขาธิการได้บันทึกไว้ในวันนั้น มีความตอนหนึ่งว่า :
“ได้ทรงทราบข่าวเรื่องจะยึดเงินไม่ทราบว่าจะทำจริงหรือไม่เพียงไร ถ้าจะริบทรงขอลาออกเสียก่อน เพราะจะยอมเป็นหัวหน้าบอลเชวิคร่วมมือริบทรัพย์ญาติด้วยไม่ได้ เป็นยอมตาย ที่คณะราษฎรจะคิดหาเงินจากคนมั่งมีด้วย Taxation นั้นทรงยอมได้ แต่ในประกาศของคณะราษฎรที่พูดออกมานั้นทำให้ต่างประเทศมีความสงสัย ทรงขอบอกว่าเมืองไทยจะทำอย่างเมืองจีนไม่ได้ และจะเปรียบกับอาฟกานิสตานก็ไม่ได้ เพราะภูมิประเทศผิดกัน เมืองไทยประเทศใกล้เคียงเอาเรือรบมาเมื่อไรก็ได้ จึงทรงขอทราบว่าคณะราษฎรได้คิดดังนั้นจริงหรือ
พระยามโนปกรณ์ฯ กราบบังคมทูลว่า คณะราษฎรไม่ได้คิดดังนั้นเลย คิดจะหาเงินโดยทางภาษีกับทาง internal loan เท่านั้น
มีพระราชดำรัสว่า เมื่อได้รับคำยืนยันว่าไม่ริบทรัพย์ จะจัดทางภาษีและทางกู้เงินในประเทศจะทรงช่วยได้ พระคลังข้างที่มีอยู่ ๖ ล้านจะยอมให้…”
จากวันที่ ๓๐ มิถุนายนมาจนถึงเดือนมีนาคมปลายปี ๒๔๗๕ ข่าวลือทำนองนี้ก็ยังไม่ได้จางไป. ในพระราชหัตถเลขาส่วนพระองค์ ลงวันที่ ๑ มีนาคม ๒๔๗๕ ถึงพระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาต พระราชโอรสบุญธรรม, พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ยังทรงเล่าถึงข่าวลือต่างๆ ที่กำลังแพร่สะพัด-อย่างน้อยก็ในหมู่เจ้านาย-ว่า :
“ข่าวลือหลังนี้ที่น่าเชื่อก็มีมาก และที่เหลวก็มี เสียงลือที่มีมาก็ว่าจะจับฉันเซ็นอะไรต่างๆ ในงานฉัตรมงคล เช่น เซ็นให้คณะราษฎรเปน dictator ถึงกับเตรียม cabinet ไว้แล้วด้วยซ้ำ เสียงลืออันนี้จึงน่าเชื่อมาก และพวกคณะราษฎรก็กลัวพวกคณะชาติจะลุกขึ้นเล่นอะไรเต็มทีแล้ว นอกจากนี้ก็ว่าจะให้ฉันยกพระคลังข้างที่ให้แก่ชาติให้หมด แล้วให้ abdicate เขาจะประกาศเปน republic และจะจับพวกเจ้าและตัวฉันขังไว้เปนตัวประกัน บางเสียงก็ว่าจะจับพวกเจ้าฆ่าให้หมด ซึ่งเห็นจะพูดมากไป เพราะถ้าทำดังนั้นฝรั่งก็เข้ามาแน่ พวกเจ้ากลัวกันมาก เลยหนีจากกรุงเทพเปนจำนวนมาก ข้าราชการที่หนีไปก็มีบ้าง”
และในพระราชหัตถเลขาฉบับเดียวกันนั้นเองก็ยังทรงกล่าวต่อไปอีกว่า, “ฉันฉุนเหลือเกิน อยากเล่นบ้าอะไรต่างๆ จัง แต่กลัวนิดหน่อยว่าพวกเจ้าจะถูกเชือดคอหมดเท่านั้นเอง”, และ, “เราอยู่ที่นี่ก็คิดแปลนอะไรกันต่างๆ จนหัวยุ่งเสมอ แต่เรื่องแปลนเหล่านี้จะไม่เล่าเพราะกลัวถูกเปิดหนังสือ…”
ทั้งหมดนั้นมาจาก “ข่าว” ที่ทรงได้รับ, และทั้งหมดนั้นก็คือเรื่องที่ทรงกังวลพระราชหฤทัยมาจนตลอดรัชกาล.
ข้อที่ว่าทรง “อยากเล่นบ้า” ไม่ใช่เรื่องสำคัญในที่นี้, และปัญหาที่ว่า “ข่าว” นั้นจะจริงหรือเท็จก็ไม่ใช่ประเด็นที่เราจะต้องอภิปราย, ประเด็นสำคัญในที่นี้ก็คือเรื่องเงินจำนวน ๖ ล้านบาทในพระคลังข้างที่ที่ทรงมีพระราชดำรัสกับพระยามโนปกรณ์นิติธาดาในวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๔๗๕ นั้น.
ตรงนี้ต้องขยายความว่า, ที่มาของเงินจำนวนนี้คือ, เดิมในปลายรัชสมัยรัชกาลที่ ๕ เงินก้อนนี้มีอยู่ ๑๐ ล้านบาท; ในเวลานั้นที่ปรึกษากระทรวงการคลังได้กราบบังคมทูลให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทรงปฏิบัติ ๒ ประการ, คือ หนึ่ง ให้ซื้อที่ดินฝั่งธนบุรีตั้งแต่ปากคลองมอญลงไปเอาไว้เป็นของพระคลังข้างที่ โดยเก็บเอากำไรในภายหลัง, หรือสอง, ฝากในธนาคารต่างประเทศ. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเลือกประการหลัง. ครั้นล่วงมาถึงในรัชกาลที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงถอนมา ๔ ล้านบาท จึงเหลือเพียง ๖ ล้านบาทดังกล่าว.
จากกองเงินจำนวน ๖ ล้านบาทนี้เอง ที่พระพิบูลย์ไอศวรรย์ฟ้องร้องเรียกค่าเลี้ยงชีพจากพระคลังข้างที่, และก็จากเงินกองเดียวกันนี้เองที่ทรงเห็นว่า หากพระองค์เจ้าจุลจักรพงศ์ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ก็จะยกให้กับรัฐบาลเสีย.
แต่ข้อเท็จจริงข้อหนึ่งที่ไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดในเวลานั้นทราบ-เว้นแต่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว-ก็คือ, ในช่วงเวลาที่ทรงมีปัญหาคับข้องพระราชหฤทัยในคณะราษฎรอย่างรุนแรงในปี ๒๔๗๗, ไม่ว่าจะในเรื่องพระพิบูลย์ไอศวรรย์ฟ้องร้องเรียกเงินเลี้ยงชีพจากพระคลังข้างที่ก็ดี, ในเรื่องรัฐบาลกำลังจะออกพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ก็ดี, รวมไปถึงเรื่อง “Policy” ของพระองค์เจ้าจุลจักรพงศ์ก็ดี, เงินจำนวนดังกล่าวเกือบจะไม่เหลืออยู่ในบัญชีกรมพระคลังข้างที่แล้ว!
การร่อยหรอนั้นได้เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคม ๒๔๗๕ เป็นต้นมา…
จริงอยู่, ภายในสัปดาห์แรกหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองยังทรงมีพระราชดำรัสกับพระยามโนปกรณ์นิติธาดาว่า ทรงยินดีจะให้รัฐบาลกู้เงินก้อนนี้ไปใช้บำรุงประเทศ, ทว่าหลังจากนั้นมาอีก ๑๘ วัน, ก็ได้ทรงเริ่มโอนเงินที่ฝากไว้ในต่างประเทศในนามกรมพระคลังข้างที่นี้เข้าบัญชีส่วนพระองค์เป็นระยะๆ. ผู้ที่เอาใจใส่ประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยใหม่ อาจสนใจที่จะเทียบวันเวลาว่า, ในวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๔๗๕, หรือก็คือก่อนหน้าวันที่จะทรงเริ่มโอนเงินที่ฝากไว้ในนามพระคลังข้างที่ ๒ สัปดาห์, สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์ฯ ต้องเสด็จออกนอกประเทศไปแล้ว.
จำนวนเงินโดยละเอียดนั้นเราจะกล่าวถึงอีกครั้งในตอนข้างหน้า, ต่อไปนี้เป็นเพียงจำนวนโดยคร่าวๆ เท่านั้น, คือ :
วันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๔๗๕ หนึ่งแสนสามหมื่นบาทเศษ,
วันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๔๗๕ สามแสนสองหมื่นบาทเศษ,
วันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๔๗๕ หนึ่งล้านหนึ่งแสนบาทเศษ,
วันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๔๗๕ ห้าแสนสี่หมื่นบาทเศษ,
วันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๔๗๕ เก้าหมื่นห้าพันบาทเศษ,
วันที่ ๖ กันยายน ๒๔๗๕ สามแสนหนึ่งหมื่นบาทเศษ,
วันที่ ๒๒ กันยายน ๒๔๗๕ ทรงโอนเงินที่จะต้องเสียภาษีให้กับรัฐบาลอังกฤษ เข้าบัญชีของพระองค์หนึ่งแสนหนึ่ง
หมื่นบาทเศษ,
วันที่ ๘ ตุลาคม ๒๔๗๕ ทรงถอนเงินจากบัญชีพระคลังข้างที่ไปทำประกันสามแสนบาท,
วันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๔๗๕ ทรงถอนเงินจากบัญชีพระคลังฯ ไปทำประกันอีกหนึ่งแสนห้าหมื่นบาทเศษ,
รายการสุดท้ายคือ, ในวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๔๗๗ ทรงโอนเงินก้อนสุดท้ายจากพระคลังข้างที่เข้าบัญชีส่วนพระองค์
เป็นจำนวนเงินหนึ่งล้านบาทเศษ.
ที่พระพินิจธนากรอภิปรายในสภาฯ ว่า “ในเรื่องพระพิบูลย์ไอศวรรย์ถ้าท่านแพ้ท่านก็จะลาออก เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าผู้มีสติปัญญาอันน้อยไม่ทราบพระราชประสงค์ของท่านอันใดเลย” นั้น, “สติปัญญาอันน้อย” ของท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ผู้นี้บางทีจะอยู่ตรงที่ไม่ทราบข้อเท็จจริงข้อนี้นั่นเอง.

แม้พระยาพหลฯ จะได้กราบบังคมทูลไว้ในเดือนสิงหาคม ๒๔๗๗ แล้วว่า “จะจัดการเสนอร่างพระราชบัญญัตินี้ต่อสภาผู้แทนราษฎรในสมัยประชุมสามัญปีนี้”, แต่ในทางเป็นจริงการณ์ก็มิได้เป็นไปโดยเร็วเช่นนั้น. การที่พระราชบัญญัติว่าด้วยทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ฉบับนี้ต้องล่าช้านั้น, หากกล่าวตามที่คณะผู้แทนรัฐบาลได้กราบบังคมทูลเมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เข้าเฝ้า ณ ที่ประทับในอังกฤษในเดือนธันวาคม ก็คือ “การที่มิได้ร่างโดยเร็วก็เพราะเป็นพระราชบัญญัติที่ยากมาก.”
นอกจากความที่ “ยากมาก” แล้ว, เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเนื่องกันมาก็ทำให้การร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ต้องยืดเยื้อออกไปอีก, โดยในเดือนมีนาคมของปีนั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสละราชสมบัติ. ในที่สุดร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้จึงได้ยื่นเข้าสู่สภาฯ เอาในเดือนสิงหาคม ๒๔๗๘ และได้ประกาศใช้ในปีถัดมา. พระราชบัญญัติฉบับนี้มีชื่อว่า “พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พุทธศักราช ๒๔๗๙”, โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๙ เป็นต้นไป.
ไม่มีใครทราบว่าพระราชบัญญัติที่จะโอนทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ให้ไปอยู่ในความดูแลของรัฐบาลฉบับนี้หรือไม่ ที่ทำให้กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ ประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ต้องปลงพระชนมชีพพระองค์เองในอีกราวสองเดือนหลังนั้น, เพราะไม่อาจทรงทนต่อแรงกดดันจากรอบข้างต่อไปได้.
ใจความสำคัญของพระราชบัญญัติฉบับนี้มีดังนี้ :
“มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ “ทรัพย์สินส่วนพระองค์” หมายความว่าทรัพย์สินหรือสิทธิอันติดอยู่กับทรัพย์สิน ซึ่งมีอยู่หรือเกิดขึ้นในส่วนใดๆ แห่งราชอาณาจักร ถ้า
ก. ทรัพย์สินหรือสิทธิเช่นว่านั้นเป็นของพระมหากษัตริย์อยู่แล้วในเมื่อเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ และพระองค์ทรงมีสิทธิที่จะจำหน่ายสิ่งนั้นได้ก่อนครองราชสมบัติ
ข. ทรัพย์สินหรือสิทธิเช่นว่านั้นได้ตกมาเป็นของพระองค์ในเมื่อหรือภายหลังแต่เวลาที่ครองราชสมบัติโดยทางใดๆ จากบรรดาพระราชบุพการีใดๆ หรือกับบุคคลใดๆ ซึ่งไม่ได้เป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรนี้
ค. ทรัพย์สินหรือสิทธิเช่นว่านั้นได้มาหรือซื้อมาจากเงินส่วนพระองค์
“ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน” หมายความว่าทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์ ซึ่งใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ เป็นต้นว่าพระราชวัง
“ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” หมายความว่าทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์ นอกจากทรัพย์สินส่วนพระองค์และทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดินดังกล่าวแล้ว
มาตรา ๕ ทรัพย์สินส่วนพระองค์, ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน และทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ บรรดาที่เป็นเครื่องอุปโภคบริโภคนั้นให้อยู่ในความดูแลรักษาของสำนักพระราชวัง
ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์นอกจากที่กล่าวไว้ในวรรคก่อน ให้อยู่ในความดูแลรักษาของกระทรวงการคลัง โดยปรึกษาคณะกรรมการคณะหนึ่งประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธาน และกรรมการอีก ๔ นายซึ่งจะได้ตั้งขึ้นโดยพระบรมราชานุมัติ
มาตรา ๖ รายได้จากทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ในความดูแลรักษาของกระทรวงการคลังตามความในมาตรา ๕ วรรค ๒ นั้น เมื่อได้หักรายจ่ายที่จ่ายตามข้อผูกพันอันเกี่ยวแก่ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ รายจ่ายที่จ่ายเป็นเงินเดือน (รวมทั้งบำเหน็จบำนาญถ้ามี) เงินค่าใช้สอย เงินการจร และเงินลงทุนอันเกี่ยวแก่ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และรายจ่ายที่จ่ายเป็นเงินพระราชกุศลออกแล้ว ให้นำทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงใช้จ่ายในฐานที่ทรงเป็นประมุข
มาตรา ๗ ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จะโอนหรือจำหน่ายได้ก็แต่โดยได้รับพระบรมราชานุมัติเพื่อสาธารณประโยชน์ หรือเพื่อประโยชน์แก่ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
มาตรา ๘ ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดินย่อมได้รับความยกเว้นจากการเก็บภาษีอากร
ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ย่อมได้รับความยกเว้นจากการเก็บภาษีอากรเช่นเดียวกับทรัพย์สินของ
แผ่นดิน
ทรัพย์สินส่วนพระองค์ย่อมไม่อยู่ในข่ายแห่งความยกเว้นดังกล่าว”
เรื่องการเก็บภาษีในทรัพย์สินของพระเจ้าแผ่นดินนี้ ควรจะได้กล่าวลงไว้เสียด้วยว่ามิได้เป็นของใหม่แต่อย่างใด, หากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ได้ทรงมีพระราชดำริมาก่อนแล้วเป็นเวลานาน. ในคำบรรยายกฎหมายปกครองของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) ในปี ๒๔๗๔ ก็ได้ยกเรื่องนี้ขึ้นมาเป็นตัวอย่างถึงเรื่องการเสมอภาคในหน้าที่, โดยกล่าวอ้างอิงไว้ว่า :
“ในเรื่องนี้ควรระลึกถึงพระมหากรุณาในพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๖ ซึ่งได้พระราชทานลายพระราชหัตถเลขามายังเสนาบดีกระทรวงนครบาลว่าดังนี้
(สำเนาลายพระราชหัตถเลขา)
ที่ ๓/๔๙
วันที่ ๑๕ เมษายน รัตนโกสินทร์ศก ๑๓๑
ถึงเจ้าพระยายมราช
ด้วยแต่ก่อนๆ มาการเก็บภาษีที่ดินและโรงร้าน กรมพระคลังข้างที่ยังไม่ได้เคยเสียภาษีให้กับเจ้าพนักงานสรรพากรเลย บัดนี้ฉันมาไตร่ตรองดูเห็นว่าทรัพย์สมบัติของฉันทั้งหลายที่เป็นส่วนตัว ก็เท่ากับเป็นทรัพย์สมบัติของคนธรรมดาคนหนึ่ง แต่เหตุใดฉันมาเอาเปรียบแก่คนทั่วไป ซึ่งดูไม่เป็นการสมควรเลย ส่วนของของผู้อื่นจะไปเก็บเอากับเขา ของของเราจะเกียดกันเอาไว้ เพราะคนธรรมดาทั่วไปใครมีทรัพย์สมบัติเป็นที่ดินหรือโรงร้าน เมื่อถึงคราวที่เจ้าพนักงานจะเก็บภาษีเขาก็ต้องเสียภาษีให้กับเจ้าพนักงานตามส่วนมากและน้อยของทรัพย์สมบัติที่เขามีอยู่ ตัวฉันเองถ้านอกจากในทางราชการแล้ว ฉันก็ถือว่าฉันเป็นคนธรรมดาคนหนึ่ง ทรัพย์สมบัติของฉันที่มีอยู่ก็นับว่าเป็นส่วนมาก ถ้ารัฐบาลจะแบ่งผลประโยชน์ของฉันที่ได้มาจากทรัพย์สมบัติทั้งหมดนั้นบ้าง ฉันมีความยินดีเต็มใจที่จะเฉลี่ยให้เป็นการอุดหนุนชาติและบ้านเมืองอย่างคนสามัญด้วยเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปขอให้เจ้าพระยายมราชเก็บภาษีอากรในที่ดินและโรงร้าน ซึ่งนับว่าเป็นสมบัติของส่วนตัวฉันเอง อย่างเช่นที่ได้เคยเก็บมาจากคนอื่นๆ ทั่วไปนั้น
สยามินทร์”
August 15, 2008
สุพจน์ แจ้งเร็ว: คดียึดพระราชทรัพย์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ
ฟ้าเดียวกัน

การที่รัฐบาลเข้าไปจัดระเบียบทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์และตั้งสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ขึ้นมานี้ มีเรื่องที่ควรจะได้กล่าวถึงอยู่สองเรื่อง ซึ่งแม้จะมิได้เกี่ยวข้องกับคดียึดพระราชทรัพย์ แต่ก็เกี่ยวกับการใช้ทรัพย์สินส่วนนี้เพื่อประโยชน์แห่งตนของคนกลุ่มหนึ่งที่มีส่วนถือครองอำนาจในเวลานั้น.
เรื่องแรกเป็นเรื่องอื้อฉาวที่จะเรียกกันต่อมาว่า “กรณีที่ดินพระคลังข้างที่” ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากที่พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวมีผลบังคับใช้ได้ไม่นานนัก.
เรื่องนี้เป็นเรื่องที่นายเลียง ไชยกาล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี ได้ยื่นกระทู้ถามรัฐบาลเมื่อปรากฏว่าได้มีการขายที่ดินอันเป็นของทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ให้กับผู้ก่อการบางคนกับพรรคพวก ด้วยราคาที่ถูกอย่างผิดปรกติ. บุคคลที่ซื้อที่ดินเหล่านี้มีหลวงพิบูลสงคราม, หลวงยุทธศาสตร์โกศล, นายวิลาศ โอสถานนท์, พระดุลยธารณ์ปรีชาไวท์ เป็นต้น. ถ้าจะกล่าวตามที่ ม.จ.ศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน หรือ “ท่านชิ้น” ทรงชี้ให้เห็นไว้ในบทความเรื่อง “The Development of Siamese Politics” แล้ว, บรรดาพวกที่ซื้อที่ดินนั้นก็เป็นพวกที่สังกัดอยู่ในกลุ่มของหลวงพิบูลสงครามเสียเป็นส่วนมาก.
ผลจากการตั้งกระทู้และการเปิดอภิปรายทั่วไปคราวนี้ก็คือ รัฐบาลพระยาพหลฯ ต้องลาออกในวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๔๘๐ และคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ซึ่งรู้เห็นยินยอมในการซื้อขายที่ดินส่วนนี้ต้องถูกประณามอย่างหนักจนต้องลาออกในที่สุด.
เรื่องต่อมาคือเรื่องการฉ้อราษฎร์บังหลวง. ในงานเขียนสำหรับเสนอต่อรัฐบาลอังกฤษเพื่อเตรียมการสร้างขบวนการเสรีไทยในต่างแดนเรื่องเดียวกับที่อ้างข้างต้นนั้น, ม.จ.ศุภสวัสดิ์ฯ ได้ทรงกล่าวถึงการวางแผนเพื่อก้าวขึ้นมามีอำนาจของหลวงพิบูลสงครามในสมัยรัฐบาลพระยาพหลฯ ว่า, หลวงพิบูลฯ ได้จัดการส่งคนของตนเข้าควบคุมกรมกองต่างๆ ของรัฐบาล, ตลอดจนให้ทหารชั้นผู้น้อยเป็นข้าหลวงหรือตำแหน่งสูงอื่นๆ ที่ควบคุมการเงิน. และในส่วนของทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่เพิ่งจัดระเบียบกันใหม่ๆ นั้น…
“สำนักทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของนายทหารชั้นผู้น้อยคนหนึ่ง, ซึ่งเขาผู้นั้นได้สั่งให้สร้างตึกใหม่ๆ ที่ใหญ่โตขึ้นมา โดยอ้างว่าเพื่อความงดงามของบ้านเมือง, และผลจากการฉ้อราษฎร์บังหลวงของเขาก็คือ บรรดาตึกเหล่านั้นอยู่ได้ไม่ถึงห้าปีก็ค่อยพังลงมาทีละตึกสองตึก. การสร้างถนนหนทางและสิ่งอื่นๆ ก็ทำกันขึ้นมาในแบบเดียวกัน. อย่างไรก็ดี, ในการนี้หลวงประดิษฐ์ [มนูธรรม] และพระยาทรง [สุรเดช] กับพวกสานุศิษย์หาได้มีส่วนรู้เห็นด้วยไม่.”
ทั้งสองเรื่องนี้คือเรื่องที่พลอยตามมากับการจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ในช่วงแรก, และก็คือเรื่องที่เกิดขึ้นเสมอหลังการปฏิวัติ ไม่ว่าจะในที่ใดและสมัยใด.
กลับมาที่เรื่องการจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์-เมื่อทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ต้องอยู่ในความดูแลของกระทรวงการคลังดังที่พระราชบัญญัติกำหนดไว้ดังกล่าว, กระบวนการปฏิบัติงานต่อมาของรัฐบาลก็คือ ตั้งกรรมการชุดหนึ่งขึ้นตรวจสอบบัญชี. ในการตรวจสอบนั้นเอง, คณะกรรมการชุดนี้ก็ได้พบว่าเงินหลายจำนวนถูกสั่งจ่ายไปโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตั้งแต่ครั้งยังมิได้สละราชสมบัติ. เมื่อการตรวจสอบจบสิ้นลง, ในปี ๒๔๘๒ กระทรวงการคลังก็ได้มอบเรื่องราวให้แก่อัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้องพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า ได้ทรงโอนทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ไปเป็นของส่วนพระองค์โดย “ไม่มีอำนาจที่จะทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย และโดยไม่มีผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ.”
อัยการยื่นฟ้องต่อศาลแพ่งในวันที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒, โดยในวันที่ ๑๓ กันยายนปีเดียวกันนั้นก็ได้ยื่นคำร้องขอแก้คำฟ้อง. การแก้นั้นเข้าใจว่าจะแก้ในส่วนรายละเอียดของวันที่และจำนวนเงิน, เพราะเมื่อเทียบกันระหว่างความที่ปรากฏในคำฟ้องลงวันที่ ๑๗ กรกฎาคม กับที่ปรากฏในตอนต้นของคำพิพากษาลงวันที่ ๓๐ เดือนกันยายน ปี ๒๔๘๔ มีส่วนที่แตกต่างกันอยู่บ้าง.
เพื่อความสะดวกสำหรับในที่นี้จะขอคัดส่วนต้นของคำพิพากษาซึ่งเป็นการสรุปคำฟ้องมาลงไว้แทน, ดังนี้ :
“โจทก์ยื่นคำฟ้องลงวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๔๘๒ แลยื่นคำร้องขอแก้คำฟ้องในวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๔๘๒ ประมวลเป็นใจความว่า ในระหว่างที่จำเลยที่ ๑ เสวยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ และจำเลยที่ ๒ ซึ่งเป็นพระชายาทรงเป็นพระบรมราชินี จำเลยได้โอนทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ไปเป็นพระนามของจำเลยทั้งสองโดยจำเลยไม่มีอำนาจที่จะทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย และโดยไม่มีผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการตามพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินไทยชั่วคราว พุทธศักราช ๒๔๗๔ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย คือ
ก. คอนโซลส์อังกฤษราคา ๑๐๐,๐๐๐ ปอนด์ ซึ่งกรมพระคลังข้างที่ได้ซื้อไว้แต่ครั้งในรัชชกาลที่ ๕ และเป็นทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ตกทอดตลอดมา มีชื่อพนักงานฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงก์ กรุงลอนดอนเป็นผู้ถือไว้ในนามของกรมพระคลังข้างที่ จำเลยได้จัดการโอนให้พนักงานฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงก์ กรุงลอนดอนเป็นผู้ถือไว้ในพระนามของจำเลยเมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๗ คิดเป็นเงินไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนในขณะโอน ๑,๐๘๙,๓๖๑ บาท ๗๐ สตางค์
ข. เงินทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ที่ได้ฝากไว้ณะฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงก์ กรุงลอนดอน ๕๐,๐๐๐ ปอนด์ในนามของกรมพระคลังข้างที่ จำเลยได้โอนไปฝากในพระนามของจำเลยเมื่อวันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ คิดเป็นเงินไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนในขณะโอน ๕๔๔,๖๘๐ บาท ๘๕ สตางค์
ค. เงินภาษีรายได้จากคอนโซลส์อังกฤษ ซึ่งกรมพระคลังข้างที่ได้เสียให้แก่เจ้าพนักงานประเมินภาษีของอังกฤษ แล้วภายหลังเรียกคืนมาเมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นจำนวนเงิน ๑,๐๔๕ ปอนด์ ๑๔ ชิลลิงส์ ๗ เพนส์ อันเป็นเงินทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ แต่หม่อมเจ้าดำรัสดำรง เทวกุล อัครราชทูตไทยประจำกรุงลอนดอนในขณะนั้นได้นำฝากไว้ในพระนามของจำเลย ซึ่งจำเลยทรงเห็นชอบด้วย คิดเป็นเงินไทยตามอัตราในขณะฝาก ๑๑๓,๘๐๐ บาท ๗๑ สตางค์
ง. เงินทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ที่ได้ฝากไว้ณะแนชชั่นแนลซิตี้แบงก์ กรุงนิวยอร์ค จำนวน ๓๖๗,๖๕๓ เหรียญ ๘๔ เซ็นต์ ในนามกรมพระคลังข้างที่ จำเลยได้โอนไปฝากในพระนามของจำเลยเมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ คิดเป็นเงินไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนเวลาโอน ๑,๑๓๑,๒๔๒ บาท ๕๘ สตางค์
จ. เงินทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ที่ได้ฝากไว้ณะฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงก์ กรุงลอนดอน จำนวน ๑๑,๙๕๑ ปอนด์ ๘ ชิลลิงส์ ๘ เพ็นส์ ในนามของกรมพระคลังข้างที่ จำเลยได้โอนไปฝากในพระนามของจำเลยเมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ คิดเป็นเงินไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนขณะโอน ๑๓๐,๑๙๔ บาท ๓๔ สตางค์
ฉ. เงินทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ที่ได้ฝากไว้ณะชาร์เตอร์แบงก์ กรุงลอนดอน จำนวน ๒๘,๕๕๔ ปอนด์ ๓ ชิลลิงส์ ๓ เพ็นส์ ในนามของกรมพระคลังข้างที่ จำเลยได้โอนไปฝากในพระนามของจำเลยเมื่อวันที่ ๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๕ คิดเป็นเงินไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนขณะโอน ๓๑๑,๐๕๘ บาท ๑๑ สตางค์
ช. เงินทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ที่ได้ฝากไว้ณะแนชชั่นแนลแบงก์ กรุงลอนดอน จำนวน ๒๙,๔๓๐ ปอนด์ ๖ ชิลลิงส์ ในนามของกรมพระคลังข้างที่ จำเลยได้โอนไปฝากในพระนามของจำเลยเมื่อวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ คิดเป็นเงินไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนขณะโอน ๓๒๐,๖๐๒ บาท ๔๒ สตางค์
ซ. เงินทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ที่ได้ฝากไว้ณะชาร์เตอร์แบงก์ สิงคโปร์ จำนวน ๗๕,๐๗๗ เหรียญ ๕๙ เซ็นต์ ในนามของกรมพระคลังข้างที่ จำเลยได้โอนไปฝากในพระนามของจำเลยเมื่อวันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ คิดเป็นเงินไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนขณะโอน ๙๕,๐๓๔ บาท ๙๒ สตางค์
ครั้นเมื่อจำเลยที่ ๑ ได้สละราชสมบัติในเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ แล้ว จำเลยถือเอาทรัพย์สินดังกล่าวข้างต้นทั้งหมดเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์ของจำเลย ไม่คืนหรือใช้ให้แก่โจทก์ หรือทบวงการเมืองใดๆ ที่มีหน้าที่ดูแลทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์
ฌ. ในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ จำเลยได้ทำสัญญาประกันพระชนมชีพไว้กับบริษัทแมนูแฟกเจอเรอส์ไลฟ์อินชัวรันส์ โดยวิธีส่งเงินครั้งเดียวองค์ละแสนเหรียญอเมริกัน จำเลยได้เอาเงินอันเป็นทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์จ่ายไปเมื่อวันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ จำนวน ๓๐๐,๐๐๐ บาท
ญ. และในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ นั้นเอง จำเลยที่ ๑ ได้ทำสัญญาประกันพระชนมชีพไว้กับบริษัทเดียวกันนั้นเป็นจำนวนเงิน ๑๗,๐๐๐ ปอนด์ โดยส่งเงินครั้งเดียวเป็นจำนวนเงิน ๑๔,๗๖๑ ปอนด์ โดยจำเลยที่ ๑ ได้เอาเงินอันเป็นทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์จ่ายไปเมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นจำนวน ๑๕๙,๘๒๐ บาท ๒๖ สตางค์
จำเลยได้มีคำสั่งให้บริษัทจ่ายเงินที่จำเลยควรได้รับตามสัญญาเข้าในบัญชีเงินฝากของจำเลยณะธนาคารในกรุงลอนดอนและกรุงนิวยอร์ค เป็นการกระทำให้เกิดผลโอนทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์มาเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์ของจำเลย โดยไม่มีอำนาจอันชอบด้วยกฎหมาย
ทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ที่จำเลยโอนและจ่ายไปเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์ของจำเลยดังกล่าวแล้วทั้งหมดรวมเป็นจำนวน ๔,๑๙๕,๘๙๕ บาท ๘๙ สตางค์ จำเลยมีหน้าที่ต้องคืนหรือใช้ให้แก่โจทก์ ซึ่งมีหน้าที่ดูแลรักษาทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พุทธศักราช ๒๔๗๙ และจะต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์อีกร้อยละ ๗ ๑/๒ ต่อปี นับแต่วันที่โอนและจ่ายจนถึงวันฟ้อง เป็นจำนวนทั้งหมด ๒,๐๒๕,๓๕๑ บาท ๗๐ สตางค์
โจทก์ขอให้ศาลบังคับให้จำเลยคืนหรือใช้เงินจำนวนนี้กับดอกเบี้ยดังกล่าวแล้วให้แก่โจทก์ และให้จำเลยเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๗ ๑/๒ ต่อปี ในต้นเงินกับดอกเบี้ยที่ค้างถึงวันฟ้องตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ”
ทั้งหมดนี้รวมเป็นเงิน ๖,๒๒๑,๒๔๗ บาท ๕๙ สตางค์.
นอกจากฝ่ายโจทก์จะได้ฟ้องมีเนื้อหาดังที่คัดมานี้แล้ว, ในคำฟ้อง โจทก์ยังยื่นฟ้องอีกว่า :
“๑. ปรากฏว่าเมื่อวันที่ ๑๑ เดือนนี้ จำเลยที่ ๑ ได้โอนขายที่ดินโฉนดที่ ๔๕๓๒๐ อำเภอดุสิต พระนคร ของจำเลยให้แก่ ม.จ.รัตยากร วิสุทธิ ไปเป็นเงิน ๔,๐๐๐ บาท
๒. และเมื่อวันที่ ๑๒ เดือนเดียวกัน จำเลยที่ ๑ ให้ผู้ไปขอกรมที่ดินและโลหกิจ พระนครและธนบุรี ทำนิติกรรมโอนขายที่ดินอีก ๘ แปลง ตามบัญชีที่ได้แนบมาข้างท้ายนี้ ให้แก่ ม.จ.อุปลีสาณ ชุมพล ราคา ๑๒๘,๓๒๐ บาท
๓. การกระทำของจำเลยดังกล่าวในฟ้อง เป็นการตั้งใจโอนของจำเลยไปให้พ้นอำนาจศาล ซึ่งจะออกบังคับเอากับจำเลย และเพื่อฉ้อโกงโจทก์ และนอกนั้นตัวจำเลยก็อยู่นอกจากอำนาจศาล
๔. เพราะฉะนั้นเป็นการจำเป็นที่โจทก์ต้องร้องขอต่อศาล เพื่อจัดการให้มีวิธีคุ้มครองตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา ๒๕๔ มิให้เกิดความเสียหายขึ้นแก่โจทก์ โดยสั่งให้ยึดทรัพย์หรืออายัดทรัพย์สินของจำเลยไว้ทั้งหมด รวมทรัพย์ของบุคคลภายนอก ซึ่งครบกำหนดที่จะชำระแก่จำเลยด้วย
๕. และโดยที่มีกรณีฉุกเฉิน ถ้าศาลจะดำเนินการพิธีพิจารณาภาควิสามัญ จะเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายขึ้นแก่โจทก์มากมาย โดยจำเลยกำลังพยายามจะโอนทรัพย์ของจำเลยเอง และจำเลยอยู่นอกอำนาจศาล ฉะนั้นขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองตามคำขอของโจทก์ข้อ ๔ โดยมิชักช้า ตามประมวลกฎหมายแพ่งมาตรา ๒๖๖-๒๖๗ นั้น”
คำร้องให้ยึดทรัพย์จำเลยโดยเกรงว่าจำเลยจะทำการยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินนี้ ทางศาลแพ่งอันมีพระสุทธิอรรถนฤมนตร์ (สุข เลขยานนนท์) เป็นอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่งไม่เห็นด้วย จึงมีคำสั่งให้ยกฟ้องคำร้องเสีย. อีก ๓ วันต่อมาทางฝ่ายโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอยึดทรัพย์จำเลยอีกครั้งหนึ่ง โดยในคราวนี้ได้ยื่นเป็นคำร้องธรรมดา แต่ศาลแพ่งก็สั่งให้ยกคำร้องของโจทก์อีก. โจทก์จึงอุทธรณ์คำสั่งของศาลแพ่ง ซึ่งศาลอุทธรณ์ก็ได้พิพากษาให้กลับคำสั่งของศาลแพ่ง.
เมื่อศาลสั่งอนุญาตตามคำร้องของโจทก์เช่นนั้น, นาวาอากาศเอกหลวงกาจสงคราม (เทียน เก่งระดมยิง) รัฐมนตรีผู้หนึ่งในคณะรัฐบาลเวลานั้น และมีตำแหน่งเป็นกรรมการตรวจรับงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ก็นำเจ้าหน้าที่กองหมายและเจ้าหน้าที่รัฐบาลเข้าวังศุโขทัย. และนับแต่วาระนั้นเป็นต้นมาสำนักงานผลประ
โยชน์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ก็ตกอยู่ในความควบคุมของกองหมายโดยคำสั่งศาลตลอดมาจนถึงวันพิพากษาคดี.
คุณหญิงมณี สิริวรสาร กล่าวถึงเหตุการณ์ตอนนี้ว่า :
“เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยึดทรัพย์ของจำเลยจนหมดสิ้นแล้ว ฝ่ายจำเลยก็หมดกำลังทรัพย์ทางกรุงเทพฯ ที่จะต่อสู้คดีอีกต่อไป และเป็นที่ทราบกันทั่วไปว่า พระสุทธิอรรถฯ ผู้พิจารณาคดีนี้ด้วยความบริสุทธิ์ใจและเป็นอิสระตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ หลังจากที่ได้มีคำสั่งให้ยกคำร้องของโจทก์เสียสองครั้งแล้วก็มีอันเป็นไป คือถูกย้ายไปเป็นผู้พิพากษาศาลฎีกาชั่วระยะหนึ่ง แล้วก็ถูกคำสั่งให้ปลดออกจากราชการในเวลาต่อมาโดยปราศจากความผิดใดๆ…”
ฝ่ายจำเลยจะหมดกำลังทรัพย์อย่างที่คุณหญิงมณีกล่าวหรือไม่ เราไม่ทราบ, แต่ความจริงมีอยู่ว่าฝ่ายจำเลยสู้คดี และสู้ตลอดมาจนศาลพิพากษา. ในการต่อสู้คดีนี้ฝ่ายจำเลยมีหม่อมเจ้าอุปลีสาณ ชุมพล เป็นตัวแทนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และมีมิสเตอร์ V.H. Jakes ชาวอังกฤษ ซึ่งเปิดสำนักงานทนายความอยู่ในกรุงเทพฯ เป็นทนายความ. ส่วนทางอังกฤษพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ได้ทรงปรึกษาวิธีการต่อสู้คดีกับมิสเตอร์ R.D. Craig ที่ปรึกษากฎหมายของพระองค์ และร่วมบริษัทว่าความบริษัทเดียวกันกับมิสเตอร์เจกส์ ด้วย. ไม่ช้าไม่นานต่อมาที่ปรึกษากฎหมายของพระองค์ก็มายังกรุงเทพฯ เพื่อร่วมมือกับทนายที่นี่ในประเด็นสำคัญบางประเด็น แล้วนำไปกราบบังคมทูลรูปคดีแก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่อังกฤษ.
คำให้การต่อสู้ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ตามที่ปรากฏในคำพิพากษา มีดังนี้ :
“จำเลยทั้งสองให้การต้องกันรับว่า โจทก์มีหน้าที่ดูแลรักษาทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ตามความในมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. ๒๔๗๙ และจำเลยที่ ๑ ได้เคยเสวยราชสมบัติตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๘ และได้สละราชสมบัติเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๗ จำเลยที่ ๒ เป็นพระราชชายาของจำเลยที่ ๑ และได้ทรงเป็นพระบรมราชินีในระหว่างที่จำเลยที่ ๑ เสวยราชสมบัติ ข้ออ้างของโจทก์นอกจากที่กล่าวแล้วจำเลยขอปฏิเสธ
นอกจากนี้จำเลยทั้ง ๒ ให้การต่อสู้ว่า
๑. การกระทำที่โจทก์ฟ้องได้กระทำในระหว่างที่จำเลยที่ ๑ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โจทก์จะฟ้องจำเลยที่ ๑ ในขณะที่เป็นพระมหากษัตริย์ไม่ได้ ฉะนั้นโจทก์จะมาฟ้องคดีนี้ไม่ได้
๒. หากได้มีการกระทำผิดดังโจทก์ฟ้องซึ่งจำเลยขอปฏิเสธ ก็เป็นความผิดในลักษณะลาภมิควรได้ หรือมิฉะนั้นต้องถือว่าเป็นความผิดในลักษณะละเมิด ฟ้องของโจทก์จึงขาดอายุความ
๓. โจทก์อ้างว่าผู้ครอบครองทรัพย์สินรายพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมายได้ถูกจำเลยรบกวนและแย่งในการปกครองโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ผู้ที่อ้างว่ามีสิทธิครอบครองทรัพย์สินที่ว่านี้มิได้นำความขึ้นฟ้องร้องยังโรงศาลภายใน ๑ ปี ฟ้องของโจทก์จึงขาดอายุความ
๔. บรรดาทรัพย์สินต่างๆ ที่โจทก์อ้างว่าได้โอนหรือฝากไว้ในพระนาม
ของจำเลย ถ้ามีจริงจำเลยก็ได้ครอบครองโดยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมาเป็นเวลา ๕ ปีกว่า จำเลยจึงย่อมได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ว่านี้ตามกฎหมายแล้วก่อนโจทก์นำคดีขึ้นฟ้องร้อง
๕. หากจะถือว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยได้ และได้มีการโอนและใช้ทรัพย์สินตามที่กล่าวในฟ้อง การโอนและการใช้นี้เป็นไปตามคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าพนักงานรัฐบาล คำสั่งนี้ย่อมผูกมัดโจทก์ จำเลยไม่ต้องรับผิดชอบ
๖. แม้จะปรากฏว่าจำเลยที่ ๑ ได้เป็นผู้จัดการโอนและใช้ทรัพย์สินดังโจทก์อ้าง จำเลยที่ ๑ ก็มีอำนาจเต็มบริบูรณ์ที่จะจำหน่ายทรัพย์สินนั้นโดยชอบด้วยกฎหมาย
๗. สำหรับเงินภาษีรายได้จากคอนโซลส์อังกฤษ ซึ่งเรียกคืนมาได้ตามกฎหมายอังกฤษ รัฐบาลอังกฤษยอมคืนเพียงแต่ให้จำเลยที่ ๑ เองเท่านั้น จะไม่ยอมคืนให้แก่รัฐบาลแห่งประเทศไทย หรือโจทก์ หรือบุคคลอื่นใดเลย โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหาย และหามีสิทธิที่จะฟ้องเรียกเงินนี้ไม่
๘. หากจะถือว่าจำเลยได้จัดการโอน และเข้าครอบครองและรับทรัพย์ที่กล่าวในฟ้องโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ก็ดี (ซึ่งจำเลยขอปฏิเสธ) และฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ จำเลยก็ได้กระทำเช่นนั้นโดยสุจริต เชื่อว่ามีสิทธิตามกฎหมายที่จะทำได้ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเพียงแต่ส่วนแห่งทรัพย์สินที่ยังคงมีอยู่ในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้อง และจำเลยไม่ต้องรับผิดชอบเสียดอกเบี้ยเลย
๙. จำเลยที่ ๒ ต่อสู้อีกข้อหนึ่งว่า จำเลยที่ ๒ มิได้เกี่ยวข้องกับการจัดการโอนทรัพย์สินตามคำฟ้องของโจทก์แต่อย่างใดๆ เลย ทั้งมิได้รับทรัพย์สินใดๆ ซึ่งจำเลยไม่ชอบที่จะได้รับ”
คดีนี้ใช้เวลาอยู่ ๒ ปีเศษ. ในวันที่ ๓๐ เดือนกันยายน พ.ศ. ๒๔๘๔ ศาลก็ได้ตัดสินให้พระองค์ทรงแพ้คดี; พระองค์จะต้องคืนเงินจำนวน ๖,๒๒๑,๒๔๗.๕๙ บาทให้กับพระคลังข้างที่.
แต่พระองค์ก็ไม่อาจทรงทราบได้ถึงผลการตัดสิน เพราะก่อนหน้านั้น ๔ เดือน, ในวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พระองค์ได้เสด็จสวรรคตไปแล้วในประเทศอังกฤษ, คงเหลือแต่เพียงสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี จำเลยที่ ๒ เพียงพระองค์เดียว…
อีก ๓๒ ปีให้หลังนับแต่วันที่ศาลได้ตัดสินให้ทรงแพ้คดี, สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีได้พระราชทานสัมภาษณ์แก่นักข่าว, ดังปรากฏในหนังสือ เบื้องแรกประชาธิปตัย ว่า :
“ก่อนที่จะเสด็จไปอังกฤษในหลวงจึงทำหนังสือมอบให้ว่า ให้เอาเงินที่สะสมไว้นั้นมาทดแทนที่จะทรงเบิกเงินแผ่นดินที่มีอยู่ในเมืองนอกเป็นการชดเชยกัน เงินที่อยู่ในเมืองนอกนั้นเป็นเงินกองกลางสำหรับพระเจ้าแผ่นดินทุกพระองค์จะเบิกมาใช้ได้ ที่ในหลวงต้องทรงทำเช่นนี้ก็เพราะไม่ทราบว่าจะต้องประทับอยู่นานเท่าใด เงินที่จะเอาติดตัวไปก็น้อย และเมื่อไปแล้วจะให้ส่งไปก็ส่งไม่ได้ เงินในเมืองนอกที่ว่านี้มีมาแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพราะฉะนั้นเงินส่วนของวังศุโขทัยที่ว่านี้ก็เป็นเงินที่ใช้ทดแทนกันนั่นเอง แต่แล้วก็กลายเป็นเรื่องถึงฟ้องร้องกันในเวลาต่อมา ซึ่งเมื่อถึงตอนนั้นแล้วเอกสารของในหลวงที่ทรงไว้เกี่ยวกับการทดแทนกันก็หากันไม่พบ ไม่มีใครรู้ว่ามันหายไปไหน”
ด้วยเวลาที่ผ่านไปหลายสิบปีบางทีจะทำให้ทรงจำรายละเอียดคลาดเคลื่อนไปบ้าง, กล่าวคือ, เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จไปอังกฤษในช่วงปลายปี ๒๔๗๖ นั้น ได้ทรงทยอย “เบิกเงินแผ่นดินที่มีอยู่ในเมืองนอก” มาก่อนหน้านั้นแล้วถึง ๑๘ เดือน, หาใช่ “ที่จะทรงเบิก” ไม่.
อย่างไรก็ตาม, เหตุผลข้อนี้ก็มิได้มีการแถลงในศาล-ไม่ว่าจะโดยพระองค์เองหรือโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. น่าเสียดายว่า, ไม่มีใครรู้ว่าเอกสารของในหลวงหายไปไหน, หาไม่การณ์ก็คงจะไม่เป็นไปถึงเช่นนี้. กระนั้นก็ดี, แม้ทางฝ่ายโจทก์จะมิได้เห็นและทางฝ่ายจำเลยเองก็มิได้อ้างถึงเอกสารนี้, หากการปฏิบัติตามวิธีกฎหมายก็มีผลเช่นกัน, นั่นก็คือ, รัฐบาลได้ยึดวังศุโขทัยและทรัพย์สินที่ประเมินราคารวมกันได้ราว ๖ ล้านไว้เป็นการทดแทนเงินที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโอนจากบัญชีพระคลังข้างที่ไปไว้ในพระนามของพระองค์.
สุพจน์ แจ้งเร็ว: คดียึดพระราชทรัพย์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ
ฟ้าเดียวกัน

เมื่อศาลได้ตัดสินให้ทรงแพ้คดีแล้ววังศุโขทัยซึ่งทางรัฐบาลตีราคาไว้ ๓ ล้านบาทก็ถูกยึด, และการ “ริบทรัพย์” อื่นๆ เพื่อนำไปขายทอดตลาดก็ตามมา, ดังประกาศต่อไปนี้ :
(ครุฑ)
ประกาศขายทอดตลาดกองบังคับคดีทางแพ่ง
เจ้าพนักงานบังคับคดีจะขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยในคดี ระหว่างกระทรวงการคลัง โจทก์ สมเด็จพระปกเกล้าฯ ที่ ๑ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีที่ ๒ จำเลย ตามคำสั่งศาลแพ่ง ที่กองบังคับคดีทางแพ่งกระทรวงยุตติธรรม ตั้งแต่วันที่ ๘ ถึงวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๔๘๕ เริ่มขายเวลา ๙.๓๐ นาฬิกา ทุกวัน.
ทรัพย์ที่จะขายคือ :- สิ่งของ ทอง นาก เงิน รูปพรรณประดับเพ็ชร์ พลอย มรกต ทับทิม เช่น แหวน เข็มขัด หีบบุหรี่ ซองบุหรี่ พาน โถปริก กะโถน เชี่ยนหมาก เป็นต้น กับสิ่งของอื่นๆ อีกหลายอย่าง รวมทั้งหุ้นบริษัทรถไฟแม่กลองจำกัด หุ้นบริษัทไฟฟ้าไทยจำกัด หุ้นบริษัทไทยประกันภัยจำกัด ซึ่งจะขายในวันที่ ๑๘ มกราคม ผู้ใดต้องการทราบรายละเอียดจะขอดูได้ที่กองบังคับคดีทางแพ่งในเวลาราชการ
ประกาศมา ณ วันที่ ๒๒ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๘๔
สารกิจปรีชา
หัวหน้ากองบังคับคดีทางแพ่ง
ประกาศขายทอดตลาดฉบับนี้ทางกองบังคับคดีทางแพ่งได้ส่งให้หนังสือพิมพ์ ๓ ฉบับ คือ ข่าวภาพ, ศรีกรุง และ ประชาชาติ, โดยกำหนดให้ ข่าวภาพ ลงโฆษณาในวันที่ ๒๕, ๒๖, ๒๗ ธันวาคม, ศรีกรุง ลงวันที่ ๒๙, ๓๐, ๓๑ ธันวาคม, ส่วน ประชาชาติ จะลงในฉบับหลังปีใหม่ไปแล้ว คือฉบับวันที่ ๑, ๒ และ ๓ มกราคม.
นอกจากประกาศทางสาธารณะนี้แล้ว ทางกองบังคับคดีทางแพ่งยังได้จัดทำบัญชีรายการสิ่งของที่จะขายโดยละเอียดด้วย. บัญชีนี้ได้ส่งไปยังบุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง คือทางฝ่ายตัวแทนโจทก์มีหลวงกาจสงคราม, นายแนบ พหลโยธิน, พระยาชาติเดชอุดม, และนายร้อยโทขุนนิรันดรชัย ผู้ดูแลสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์, เป็นต้น, ส่วนทางฝ่ายจำเลยมี ม.จ.อุปลีสาณ ชุมพล และพระยาศรีวิสารวาจา ผู้จัดการมรดกของจำเลย.
ตามบัญชีนี้นอกจากหุ้นบริษัทจำนวน ๖ รายการแล้ว ก็มีทรัพย์สินต่างๆ อีก ๑๔ หีบ แบ่งเป็น ๒๘๘ รายการ. ทรัพย์สินทั้งหมดได้แบ่งขายตามบัญชี, ดังนี้ :
ขายวันที่ ๘-๙-๑๐ มกราคม รวม ๙๕ รายการ
วันที่ ๑๑-๑๒-๑๓-๑๔ รวม ๑๐๙ รายการ
วันที่ ๑๕-๑๖-๑๗ รวม ๘๔ รายการ
วันที่ ๑๘ ขายหุ้นบริษัทจำนวน ๖ รายการ, รวม ๒,๕๐๗ หุ้น, คิดเป็นเงิน ๒๐๕,๕๖๐ บาท.
ตรงนี้จะต้องชี้แจงว่า การแบ่งของออกเป็น ๒๘๘ รายการนั้น มิได้หมายความว่าจะมีวัตถุเป็นจำนวนเท่ากัน; บางรายการประกอบด้วยของมากกว่าหนึ่งชิ้น, เช่นเป็นสร้อยจำนวน ๑๓ สาย หรือแหวน ๑๔ วง, เป็นต้น. อนึ่ง, บรรดาของที่จะขายนี้ล้วนเป็นสังหาริมทรัพย์ทั้งสิ้น.
การที่จะคัดรายการทรัพย์สินที่ถูกขายทอดตลาดทั้งหมดมาลงไว้ในที่นี้ เป็นเรื่องที่เกินวิสัย เพราะนอกจากจะมีจำนวนมากแล้ว, แต่ละรายการก็ยังมีคำบรรยายลักษณะไว้สั้นบ้างยาวบ้างอีกด้วย. อย่างไรก็ตาม, เพื่อให้เป็นตัวอย่าง, ในที่นี้จะขอคัดมาแต่ ๑๐ รายการแรกที่ประกาศขายในวันที่ ๘ มกราคม, ดังนี้ :
“๑. ขันทองลายพระพุทธรูป หนักประมาณ ๖๕๕ กรัม ๑ ขัน, ๒. พานลาวทอง หนักประมาณ ๕๔๕ กรัม ๑ พาน, ๓. กะโถนทองคำลงยาปากกะจับ หนักประมาณ ๒๖๕ กรัม ๑ ใบ, ๔. ขันทองคำลงยามีพานทองคำลงยารอง หนักประมาณ ๔๘๕ กรัม ๑ ที่, ๕. กล่องหมากทองคำหลังมีตราจุลจอมเกล้า จ.ป.ร.ประดับเพ็ชร์ ๑ ดวง หนักประมาณ ๘๘ กรัม รวม ๒ สิ่ง, ๖. พานทองคำลงยามีโถปริก ๗, ปริกทองคำลงยา ๑ หนักประมาณ ๑,๑๗๕ กรัม ๑ ที่, ๗. พานทองคำลงยากลีบบัวลายเทพพนม หนักประมาณ ๑,๒๘๕ กรัม ๑ พาน, ๘. หีบบุหรี่ทองคำรูปสี่เหลี่ยมมีประดับพลอยสีต่างๆ ทั่วทั้งหีบ มีเท้าสี่เท้า หนักประมาณ ๑,๔๘๐ กรัม ๑ หีบ, ๙. ซองบุหรี่ทองคำฝาด้านหนึ่งฝังเพ็ชร์ทั้งลูก ๔ เม็ด กับทับทิมเป็นขอบรอบ จารึกว่า “สุขุมาลย์มารศรี” หนักประมาณ ๑๖๓ กรัม ๑ ซอง, ๑๐. กฤชด้ามและฝักทองคำด้ามเป็นหัวนกหนักประมาณ ๓๖๕ กรัม ๑ เล่ม ฯลฯ”
อย่างไรก็ตาม, ในชั้นสุดท้ายการขายทอดตลาดก็มิได้เกิดขึ้น. หลังจากที่หนังสือพิมพ์ข่าวภาพ และศรีกรุง ได้ลงประกาศแจ้งความติดต่อกันมาหลายวันแล้วนั้นเอง ทางกองบังคับคดีฯ ก็มีหนังสือลงวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๔๘๔ ขอให้ศรีกรุงระงับการลงแจ้งความในวันที่ ๓๑ ธันวาคมเสีย และให้หนังสือพิมพ์ประชาชาติที่จะรับช่วงลงแจ้งความในวันที่ ๑, ๒, และ ๓ มกราคม ยกเลิกการลงแจ้งความนั้นเสียทั้ง ๓ วัน.
ในวันที่ ๕ มกราคม ๒๔๘๕ ทางกองบังคับคดีทางแพ่งก็ออกประกาศตามมาอีกฉบับหนึ่ง, ดังนี้ :
(ครุฑ)
ประกาศกองบังคับคดีทางแพ่ง
ด้วยเจ้าพนักงานบังคับคดีจะงดการขายทอดตลาดทรัพย์ในคดีระหว่าง กระทรวงการคลัง โจทก์ สมเด็จพระปกเกล้าฯ จำเลย ซึ่งกำหนดขายเริ่มแต่วันที่ ๘ มกราคม ๒๔๘๕ เป็นต้นไปนั้น ไว้จนกว่าจะได้ประกาศให้ทราบภายหลัง
ประกาศมา ณ วันที่ ๕ มกราคม ๒๔๘๕
สารกิจปรีชา
หัวหน้ากองบังคับคดีทางแพ่ง
นับแต่วันที่มีประกาศงดการขายเป็นต้นมาก็มิได้มีประกาศใดตามหลังมาอีก. นอกจากจะสันนิษฐานเอาว่าประเทศกำลังอยู่ในภาวะสงครามแล้ว, เราก็ไม่ทราบเหตุผลอื่นใดอีกที่ทำให้รัฐบาลตัดสินใจไม่นำทรัพย์สินเหล่านั้นมาขายทอดตลาด. อย่างไรก็ตาม, ในเวลานั้นวังศุโขทัยก็ตกเป็นของรัฐแล้ว. ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๔๘๕ เป็นต้นไปกระทรวงสาธารณสุขซึ่งเพิ่งตั้งขึ้นใหม่ก็ได้ขอเช่าวังแห่งนี้จากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ (ในอัตราเดือนละ ๕,๐๐๐ บาท) เพื่อใช้เป็นที่ทำการ จนกระทั่งย้ายออกไปในอีกแปดปีต่อมา.

จากวันที่ศาลได้พิพากษาให้ทรงแพ้คดีมาจนสิ้นสงคราม, เหตุการณ์ก็เปลี่ยนแปลงไป.
ในหนังสือเจ้าฟ้าประชาธิปก ราชันผู้นิราศ ของเขา, “นายหนหวย” ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า :
“วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๘๙ ขณะนั้นเป็นรัฐบาลของพลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รัฐบุรุษอาวุโสได้บันดาลให้เกิดสัญญาประนีประนอมประวัติศาสตร์ขึ้นระหว่างรัฐบาลกับจำเลยที่ ๒ ในคดีที่รัฐบาลเป็นโจทก์ยื่นฟ้องคือสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี และกองมรดกผลประโยชน์ทั้งหลายของเจ้าฟ้าประชาธิปก มีสาระสำคัญว่า บรรดาทรัพย์สินและหนี้สินทั้งหลายที่ผูกพันกันอยู่นั้น เป็นอันให้เลิกแล้วต่อกัน รัฐบาลได้มาแล้วเท่าไรก็เอาเท่านั้น
นอกจากนี้นายปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน รัฐบุรุษอาวุโสยังได้แสดงความจริงใจเปิดเผยต่อบุคคลหลายคนและหนังสือพิมพ์ว่า จะคืนวังศุโขทัยที่ตกเป็นของรัฐตามคำพิพากษาคืนให้แก่จำเลยที่ ๒ ซึ่งยังดำรงพระชนมชีพอยู่ ยิ่งไปกว่านี้ในฐานะผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน นายปรีดี พนมยงค์ ดำริจะอัญเชิญพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกลับคืนประเทศไทย ได้มีการติดต่อเป็นทางการสมานรอยร้าวในอดีตกับสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีเป็นที่เรียบร้อยและรู้กันทั่วไป”
อันที่จริง, นอกจากเรื่องจะอัญเชิญพระบรมอัฐิกลับเมืองไทยแล้ว นายปรีดียังมีปรารถนาให้สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีทรงเข้ามาเป็นประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์คณะใหม่ด้วย. อย่างไรก็ตาม, ความพยายามของนายปรีดี พนมยงค์ ก็ไม่ประสบผล. การรัฐประหารในเดือนพฤศจิกายน ๒๔๙๐ โดยพลโทผิน ชุณหะวัน กับพรรคพวกทำให้นายปรีดีต้องลี้ภัยไปต่างประเทศ และไม่มีโอกาสกลับมามีบทบาททางการเมืองอีก.
สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีได้ทรงอัญเชิญพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกลับถึงประเทศไทยในวันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๒ ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม. และหลังจากที่กระทรวงสาธารณสุขได้ย้ายออกไปในเดือนพฤศจิกายน ๒๔๙๓ แล้ว, ทางราชการก็ได้ถวายวังศุโขทัยคืนแด่สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีเพื่อเป็นที่ประทับต่อไป.
การที่รัฐบาลถวายวังศุโขทัยคืนนี้มิได้มีผู้ใดคัดค้าน. อย่างไรก็ตาม, อีกหลายสิบปีต่อมาคุณหญิงมณี สิริวรสาร ได้ “บันทึก” สถานะของวังนี้ไว้โดยตั้งใจจะให้ “เป็นประวัติศาสตร์” ที่คนทั่วไปพึงได้รับรู้, ว่า :
“ดิฉันต้องขอบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ว่า ตามพระราชพินัยกรรมของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ซึ่งได้ทรงยกร่างไว้ก่อนเสด็จฯ ออกจากประเทศไทยนั้น พระองค์ท่านได้ทรงยกวังศุโขทัยซึ่งเป็นที่ประทับและพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ก่อนเสด็จขึ้นครองราชย์ มอบให้พระองค์เจ้าจิรศักดิ์ฯ องค์เดียวอย่างสิ้นเชิง โดยมีเงื่อนไขว่า ให้สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีทรงมีสิทธิประทับได้ตลอดพระชนมชีพ เมื่อสวรรคตแล้วให้วังศุโขทัยตกเป็นของพระองค์เจ้าจิรศักดิ์ฯ หรือทายาทของพระองค์เจ้าจิรศักด์ฯ โดยสิทธิขาด”
หากจะให้ “ประวัติศาสตร์” ชัดเจนยิ่งขึ้น เราก็ต้องขยายความว่า, “ทายาทของพระองค์เจ้าจิรศักดิ์ฯ” ก็คือ “หม่อมมณี” หรือที่จะรู้จักกันในเวลาต่อมาในนามของคุณหญิงมณี สิริวรสาร นั่นเอง!

หลังจากที่เสด็จกลับมาประทับ ณ วังศุโขทัยแล้ว สิ่งต่อมาที่สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีต้องทรงกระทำก็คือ จัดการแบ่งพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์นั้นให้เป็นไปตามพระราชพินัยกรรมที่ทรงทำไว้แต่ก่อน. ผู้ที่อยู่ในฐานะทายาทมีส่วนแบ่งในพระราชทรัพย์นั้นคือสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี กับพระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาต พระราชโอรสบุญธรรม. อย่างไรก็ตาม, ในเวลานั้นพระองค์เจ้าจิรศักดิ์ฯ ได้สิ้นพระชนม์ไปแล้ว เพราะฉะนั้นผู้ที่จะมีส่วนแบ่งในพระราชทรัพย์นั้นคือ “หม่อมมณี”.
เราไม่ทราบว่าในการทำพระราชพินัยกรรมนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะได้ทรงปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายท่านใด หรือว่าทรงกำหนดไปตามพระราชดำริของพระองค์เอง, แต่การณ์ก็เป็นไปอย่างที่หม่อมเจ้าอุปลีสาณ ชุมพล ผู้จัดการพระราชมรดกนั้นทรงกล่าว คือ พระราชพินัยกรรมส่วนมากเป็นโมฆะ เพราะขัดกับหลักกฎหมายไทย. ในชั้นสุดท้ายท่านผู้จัดการพระราชมรดกก็ต้องใช้วิธีแบ่งพระราชทรัพย์ทั้งหมด-เว้นแต่วังศุโขทัย-ออกเป็นสองส่วน และใช้วิธีการจับสลาก.
คุณหญิงมณีเล่าถึงการแบ่งพระราชทรัพย์ในคราวนั้นไว้ดังนี้ :
“เมื่อไปถึงวังศุโขทัยและก่อนที่จะมีการจับสลากท่านอุปลีสาณได้พาดิฉันไปในห้องที่ท่านทรงทำงานอยู่ และยื่นเอกสารที่เป็นสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างสมเด็จฯ และดิฉัน ให้ดิฉันลงนามในสัญญาซึ่งมีข้อความว่า ในการแบ่งพระราชมรดกของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ระหว่างสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีและดิฉัน ซึ่งเป็นผู้แทนของพระองค์จิรศักดิ์ฯ นั้น ดิฉันให้สัญญาว่าจะยอมทำตามเงื่อนไขของสัญญา…
ที่ดินที่ต้องจับสลากมีอยู่ด้วยกัน ๒๒ แปลง แต่เหลือ ๒๐ แปลง เพราะเหตุว่ามี ๒ แปลงที่สมเด็จฯ ไม่มีพระราชประสงค์ให้จับสลาก คือแปลงที่เป็นที่ดินและสิ่งก่อสร้างอยู่หลังวังศุโขทัย ซึ่งมีโกดัง ๒ หลังสำหรับเก็บของ มีที่พักของพระญาติบางองค์และบริวารของสมเด็จฯ อาศัยอยู่ และเป็นที่ดินที่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา และเนื่องด้วยดิฉันเองก็อยากได้ที่ดินเปล่าไว้ปลูกบ้าน สมเด็จฯ จึงทรงมีรับสั่งให้แลกเปลี่ยนกัน คือดิฉันได้รับที่ดินเปล่า ๑๐ ไร่ที่ถนนเพลินจิตแทนที่ดินแปลงนี้ ซึ่งสมเด็จฯ ก็ทรงพอพระทัยมากที่ที่ดินติดกับวังศุโขทัยได้มาเป็นกรรมสิทธิ์ของพระองค์
ส่วนอีก ๒๐ แปลงนั้นหม่อมเจ้าอุปลีสาณทรงเตรียมสลากไว้ในพานทองและทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จฯ ทรงจับก่อน ๑๐ ครั้ง เมื่อทรงจับแล้วสลากที่เหลือก็เป็นของดิฉัน โฉนดที่ดินที่มีราคาแพงที่สุดเป็นที่ดินถนนทรงวาด ตำบลราชวงศ์ มีที่ดินประมาณสามไร่ ซึ่งสมเด็จฯ ทรงจับได้ และทุกคนที่วังศุโขทัยก็แสดงความดีใจที่สมเด็จฯ ทรงจับสลากที่ดินที่ดีที่สุดตรงถนนทรงวาดไว้ได้ ส่วนดิฉันได้สลากที่ดินที่มีค่ารองลงมา เป็นที่ดินเจ็ดไร่ครึ่ง ซึ่งเป็นโรงสีและตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งมีค่าและราคาไล่เลี่ยกับที่ถนนทรงวาด
ที่ดินอีกแปลงหนึ่งที่ถือว่ามีราคามาก เป็นที่ดินมีตึกแถวที่คลองหลอด มีเนื้อที่ ๒๐ ไร่ ตัดแบ่งคนละครึ่ง ซึ่งสมเด็จฯ ทรงได้ ๑๐ ไร่ ที่อยู่ข้างโรงเรียนราชินี ส่วนดิฉันได้ ๑๐ ไร่ ที่ติดกับบ้านหม้อ ต่อไปเป็นตึกใหญ่สองแห่ง สมเด็จฯ ทรงจับได้ตึกใหญ่หลังแรกที่ถนนเพชรบุรี ส่วนดิฉันได้ตึกที่ถนนพญาไท ทั้งสองตึกนี้เจ้าของเดิมเป็นขุนนางที่ได้นำมาจำนองไว้กับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ในที่สุดก็หลุดและตกมาเป็นกรรมสิทธิ์ของพระองค์ การจับสลากที่ดินได้ดำเนินไปจนจบสิ้นในเวลาไม่ถึงชั่วโมง
ต่อมาเป็นเรื่องของการแบ่งสังหาริมทรัพย์ ซึ่งสิ่งของทั้งหมดเป็นทรัพย์สินที่อยู่ในวังศุโขทัยแต่เดิม อาทิ เครื่องเรือน ถ้วยชาม พระพุทธรูป กระถางต้นไม้ ของกระจุกกระจิก และของขวัญที่มีผู้ทูลเกล้าฯ ถวายในหลวงรัชกาลที่ ๗ ท่านผู้จัดการผลประโยชน์ได้วางสิ่งของเหล่านี้เรียงรายไว้ แล้วทูลเชิญสมเด็จฯ ให้ทอดพระเนตร ถ้าทรงมีพระราชประสงค์สิ่งใดแล้วก็ทรงหยิบออกไปวางไว้ทางหนึ่ง แล้วให้ดิฉันเลือกเช่นเดียวกัน ส่วนที่เหลือก็ให้พ่อค้าจีนหลายรายมาจากบ้านหม้อมาคอยตีราคาประมูลกัน ใครประมูลได้ราคาสูงก็เป็นเจ้าของไป
วันหนึ่งๆ เราได้เงินสดจากการจำหน่ายสิ่งเหล่านี้เป็นจำนวนมากพอใช้ พอจบแล้วสมเด็จฯ และดิฉันก็รับแบ่งไปคนละครึ่ง ข้าวของในวังศุโขทัยมีมากมาย และการแบ่งด้วยวิธีนี้ได้ดำเนินไปถึงสามวันเต็มๆ…
เป็นเวลาสามวันติดๆ กันที่ดิฉันนั่งรถออกจากบ้านไปดีมาดีพร้อมกับขุนเจนฯ กับเด็กรับใช้อีกหนึ่งคน และทุกวันเราก็ขนของที่เลือกไว้ใส่รถกลับบ้าน…”
นั่นคือสามวันสุดท้ายของเรื่องราวเกี่ยวกับพระราชทรัพย์ในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เพราะจากนั้นมาก็มิได้มีพระราชทรัพย์ใดอยู่ในพระนามของพระองค์อีก.































สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

หมายเหตุ : หากบทความนี้มีประโยชน์ต่อสาธารณะประการใด ขอมอบเป็นการแสดงความนับถือต่อ ผศ.ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ และ คุณจิตรา คชเดช


ช่วงวันอาสาฬหบุชาที่ผ่านมา ที่การชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยบริเวณสะพานมัฆวาณ ได้เกิดเหตุการณ์ซึ่งผมเห็นว่าน่าสนใจและมีความสำคัญอย่างมาก นั่นคือ สนธิ ลิ้มทองกุล ผู้นำพันธมิตร ได้นำเทปบันทึกพระสุรเสียงของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ มาเปิดให้ร่วมชุมนุมฟัง หลังจากนั้น ได้เสนอการ “ตีความ” เนื้อหาในบันทึกพระสุรเสียงนั้น ผมเห็นว่า ในทุกด้านที่เพิ่งกล่าวมานี้ – ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาในบันทึกพระสุรเสียง, การตีความของสนธิ และข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบันทึกพระสุรเสียงเท่าที่มีการเปิดเผยหรือที่แม้ไม่มีการเปิดเผยแต่เป็นคำถามที่ย่อมเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ – เหล่านี้ ล้วนมีความน่าสนใจและสำคัญทั้งสิ้น ยิ่งเมื่อพิจารณาโดยคำนึงถึงภูมิหลังบางอย่างเกี่ยวกับการชุมนุมของพันธมิตรที่ผ่านมา (เช่นกรณี “ผ้าพันคอสีฟ้า”) ดังที่ผมจะอภิปรายต่อไป

แต่ก่อนอื่น ผมขอเล่าเหตุการณ์ดังกล่าว ดังต่อไปนี้ โดยผมจะจำกัดการแสดงความเห็นของผมให้น้อยที่สุด จะเน้นเฉพาะการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์เท่านั้น

ค่ำวันพุธที่ 16 กรกฎาคม ในระหว่างการปราศัยประจำวันนั้น สนธิได้กล่าวต่อผู้ร่วมชุมนุมว่า (การถอดเทปและเน้นคำเป็นของผม)

พี่น้องครับ วันพรุ่งนี้เป็นวันอาสาฬหบูชา อยากให้พี่น้องมากันเยอะๆ พรุ่งนี้ผมมีดีวีดีเทปเสียง พิเศษสุด พี่น้องรู้มั้ยว่า สมเด็จพระนางเจ้าเรานี้ สอนธรรมะด้วย แต่พระองค์ท่านไม่เคยแสดงออกในที่สาธารณะ เทปธรรมะที่เราได้นั้นเป็นเทปธรรมะที่สมเด็จพระนางเจ้า สอนอยู่ในวัง สอนกับข้าราชบริพาร สง่างาม สวยงาม ลึกซึ้ง พรุ่งนี้ผมจะเอามาเปิดให้ฟัง 2 เรื่อง เรื่องแรกคือเรื่อง “มหามิตร” เรื่องที่สอง คือ เรื่อง “ปาฏิหาริย์ของพระธรรมวินัย” ซึ่งทั้ง 2 เรื่องนั้นประยุกต์เข้าได้กับชีวิตจริงอย่างยิ่ง พรุ่งนี้พี่น้องมากัน เราจะเวียนเทียนพรุ่งนี้ เราไม่เดินเวียนเทียน พี่น้องเอาเทียนมาคนละเล่ม เราจะจุดเทียนหลังจากที่ฟังเทปของสมเด็จพระนางเจ้าเสร็จ เราจะจุดเทียนเพื่อทำเป็นพุทธบูชา และขณะเดียวกัน เราจะจุดเทียนเพื่อถวายพระพรให้กับสมเด็จพระนางเจ้า ล่วงหน้า ก่อนวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 12 สิงหาคม พี่น้องอย่าลืมนะครับพรุ่งนี้ [เสียงปรบมือ] 1




วันต่อมาวันอาสาฬหบูชา พฤหัสที่ 17 กรกฎาคม ช่วงประมาณ 19 นาฬิกา สนธิในชุดเสื้อขาวกางเกงขาวได้ขึ้นไปบนเวที เขาเริ่มต้นด้วยการประกอบพิธีจุดธูปเทียนไหว้พระและนำสวดมนต์ (บนเวทีมีการจัดโต๊ะหมู่บูชาพระ จอผ้าขนาดใหญ่ด้านหลังเวทีได้รับการฉายภาพนิ่งพระพุทธรูปขนาดใหญ่) หลังจากนั้น เขาได้ชี้แจงว่า ไม่สามารถนิมนต์พระรูปใดมาเทศน์ได้ โดยเฉพาะ ว.วชิระเมธี (ซึ่งมีข่าวก่อนหน้านี้ว่า อาจจะมาปรากฏตัว) “ท่านบอกว่า พระมหาเถระชั้นผู้ใหญ่แจ้งท่านมาว่า ไม่ควรมาขึ้นเวที เพราะนี่เป็นเวทีการเมือง” สนธิ กล่าวต่อไปว่า

ผมก็เลยเผอิญโชคดี เหมือนกับว่า ทุกสิ่งทุกอย่าง ธรรมะจัดระเบียบ ได้เทปดีวีดี ซึ่งเป็นพระสุรเสียงขององค์สมเด็จพระนางเจ้า ที่พระองค์ท่านได้อัดเทป เป็นการส่วนพระองค์ โดยที่ไม่มีใครอยู่ด้วย พระองค์อัดเสียงของพระองค์ท่านเอง ในเรื่องของพระอานนท์ พระอนุชา กระผมได้เลือกมา 2 ตอน ให้พ่อแม่พี่น้องได้เห็นกันนะครับ ได้ฟังกัน ตอนนึงคือเรื่อง “มหามิตร” ซึ่งประเดี๋ยวกระผมจะเปิดให้พ่อแม่พี่น้องฟัง ขอให้ตั้งใจฟังกันนิดนึง ขอให้ใช้ความสงบ 17 นาที ดื่มด่ำกับพระสุรเสียงของพระองค์ท่าน และขณะเดียวกัน ก็สามารถที่จะเข้าใจ ในเรื่องราวต่างๆที่พระองค์ท่านเล่าให้ฟัง เสร็จแล้วผมเองจะมาขยายความ ในความหมายของ “มหามิตร” ที่พระองค์ท่านได้ตรัสออกมานะครับ ซี่ง “มหามิตร” อันนี้สามารถประยุกต์เข้ากับเหตุการณ์บ้างเมืองในปัจจุบันได้อย่างสมบูรณ์แบบ เป็นเรื่องที่น่ามหัศจรรย์มาก

อันที่ 2 นั้น ผมจะขึ้นเวทีอีกครั้งตอนหลังเที่ยงคืน ก็คือช่วงล่วงเวลาเข้าวันเข้าพรรษา ก็จะเอาเทป ที่สมเด็จพระนางเจ้า ไม่เคยเผยแพร่ออกไปที่ไหนเลย มาเปิดให้ฟัง คือเรื่อง “ความมหัศจรรย์ของพระธรรมวินัย” ซึ่งนัยยะของ “ความมหัศจรรย์พระธรรมวินัย” ที่พระองค์ท่านได้อ่านให้พวกเราฟังนั้น ก็มีความหมายทางการเมืองสูงส่ง ผมอ่านแล้ว ผมฟังแล้ว ผมมหัศจรรย์มากว่า ทำไมมันทันสมัยเช่นนี้ พี่น้องต้องตั้งใจฟัง เพราะว่า 2 เรื่องนี้ อธิบายความเหตุการณ์ในบ้านเมืองได้หมด ทั้งๆที่เป็นเรื่องที่ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสเอาไว้เมื่อ 2500 กว่าปีที่แล้ว แต่ว่ามาประยุกต์เหตุการณ์ได้ลงตัวอย่างแม่นยำที่สุด ทั้งๆที่เป็นเรื่องพระธรรมวินัยนะครับ2

น่าสังเกตว่า คำอธิบายของสนธิในครั้งนี้เรื่องความเป็นมาของเทปพระสุรเสียง อาจจะแตกต่างกับคำอธิบายของเขาในวันก่อนหน้านั้น คือจากเดิมที่กล่าวว่า “เป็นเทปธรรมะที่สมเด็จพระนางเจ้า สอนอยู่ในวัง สอนกับข้าราชบริพาร” กลายมาเป็น “พระองค์ท่านได้อัดเทป เป็นการส่วนพระองค์ โดยที่ไม่มีใครอยู่ด้วย พระองค์อัดเสียงของพระองค์ท่านเอง” ซึ่งถ้าเป็นกรณีหลังนี้ ก็จะยิ่งชวนให้ถามว่า พระสุรเสียงที่ทรง “อัดเทปเป็นการส่วนพระองค์ โดยไม่มีใครอยู่ด้วย” นั้น สามารถมาอยู่ในมือของสนธิได้อย่างไร?

หลังจากนั้น สนธิได้อธิบายความสำคัญของวันอาสาฬบูชา และความหมายของอริยสัจสี่และมรรคแปด (ซึ่งเขาได้ถือโอกาสโจมตีสมัครและ “นักการเมืองขี้ฉ้อ” ว่าทำผิดพระธรรมคำสอนเหล่านี้ทีละข้อๆอย่างไร) ทั้งหมดนี้ใช้เวลาเกือบ 10 นาที แล้วสนธิได้วกกลับมาที่เทปพระสุรเสียงอีกครั้ง

พี่น้องครับ เดี๋ยวตั้งใจฟังเสียงสมเด็จพระนางเจ้า ซัก 10 กว่านาทีนะครับ อยากจะขอความสงบนิดนึงนะครับ ขอความกรุณา อย่าพูดเล่นกัน เพราะว่า ถ้าเราตั้งใจฟัง เหมือนกับเราปฏิบัติธรรมไปด้วย วันนี้วันอาสาฬหบูชา การตั้งใจฟังของเรา แล้วซึมซับ ซึมทราบ คำพูดสมเด็จพระนางเจ้า ซึ่งพระองค์ท่าน เอามาจากหลักธรรม อันนี้เนี่ย มันยิ่งกว่าการไปเดินเวียนเทียนรอบอุโบสถ ถูกมั้ยถูกพี่น้อง นะครับ เพราะฉะนั้นแล้ว เดี๋ยวผมอาจจะต้องดับไฟ แล้วก็เปิดดีวีดีให้เห็น แล้วก็ฟังเสียงให้ดีๆ พอจบแล้ว กระผมจะขออนุญาตขึ้นมาหาพ่อแม่พี่น้องอีกครั้งนึง เพื่อขยายความในรายละเอียดที่สมเด็จพระนางเจ้า ทรงมีพระเมตตาเปล่งพระสุรเสียงออกมา นะครับ เชิญครับ พ่อแม่พี่น้องครับ3

จากนั้น จอผ้าหลังเวทีได้เปลี่ยนเป็นภาพนิ่งที่มีพระบรมฉายาลักษณ์พระราชินีพร้อมคำบรรยายดังนี้

บันทึกเทปพระสุรเสียง
สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล
อ่านหนังสือธรรมะ “พระอานนท์ พุทธอนุชา”
เนื่องในวโรกาสทรงครองอิสริยยศ
สมเด็จพระราชินี ปีที่ ๕๔
เมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๗



พร้อมกันนั้น ก็มีเสียงดนตรีบรรเลงแบบ “อินโทร” สั้นๆดังขึ้น ไม่ถึง 1 นาที (บอกไม่ได้ว่าเป็นดนตรีที่มาพร้อมดีวีดีหรือเป็นดนตรีที่จัดโดยเวทีพันธมิตรเอง) ตามด้วยพระสุรเสียง กินเวลาประมาณ 16 นาทีเศษ 4

พระสุรเสียงนั้นเป็นพระสุรเสียงที่ทรงอ่านหนังสือเล่มหนึ่งจริงๆ ซึ่งจะเรียกว่าเป็น “หนังสือธรรมะ” ก็อาจจะพอได้ แต่อันที่จริง งานเรื่อง พระอานนท์ พุทธอนุชา ที่ทรงอ่าน “อัดเทปเป็นการส่วนพระองค์ โดยไม่มีใครอยู่ด้วย” นี้ เป็นเรื่องแต่งหรือนิยาย ของ วศิน อินทสระ (วศินเองเรียกงานของเขาว่า “ธรรมนิยาย”) งานนี้ได้รับการตีพิมพ์เป็นตอนๆ ใน สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ แล้วรวมพิมพ์เป็นเล่มครั้งแรก กลางปี 2509 5 และได้รับการพิมพ์ซ้ำเรื่อยมาจนปัจจุบัน (ฉบับที่ผมเคยเห็นล่าสุดคือ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 9 ปี 2540) เป็นงานที่เรียกได้ว่า “ป๊อบปูล่า” (ได้รับความนิยม) มากทีเดียวในหมู่ผู้สนใจพุทธศาสนา ทุกวันนี้ มีการนำตัวบทงานนี้ทั้งเล่มขึ้นเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับศาสนาพุทธหรือเว็บไซต์ส่วนตัวหลายแห่ง ยิ่งกว่านั้น ยังมีการบันทึกเสียงอ่านงานนี้ในลักษณะคล้ายๆอ่านบทละคร มีการใส่ดนตรีและเสียงประกอบเป็นแบ็คกราวน์บางตอน (เช่นเสียง “ช้างวิ่ง” ในตอน “มหามิตร”) แต่ใช้ผู้อ่านคนเดียวทั้งหมด เสียงอ่านนี้สามารถฟังและดาวน์โหลดได้ฟรีทางเว็บไซต์เช่นกัน 6

มองในแง่หนึ่ง การที่สนธิเสนอว่า “การตั้งใจฟังของเรา แล้วซึมซับ ซึมทราบ คำพูดสมเด็จพระนางเจ้า ซึ่งพระองค์ท่าน เอามาจากหลักธรรม อันนี้เนี่ย มันยิ่งกว่าการไปเดินเวียนเทียนรอบอุโบสถ” ถือเป็นการทำให้ไขว้เขวเข้าใจผิดได้ (misleading) เพราะความจริง เนื้อหาของพระสุรเสียงนี้ ไม่ใช่ “คำ” ของพระองค์เองที่ทรง “เอามาจากหลักธรรม” เป็นแต่เพียงทรงอ่านหนังสือ ซึ่งแม้จะเป็นงานที่พยายามนำเสนอ “หลักธรรม” แต่ถ้ากล่าวอย่างเข้มงวดแล้ว ก็เป็นเพียงเรื่องแต่งหรือนิยาย ซี่งความถูกต้องแน่นอน (authenticity) ของ “หลักธรรม” ที่สอดแทรกอยู่นั้น ยังเป็นเรื่องที่ชวนสงสัยได้ (problematic) ความเป็นนิยายหรือเรื่องแต่งของ พระอานนท์ พุทธอนุชา นี้ วศิน อินทสระ ได้อธิบายเชิงยอมรับไว้ในคำนำของการพิมพ์รวมเล่มครั้งแรกว่า (ขีดเส้นใต้เน้นคำของผม):

เรื่องพระอานนท์ พุทธอนุชา เนื้อหาของเรื่องจริงๆ มีไม่มากนัก ที่หนังสือเล่มใหญ่ขนาดนี้ เพราะการเพิ่มเติมเสริมต่อของข้าพเจ้า ในทำนองธรรมนิยายอิงชีวประวัติ ข้าพเจ้าชี้แจงข้อนี้สำหรับท่านที่ไม่คุ้นกับเรื่องของศาสนานัก อาจจะหลงเข้าใจผิดว่าเป็นเรื่องที่มีหลักฐานทางตำราทั้งหมด สำหรับท่านที่คงแก่เรียนในทางนี้อยู่แล้ว ย่อมทราบดีว่าตอนใดเป็นโครงเดิม และตอนใด แห่งใด ข้าพเจ้าเพิ่มเติมเสริมต่อขึ้น นอกจากนี้ยังมีหลายตอนที่ข้าพเจ้าสร้างเรื่องขึ้นเอง เพียงแต่เอาพระอานนท์ไปพัวพันกับเหตุการณ์นั้นๆ เพื่อให้นิยายเรื่องนี้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น และเห็นว่าไม่เป็นทางเสียหายแต่ประการใด

นี่ไม่ได้หมายความว่า เทปพระสุรเสียงที่สนธินำมาเปิดนี้จะไม่น่าสนใจหรือไม่สำคัญ อันที่จริงอาจจะยิ่งน่าสนใจและสำคัญขึ้นไปอีก แต่ไม่ใช่ในฐานะหลักฐานว่า “สมเด็จพระนางเจ้าเรานี้ สอนธรรมะ” (ดูคำปราศรัยสนธิวันที่ 16 ที่ยกมาตอนต้น) อย่างไรก็ตาม การประเมินความสำคัญของเทปพระสุรเสียงนี้มีข้อจำกัด เนื่องจากข้อมูลที่มีอยู่ไม่ชัดเจน ตั้งแต่ปัญหาพื้นๆ เช่น ที่ว่าทรงอ่าน “บำเพ็ญพระราชกุศล…เนื่องในวโรกาสทรงครองอิสริยยศสมเด็จพระราชินี ปีที่ 54” นั้น เหตุใดจึงเป็นวันที่ 12 สิงหาคม 2547 ไม่ใช่วันที่ 28 เมษายน (วันอภิเษกสมรส)? หรือในทางกลับกัน ถ้านับวันที่ 12 สิงหาคม 2547 เป็นหลัก เหตุใดจึงไม่กล่าวว่า เป็นการ “บำเพ็ญพระราชกุศล…เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา”? แต่ปัญหาสำคัญจริงๆคือ สภาพการณ์ที่ทำให้เทปนี้มาอยู่ในมือสนธิ เช่น จะใช่แบบเดียวกับที่เขาเคยอ้างว่าได้ “ผ้าพันคอสีฟ้า” มาหรือไม่? เป็นต้น (ดูประเด็นนี้ข้างหน้า) ซึ่งจะมีผลต่อการตีความนัยยะของเนื้อหาของพระสุรเสียง

แต่ก่อนอื่น ขอให้เรามาพิจารณาที่ตัวเนื้อหานั้นเอง ในเทปพระสุรเสียงที่สนธินำมาเปิดช่วงแรก พระราชินีทรงอ่าน พระอานนท์ พุทธอนุชา บทที่ 4 “มหามิตร” ทั้งบท แต่ส่วนที่สำคัญจริงๆ ผมคิดว่า คือส่วนแรกสุดของบท ดังนี้ 7

พูดถึงความจงรักภักดี และความเคารพรักในพระผู้มีพระภาค พระอานนท์มีอยู่อย่างสุดพรรณนา ยอมสละแม้แต่ชีวิตของท่านเพื่อพระพุทธเจ้าได้ อย่างเช่นครั้งหนึ่ง พระเทวทัตร่วมกับพระเจ้าอชาตศัตรู วางแผนสังหารพระจอมมุนี โดยการปล่อยนาฬาคิรีซึ่งกำลังตกมันและมอมเหล้าเสีย ๑๖ หม้อ ช้างนาฬาคิรียิ่งคะนองมากขึ้น

วันนั้นเวลาเช้า พระพุทธองค์มีพระอานนท์เป็นปัจฉาสมณะ เข้าสู่นครราชคฤห์เพื่อบิณฑบาต ในขณะที่พระองค์กำลังรับอาหารจากสตรีผู้หนึ่งอยู่นั้น เสียงแปร๋นแปร๋นของนาฬาคิรีดังขึ้น ประชาชนที่คอยดักถวายอาหารแด่พระผู้มีพระภาค แตกกระจายวิ่งเอาตัวรอด ทิ้งภาชนะอาหารเกลื่อนกลาด พระพุทธองค์เหลียวมาทางซึ่งช้างใหญ่กำลังวิ่งมาด้วยอาการสงบ พระอานนท์พุทธอนุชาเดินล้ำมายืนเบื้องหน้าของพระผู้มีพระภาค ด้วยคิดจะป้องกันชีวิตของพระศาสดาด้วยชีวิตของท่านเอง

“หลีกไปเถิด - อานนท์ อย่าป้องกันเราเลย” พระศาสดาตรัสอย่างปกติ

“พระองค์ผู้เจริญ!” พระอานนท์ทูล “ชีวิตของพระองค์มีค่ายิ่งนัก พระองค์อยู่เพื่อเป็นประโยชน์แก่โลก เป็นดวงประทีปของโลก เป็นที่พึ่งของโลก ประดุจโพธิ์และไทรเป็นที่พึ่งของหมู่นก เหมือนน้ำเป็นที่พึ่งของหมู่ปลา และป่าเป็นที่พึ่งอาศัยของสัตว์จตุบททวิบาท พระองค์อย่าเสี่ยงกับอันตรายครั้งนี้เลย ชีวิตของข้าพระองค์มีค่าน้อย ขอให้ข้าพระองค์ได้สละสิ่งซึ่งมีค่าน้อยเพื่อรักษาสิ่งซึ่งมีค่ามาก เหมือนสละกระเบื้อง เพื่อรักษาไว้ซึ่งแก้วมณีเถิดพระเจ้าข้าฯ”

“อย่าเลย อานนท์! บารมีเราได้สร้างมาดีแล้ว ไม่มีใครสามารถปลงตถาคตลงจากชีวิตได้ ไม่ว่าสัตว์ดิรัจฉาน หรือมนุษย์ หรือเทวดา มาร พรหมใดๆ”

ขณะนั้นนาฬาคิรี วิ่งมาจวนจะถึงองค์พระจอมมุนีอยู่แล้ว เสียงร้องกรีดของหมู่สตรีดังขึ้นเป็นเสียงเดียวกัน ทุกคนอกสั่นขวัญหนี นึกว่าครั้งนี้แล้วเป็นวาระสุดท้ายที่เขาจะได้เห็นพระศาสดา ผู้บริสุทธิ์ดุจดวงตะวัน พระพุทธองค์ทรงแผ่เมตตาซึ่งทรงอบรมมาเป็นเวลายืดยาวนานหลายแสนชาติสร้านออกจากพระหฤทัยกระทบเข้ากับใจอันคลุกอยู่ด้วยความมึนเมาของนาฬาคิรี ช้างใหญ่หยุดชะงักเหมือนกระทบกับเหล็กท่อนใหญ่ ใจซึ่งเร่าร้อนกระวนกระวาย เพราะโมหะของมันสงบเย็นลง เหมือนไฟน้อยกระทบกับอุทกธารา พลันก็ดับวูบลง มันหมอบลงแทบพระมงคลบาทของพระศาสดา พระพุทธองค์ทรงใช้ฝ่าพระหัตถ์อันวิจิตร ซึ่งกำลังมาด้วยบุญญาธิการลูบศีรษะของพญาช้าง พร้อมด้วยตรัสว่า

“นาฬาคิรีเอย! เธอถือกำเนิดเป็นดิรัจฉานในชาตินี้ เพราะกรรมอันไม่ดีของเธอในชาติก่อนแต่งให้ เธออย่าประกอบกรรมหนัก คือทำร้ายพระพุทธเจ้าเช่นเราอีกเลย เพราะจะมีผลเป็นทุกข์แก่เธอตลอดกาลนาน”

นาฬาคิรีสงบนิ่งอยู่ครู่หนึ่ง แล้วใช้งวงเคล้าเคลียพระชงฆ์ของพระผู้มีพระภาค เหมือนสารภาพผิด ความมึนเมาและตกมันปลาสนาการไปสิ้น

นี่แล พุทธานุภาพ !!

ประชาชนเห็นเป็นอัศจรรย์ พากันสักการบูชาพระศาสดาด้วยดอกไม้และของหอมจำนวนมาก


พระพุทธเจ้า=ในหลวง, เทวทัต/อชาตศัตรู/ช้างเมาตกมัน/ภิกษุผู้ไม่บริสุทธิ์=ทักษิณ?
ไม่เป็นการยากที่จะเห็นว่าประเด็น (theme) สำคัญของนิยายตอนนี้ คือความจงรักภักดี พร้อมจะเสียสละแม้แต่ชีวิตตนเองของพระอานนท์ เพื่อป้องกันภัยทีกำลังจะมีต่อพระพุทธเจ้า ปัญหาคือ “ความหมายของ ‘มหามิตร’ ที่พระองค์ท่าน [พระราชินี] ได้ตรัสออกมา….สามารถประยุกต์เข้ากับเหตุการณ์บ้างเมืองในปัจจุบันได้อย่างสมบูรณ์แบบ” ดังที่สนธิอ้างหรือไม่? และการ “ประยุกต์” (ตีความ) ดังกล่าว ถ้าทำได้จริง เป็นเรื่องของสนธิและพันธมิตรเองเท่านั้นหรือไม่? หรือจะเกี่ยวข้องกับคำถามที่ยังไม่มีคำตอบว่าเทปพระสุรเสียงที่ทรงบันทึก “เป็นการส่วนพระองค์….ไม่เคยเผยแพร่ออกไปที่ไหนเลย” มาอยู่ในมือและเผยแพร่ในการชุมนุมของพันธมิตรได้อย่างไร?

สนธิก้าวขึ้นเวทีอีกครั้งหลังเทปพระสุรเสียงอ่าน “มหามิตร” จบลง (จอภาพหลังเวทีเปลี่ยนกลับเป็นรูปพระพุทธรูป) เขาเริ่มต้นด้วยการสดุดีความ “รู้ลึก” ในพุทธศาสนาของพระราชินี ดังนี้

พ่อแม่พี่น้องครับ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เป็นผู้ซึ่งรู้ลึกในเรื่องพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ท่านทรงสนใจในพุทธศาสนาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ทำบุญตักบาตร ทรงบาตรทุกเช้า ตกค่ำสวดมนต์ไหว้พระ พระรัตนตรัย ทรงจัดดอกไม้ที่ห้องพระด้วยพระองค์เอง ตั้งแต่ยังเป็นเด็กจนกระทั่งทุกวันนี้ พระองค์ท่านสนใจพุทธศาสนาโดยมีหลัก 3 ประการที่พระองค์ท่านยึดถือและปฏิบัติ ประการแรก พระองค์ท่านทรงเทิดทูนองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่เป็นผู้ประทานองค์ความรู้และความรู้ทางด้านพระพุทธศาสนาให้พระองค์ท่านมาตลอด ประการที่สอง พระองค์ใฝ่ใจในการฟังเทปธรรมะ ตลอดจนสนทนาธรรม กับพระมหาเถระ พระอริยสงฆ์ ไม่ว่าจะเป็นองค์หลวงตามหาบัวญาณสัมปันโน สมเด็จญาณ พระองค์ท่านให้สร้างที่พักของสมเด็จญาณ ในป่าข้างๆพระราชวัง ภูพิงค์ราชนิเวศน์ และภูพานราชนิเวศน์ เพื่อให้สมเด็จพระสังฆราชไปปฏิบัติธรรม และพระองค์ท่านจะได้เสด็จไปสนทนาธรรมด้วย พระองค์ท่านสนใจในหนังสือธรรมะ อนุสาวรีย์พระองค์ท่านชอบเสด็จไปเยือนตลอดเวลาก็คือ พิพิธภัณฑ์ของหลวงปู่มั่น หลวงปู่ฟั่น หลวงปู่วัน 3 ประการนี้ทำให้แม่ของแผ่นดินองค์นี้มีความรู้ลึกซึ้งในหลักธรรมของพุทธศาสนา

ทั้งหมดนี้เหมือนเป็นเหตุผลรองรับให้กับการชักชวนผู้ฟังในประโยคถัดไป

พี่น้องครับ เรื่อง “มหามิตร” ที่พระองค์ท่านได้เปล่งพระสุรเสียง เล่าให้พวกเราฟังนั้น นัยยะที่แท้จริงอยู่ตรงไหน พี่น้องฟังให้ดีๆ

หลังจากนั้น สนธิได้สรุปและอ่านจาก “มหามิตร” ตอนที่พระอานนท์เข้าขวางหน้าช้างนาฬาคีรี (ย่อหน้าที่พระอานนท์ทูลพระพุทธเจ้าที่ผมขีดเส้นใต้เน้นคำข้างบน) แล้วเปรียบเทียบว่าเหมือนกับการเคลื่อนไหวของพันธมิตรโดยตรง:

การเสียสละเพื่อมิตร เสียชีวิตเพื่อคนที่เราจงรักภักดี เหมือนอะไร? เหมือนกับที่พวกเราประชาชนคนไทยแสดงความจงรักภักดีต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระราชินี….. พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่มีจากร้อยพ่อพันแม่ ต่างเผ่าต่างพันธุ์ แต่เรามาร่วมกันทำความดี ใช่มั้ย เพื่อถวายความจงรักภักดีให้กับองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ปรบมือให้กับตัวเองหน่อยเถอะครับ [ผู้ชุมนุมปรบมือ]

ตอนท้าย สนธิได้นำผู้ชุมนุมจุดเทียน “ถวายเป็นพระพรให้กับองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และที่สำคัญ ถวายพระพรล่วงหน้าให้กับองค์สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เนื่องในพระราชสมภพในวันที่ 12 สิงหาคมนี้”


การเชื่อมโยงเรื่องเล่าโดยพระสุรเสียงพระราชินีเข้ากับการชุมนุมพันธมิตรของสนธิ มีขึ้นอีกครั้งในเวลาเที่ยงคืน คราวนี้ สนธิได้เปิดเทปพระสุรเสียงอ่าน พระอานนท์ พุทธอนุชา บทที่ชื่อ “ความอัศจรรย์แห่งธรรมวินัย” (บทที่ 21 ในหนังสือ พระสุรเสียงที่นำมาเปิดเป็นเพียงช่วงที่ทรงอ่านตอนกลางของบทเท่านั้น) ดังนี้8

วันหนึ่งเป็นวันอุโบสถ พอพระอาทิตย์ตกดิน พระสงฆ์ทั้งมวลก็ประชุมพร้อมกัน ณ อุโบสถาคาร เพื่อฟังพระโอวาทปาฏิโมกข์ ซึ่งพระพุทธองค์ทรงแสดงเองทุกกึ่งเดือน พระมหาสมณะเจ้าเสด็จสู่โรงอุโบสถ แต่ประทับเฉยอยู่ หาแสดงพระโอวาทปาฏิโมกข์ไม่ เมื่อปฐมยามแห่งราตรีล่วงไปแล้ว พระอานนท์พุทธอนุชาจึงนั่งคุกเข่าประนมมือถวายบังคมแล้วกราบทูลว่า

“พระองค์ผู้เจริญ! บัดนี้ปฐมยามแห่งราตรีล่วงไปแล้ว ภิกษุทั้งหลายคอยนานแล้ว ขอพระองค์โปรดทรงแสดงปาฏิโมกข์เถิด”

แต่พระพุทธองค์ก็ยังทรงเฉยอยู่ เมื่อมัชฌิมยามแห่งราตรีล่วงไปแล้ว พระอานนท์ก็ทูลอีก แต่ก็คงประทับเฉย ไม่ยอมทรงแสดงพระโอวาทปาฏิโมกข์ เมื่อย่างเข้าสู่ปัจฉิมยาม พระอานนท์จึงทูลว่า

“พระองค์ผู้เจริญ! บัดนี้ปฐมยามและมัชฌิมยามล่วงไปแล้ว ขอพระองค์อาศัยความอนุเคราะห์แสดงโอวาทปาฏิโมกข์เถิด”

พระมหามุนีจึงตรัสว่า “ดูก่อนอานนท์! ในชุมนุมนี้ภิกษุผู้ไม่บริสุทธิ์มีอยู่ อานนท์! มิใช่ฐานะตถาคตจะแสดงปาฏิโมกข์ในท่ามกลางบริษัทอันไม่บริสุทธิ์” ตรัสอย่างนี้แล้วก็ประทับเฉยต่อไป

พระมหาโมคคัลลานะ อัครสาวกเบื้องซ้าย นั่งเข้าฌานตรวจดูว่าภิกษุรูปใดเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์อันเป็นที่รังเกียจของพระศาสดา เมื่อได้เห็นแล้ว จึงกล่าวขึ้นท่ามกลางสงฆ์ว่า “ดูก่อนภิกษุ! ท่านออกไปเสียเถิด พระศาสดาเห็นท่านแล้ว” แม้พระมหาเถระจะกล่าวอย่างนี้ ถึง ๓ ครั้ง ภิกษุรูปนั้นก็ไม่ยอมออกไปจากชุมนุมสงฆ์ พระมหาโมคคัลลานะจึงลุกขึ้นแล้วดึงแขนภิกษุรูปนั้นออกไป

ถึงจุดนี้ คงไม่เป็นการยากที่จะเดาว่า สนธิจะอธิบายพระสุรเสียงตอนนี้ให้เข้ากับเหตุการณ์ปัจจุบันอย่างไร เขากล่าวทันทีหลังพระสุรเสียงจบลงว่า

พ่อแม่พี่น้องครับ ธรรมะข้อนี้มีนัยยะสำคัญมากที่สุด ที่ผมอยากจะมากล่าวกับพ่อแม่พี่น้อง และขอให้พ่อแม่พีน้องตั้งใจฟังนั้น เพราะว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยก่อนพุทธกาล กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พุทธศักราช 2551 นั้นเหมือนกัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้นทรงเปรียบเหมือนพระพุทธเจ้า ….. การที่พระพุทธเจ้าไม่แสดงโอวาทปาฏิโมกข์นั้น ก็เพราะว่าในบรรดาบริษัทพระภิกษุที่นั่งอยู่นั้น มีภิกษุองค์หนึ่งซึ่งทุศีล เปรียบเสมือนสังคมซึ่งมีคนไม่ดีอยู่…ต้องรอจนกว่าเราเนี่ยต้องกำจัดเอาคนไม่ดีหรือคนชั่วออกไปซะ…. กรณีนี้ ที่ประชุมสงฆ์มีเพียงพระสงฆ์ที่ทุศีลอยู่เพียงรูปเดียว พระพุทธเจ้าก็ไม่แสดงธรรมแล้ว ทีนี้เกิดอะไรขึ้น? พระโมคคัลลานะ อัครสาวกทางซ้าย…พระพุทธเจ้าทรงมีอัครสาวก 2 ข้าง ซ้ายและขวา พระสาลีบุตรอยู่ขวา พระโมคคัลลานะอยู่ซ้าย พระโมคคัลลานะ คือพระผู้มีฤทธิ์มีปาฏิหาริย์ ถ้าพระพุทธเจ้าต้องการให้สร้างปาฏิหาริย์ หรือให้ใช้ฤทธิ์ พระองค์ท่านก็จะบอกให้พระโมคคัลลานะเป็นคนทำนะครับ พระโมคคัลลานะอัครสาวกเบื้องซ้ายเป็นผู้คลี่คลายปัญหา … พี่น้องครับ จะเห็นได้ชัดว่า พระพุทธเจ้าทรงทราบดีอยู่แล้วว่าภิกษุรูปนั้นเป็นใคร แต่พระองค์ทรงนิ่งเงียบถึง 3 ครั้ง เพราะ ข้อแรก ให้โอกาสแก่ภิกษุรูปนั้นกลับตัวกลับใจ แต่ภิกษุทุศีลไม่เข้าใจ และคิดว่าการนิ่งเฉยของพระองค์ คือพระองค์ทรงเมตตาแล้วมองไม่เห็นความชั่วของตัวเอง ข้อที่สอง พี่น้องฟังให้ดีๆ พระองค์ไม่ได้อยู่ในสถานะที่จะดำเนินการด้วยพระองค์เอง หน้าที่ในการกำจัดภิกษุทุศีล จึงตกอยู่กับพระมหาโมคคัลลานะที่เป็นบุคคลใกล้ชิดพระองค์และเป็นผู้มีฤทธิ์มาก ดังนั้น ผู้มีฤทธิ์มากสามารถจัดการกับคนชั่วแทนพระองค์ได้ เมื่อมองมาในสังคมไทย…..เราจำได้มั้ยถึงพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่บอกว่า เราต้องกีดกันไม่ให้คนชั่วเข้ามามีอำนาจใช่มั้ย เราต้องให้คนดีเข้ามาปกครองประเทศ เราต้องกำจัดคนชั่ว ถามว่าใครจะเป็นผู้มีหน้าที่กำจัดคนไม่ดีออกไป คำตอบคือต้องเป็นผู้มีฤทธิ์มาก เพราะพระเจ้าอยู่หัวก็เหมือนกับสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ต้องนิ่งเฉย พระองค์ไม่ได้อยู่ในสถานะที่จะมาบอกว่า “ออกไป” หน้าที่นี้ ต้องตกอยู่ที่ผู้มีฤทธิ์ ใช่มั้ย? วันนี้ ผู้มีฤทธิ์นั่งอยู่ที่ไหน? [สนธิขึ้นเสียงตะโกนถาม มีเสียงผู้ชุมนุมตะโกนรับ “ที่นี่”] อยู่ที่ไหน? [“ที่นี่”] อยู่ที่ไหน? [“ที่นี่”] นอกจากผู้มีฤทธิ์ที่นี่แล้ว ทหารก็เป็นผู้มีฤทธิ์เช่นกัน ใช่มั้ย? เพราะฉะนั้นแล้ว ทำไมถึงมีผู้มีฤทธิ์เพียงกลุ่มเดียวเท่านั้นเอง ที่กระทำตนเป็นพระโมคคัลลานะ? ต้องมีพระโมคคัลลานะอีกองค์หนึ่ง ใช่มั้ย ที่เข้ามากำจัดคนชั่วออกไปเช่นกัน? เราต้องกำจัดคนชั่ว แม้มีเพียงคนเดียวก็ต้องเอาออกไป ใช่มั้ยพี่น้อง และนี่คือหลักธรรม ………..

พี่น้องครับ พระธรรมวินัย [?] เรื่องการไม่แสดงโอวาทปาฏิโมกข์ถึง 3 ครั้งอธิบายความได้ชัด พระพุทธเจ้า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็เหมือนพระพุทธเจ้า พระองค์ท่านไม่ได้อยู่สถานะที่จะไปบอกว่าคนนี้ดี คนนี้ชั่ว ใช่มั้ยใช่ แต่พระองค์ทรงทราบด้วยพระทัยของพระองค์เอง ใช่มั้ย ใครทำชั่วอยู่ รัฐบาลทำชั่วอยู่ รัฐมนตรีทำชั่วอยู่ ถวายสัตย์ต่อหน้าพระองค์ท่าน แล้วก็ตระบัดสัตย์วันรุ่งขึ้นทันที อย่าคิดว่าพระองค์ท่านไม่รู้ พระองค์ท่านรู้ แต่ไม่ได้อยู่ในสถานภาพที่พระองค์ท่านจะทำเช่นนั้น เหมือนพระพุทธเจ้าเช่นกัน ใช่มั้ยใช่ พระพุทธเจ้าเมื่อพึ่งพระโมคคัลลานะ เราไม่ได้ถูกแต่งตั้งให้เป็นทหารเสือพระราชา ทหารเสือพระราชินี แต่เราต้องทำหน้าที่เป็นทหารเสือพระราชา ทหารเสือพระราชินี ใช่มั้ยใช่ พี่น้อง และนี่คือหน้าที่ที่พวกเราได้ทำกัน เหมือนกับสมัยก่อนพุทธกาล ที่พระโมคคัลลานะได้ทำแทนพระพุทธเจ้า พวกเราก็ทำแทนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ใช่มั้ยใช่ [เสียงผู้ชุมนุมปรบมือ]

แน่นอน ประเด็น (theme) ที่สนธิพูดนี้ ว่าพวกเขากำลัง “สู้เพื่อในหลวง” ไม่ใช่สิ่งใหม่ การเรียกร้องให้ทหาร “ออกมากำจัดคนชั่ว แทนในหลวง” ก็ไม่ใช่สิ่งใหม่ แต่การได้เทปพระสุรเสียงอ่าน พระอานนท์ พุทธอนุชา ที่ดูเหมือนจะมีเนื้อหาไปในทำนองนี้พอดี (ขับไล่ “ภิกษุผู้ไม่บริสุทธิ์” ออกไปจากที่ประชุมสงฆ์เบื้องพระพักตร์ “พระพุทธเจ้า”) คงจะทำให้ประเด็นนี้มีพลังหรือความหมายมากขึ้นอีกในสายตาของพันธมิตรเอง คงเพิ่มกำลังใจและความหวังในการต่อสู้ให้กับพวกเขาไม่มากก็น้อย ใครก็ตามที่ให้เทปนี้กับสนธิ หวังให้เกิดผลในลักษณะนี้ใช่หรือไม่?


จาก “ผ้าพันคอสีฟ้า” ถึง พระสุรเสียงราชินีบนเวทีพันธมิตร
ลำพังการที่สนธิและเวทีพันธมิตรสามารถเปิดเทปพระสุรเสียงที่ทรงบันทึก “เป็นการส่วนพระองค์…ไม่เคยเผยแพร่ออกไปที่ไหนเลย” ก็นับเป็นเรื่องที่น่าสนใจและมีความสำคัญมากอยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเทปพระสุรเสียงนั้นมีเนื้อหาที่ดูเหมือนจะ “ประยุกต์เข้ากับเหตุการณ์บ้านเมืองปัจจุบัน” ได้ ในแบบที่สนธิทำ การ “ประยุกต์” (ตีความ) เนื้อหาในเทปดังกล่าว เป็นของผู้เปิดเทป คือสนธิเองเท่านั้น หรือของผู้ให้เทปด้วย? ใครเป็นผู้ให้เทปแก่สนธิ?

แต่ทั้งหมดนี้ ยิ่งเพิ่มความน่าสนใจและความสำคัญขึ้น ถ้าเราพิจารณาควบคู่ไปกับภูมิหลังบางอย่างของเหตุการณ์เกี่ยวกับพันธมิตรในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา

ในช่วงเดือนกันยายน 2549 ก่อนการรัฐประหารไม่กี่วัน จู่ๆผู้นำพันธมิตรที่เคยปรากฏตัวในเสื้อเหลือง “เราจะสู้เพื่อในหลวง” ก็ปรากฏตัวต่อสาธารณะโดยมีผ้าพันคอสีฟ้าผืนหนี่งพันอยู่รอบคอด้วย ในหนังสือ ปรากฏการณ์สนธิ จากเสื้อสีเหลืองถึงผ้าพันคอสีฟ้า ซึ่งตีพิมพ์ทันทีหลังการรัฐประหาร (สำนักพิมพ์บ้านพระอาทิตย์, ตุลาคม 2549) คำนูญ สิทธิสมาน ได้อธิบายเรื่องนี้ ดังนี้ 9

เรากำหนดให้แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนในเวลา 19.00 น. ค่ำวันที่ 15 กันยายน 2549 ที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพราะในวันน้นรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจรคอนเสิร์ตการเมืองครั้งที่ 16 จัดขึ้นที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่อยู่ติดๆกันเป็นอาคารเดียว

เวลา 19.00 น. วันศุกร์ที่ 15 กันยายน 2549 แม้แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยทุกคน ยกเว้น พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ที่เดินทางกลับไปปฏิบัติภารกิจที่โรงเรียนผู้นำกาญจนบุรี จะสวมใส่เสื้อสีต่างกันไป แต่ทุกคนมีเหมือนกันอยู่อย่าง

ต่างพันผ้าพันคอสีฟ้า!

เฉพาะคุณสนธิ ลิ้มทองกุล จะอยู่ในเสื้อสีเหลือง พันผ้าพันคอสีฟ้า ในทุกครั้งที่ปรากฏตัวต่อสื่อมวลชนนับจากนั้น ไม่ว่าจะที่สุราษฎร์ธานี เกาะสมุย หรือสนามบินดอนเมือง

ผ้าพันคอสีฟ้าเป็นการแต่งการที่ไม่ได้วางแผนมาก่อน

แต่เมื่อมีท่านผู้ปรารถนาดีที่ไม่ประสงค์จะให้ออกนามและหน่วยงานนำผ้าพันคอสีฟ้ามาให้จำนวน 300 ผืน เมื่อเวลาประมาณ 18.00 น. วันนั้น ทั้งคุณสนธิ ลิ้มทองกุล และแกนนำอีก 3 คนที่อยู่ ณ ที่นั้น คือ คุณพิภพ ธงไชย, คุณสมศักดิ์ โกศัยสุข และอาจารย์สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ต่างพร้อมใจกันนำขึ้นมาพันคอทันที ดูเหมือนผู้สื่อข่าวก็สังเกตเห็นในเวลาแถลงข่าว แต่ไม่มีใครถามถึงความหมาย เพียงแต่มีอยู่คนหนึ่งถามขึ้นว่าจะนัดหมายให้ประชาชนพันผ้าพันคอสีฟ้ามาร่วมชุมนุมใหญ่ในอีก 5 วันข้างหน้าหรือเปล่า คำตอบที่ได้รับก็คือ ไม่จำเป็น แต่งกายอย่างไรมาก็ได้ ขอให้มากันมากๆก็แล้วกัน

แต่เมื่อคุณสนธิ ลิ้มทองกุล พันผ้าพันคอสีฟ้าในทุกครั้งที่แถลงข่าวนับจากวันนั้นเป็นต้นมา โดยเฉพาะพันให้ส่วนที่เป็นมุมสามเหลี่ยมหันมาอยู่ด้านหน้า แบบคาวบอยตะวันตก ไม่ใช่แบบลูกเสือ ก็ทำให้สื่อมวลชนสนใจเป็นพิเศษ โดยเฉพาะไอทีวี ได้โคลสอัพผ้าพันคอผืนนั้นมาออกจอในช่วงข่าวภาคค่ำเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2549 ด้วย

ถ้าสังเกตสักหน่อย ก็จะอ่านได้ว่า

902
74
12 สิงหาคม 2549
แม่ของแผ่นดิน

ผ้าพันคอสีฟ้าผืนนี้ พวกเราที่เป็นทีมงานเก็บไว้คนละผืนสองผืน และนัดหมายกันไว้ว่าจะพร้อมใจกันพันในวันชุมนุมใหญ่ วันพุธที 20 กันยายน 2549 เสื้อสีเหลือง “เราจะสู้เพื่อในหลวง” + ผ้าพันคอสีฟ้า “902…” ขณะเดียวกันคุณสนธิ ลิ้มทองกุล ได้สั่งตัดผ้าพันคอสีฟ้าแบบใกล้เคียงกัน ต่างกันแต่เนื้อผ้า และไม่มีคำ “902″ เท่านั้น เตรียมออกจำหน่ายจ่ายแจกแก่ประชาชนที่จะมาร่วมชุมนุมในวันนั้น

เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ทำให้คุณสนธิ ลิ้มทองกุล มีความมั่นใจอย่างยิ่งว่าพวกเราจะประสบชัยชนะแน่นอน

ศรัทธาที่มีอย่างเต็มเปี่ยมมาโดยตลอดกว่า 1 ปียิ่งล้นฟ้าสุดจะพรรณนา

…………………………..

เย็นวันที่ 4 กันยายน 2549 คุณสนธิ ลิ้มทองกุล ได้รับการประสานทางโทรศัพท์จากสุภาพสตรีสูงศักดิ์ท่านหนึ่งให้ไปพบณที่พำนักของท่านไม่ไกลจากบ้านพระอาทิตย์มากนัก เมื่อไปพบ ท่านได้แจ้งว่าตัวท่านและคณะของท่านรวมทั้งผู้ใหญ่ที่ท่านเคารพ ขอให้กำลังใจ ขอขอบใจที่ได้กระทำการปกป้องชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ อย่างกล้าหาญมาโดยตลอด และขอให้มั่นใจว่าธรรมจะต้องชนะอธรรม ก่อนกลับออกมา ท่านได้ฝากของขวัญจากผู้ใหญ่ที่ท่านเคารพใส่มือคุณสนธิ ลิ้มทองกุล

เป็นกระเป๋าผ้าไทยลายสีม่วงทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดประมาณกระเป๋าสตางค์ของสุภาพสตรีที่เห็นทั่วไปในงานศิลปาชีพ

เมื่อนั่งกลับออกมา คุณสนธิ ลิ้มทองกุล เปิดดูพบว่า เป็นธนบัตรใหม่เอี่ยมมูลค่ารวม

250,000 บาท !

เป็นอีกครั้งหนึ่ง ที่ทำให้คุณสนธิ ลิ้มทองกุล มีความมั่นใจอย่างยิ่งว่าพวกเราจะประสบชัยชนะแน่นอน !

ศรัทธาที่มีอย่างเต็มเปี่ยมมาโดยตลอดกว่า 1 ปียิ่งล้นฟ้าสุดจะพรรณนา

ไม่ว่าอนาคตข้างหน้าจะอย่างไรก็ตาม ความทรงจำที่จะไม่มีวันลืมเลือนไปจวบวันตายก็คือ ครั้งหนึ่งในชีวิต ประชาชนช่วยจ่ายเงินเดือนเราโดยตรง แผ่นดินช่วยจ่ายเงินเดือนพวกเราโดยตรง

ช่างเป็นชีวิตช่วงที่บรรเจิดเพริดแพร้วยิ่งนัก !




ภาพและคำบรรยายจาก ปรากฏการณ์สนธิ จากเสื้อสีเหลืองถึงผ้าพันคอสีฟ้า ของ คำนูญ สิทธิสมาน


อีกเกือบ 1 ปีต่อมา สนธิได้เดินทางไปสหรัฐอเมริกา รายการ “ยามเฝ้าแผ่นดิน” ทาง ASTV ได้นำเทปการพูดของเขากับคนไทยที่นั่น มาออกอากาศเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2550 ตอนหนึ่งของการพูด สนธิได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นมาของ “ผ้าพันคอสีฟ้า” ดังนี้ 10

เราสามารถที่จะรวมคนได้เป็นหมื่น หลายครั้งเป็นแสน พวกนี้ก้อ เห็นแล้วสิ เฮ้ย ไอ้เจ๊กแซ่ลิ้ม มันใช้ได้เว้ย ก็เข้ามาอยู่ข้างหลัง ตอนนี้ก็เริ่มแล้วสิ พลเอกสุรยุทธโทรมา พลเอกสนธิให้คนใกล้ชิดโทรมา ในวัง ในวังนี่มีเยอะ เส้นสายในวัง ทุกคนสนิทหมด (เสียงคนฟังหัวเราะ) แม่งสนิทกันชิบหายเลย ‘ผมนี่ถึงเลยนะ ผมนี่คุณไม่ต้องพูดเลยว่าถึงไม่ถึง คุณมีอะไรคุณพูดมา รับรองถึงหู พระกรรณ‘ ผมไม่สนใจหรอก เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็เลยเริ่มมาหนุนหลังขบวนการเรา…

จนกระทั่ง มีสัญญาณบางสัญญาณมาถึงผม จู่ๆ ผมสู้อยู่ ก็มีของขวัญชิ้นหนึ่ง มาจากราชสำนัก ผ่านมาทางท่านผู้หญิงบุษบา ซึ่งเป็นน้องสาวพระราชินี ปรากฏว่าผมแค่ได้รับวันเดียว ผมเข้าไปรับด้วยตัวเองกับท่านผู้หญิงบุษบา โทรศัพท์มาหาผมเต็มเลย ป๋าเปรมให้คนสนิทโทรมา พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ทุกคนโทรมาหมด ถามว่า จริงหรือเปล่า ….

สุดท้าย ในระหว่างวันแรกๆของการชุมนุมยืดเยื้อครั้งนี้ที่สะพานมัฆวาณ สนธิได้ปรากฏตัวพร้อม “ผ้าพันคอสีฟ้า” (และหมวกคาวบอย) อีก เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีมหาดไทยขณะนั้น ได้พูดเสียดสีว่า สนธิ “แอ๊กอาร์ต” ในการปราศรัยบนเวทีพันธมิตรเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2551 สนธิจึงตอบโต้กลับว่า 11

เมื่อวานนี้ เค้าพูดแดกดันผม ซึ่งผมไม่สนใจหรอก แต่เผอิญ มันไปพาดพิงผ้าพันคอสีฟ้าผม ผมก็จะเล่าให้เค้าฟัง …. ผ้าพันคอสีฟ้านั้น ผมได้รับมา ก่อนเหตุการณ์วันที่ 19 กันยายน วันที่เราเปิดแถลงข่าวและชุมนุมกันครั้งสุดท้าย ที่หอประชุมใหญ่ธรรมศาสตร์ จำได้มั้ย ผ้าพันคอนี้ ข้าราชบริพารในสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถได้เอามาให้พวกเราคืนนั้น แล้วบอกว่า พระองค์ท่านพระราชทานมา เป็นผ้าพันคอพระราชทาน ไอ้เบื๊อก ! เป็นผ้าพันคอพระราชทานเนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พุทธศักราช 2549 คุณเฉลิม คุณจะพูดจาอะไร คุณระวังปากคุณหน่อย อย่าทะลึ่ง !


เปรม: ความรู้ประวัติศาสตร์อังกฤษที่แย่ หรือ กุญแจไขประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย?
สนธิหรือคำนูญไม่ใช่ผู้เดียว ที่กล่าวพาดพิงถึงสถาบันกษัตริย์ (ในที่นี้คือพระราชินี) ในบริบทของการเล่ากระบวนการที่นำไปสู่การรัฐประหาร 19 กันยา แม้แต่เปรม ก็เคยพูดอะไรที่ชวนให้คิดไปในทางเดียวกันได้

หลังรัฐประหารและการตั้งรัฐบาลสุรยุทธ จุลานนท์ ไม่กี่สัปดาห์ ขณะที่ความชอบธรรมของรัฐบาลสุรยุทธ ยังเป็นปัญหาอย่างมากทั้งในประเทศและต่างประเทศ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2549 พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้ไปกล่าวปาฐกถาที่สถาบันเทคโนโลยี่พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง โดยมีพลเอกสรยุทธ จุฬานนท์ ในฐานะนายกสภามหาวิทยาลัยของสถาบันดังกล่าวร่วมนั่งฟังอยู่ด้วย ตอนหนึ่ง เปรมได้เปรียบเทียบยกย่อง สุรยุทธ ว่าเหมือนกับวินสตัน เชอร์ชิล นายกรัฐมนตรีสมัยสงครามโลกครั้งที่สองของอังกฤษ 12

ทุกคนต้องรู้จักมิสเตอร์วินสตัน เชอร์ชิล เป็นนายกฯของอังกฤษ สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ที่มาที่ไปก็คล้ายๆ กับคุณสุรยุทธ คือไม่ได้เป็นผู้แทนราษฎร แต่ถูกเชิญมาเพราะควีนเห็นว่าเหมาะสม คุณเชอร์ชิลพูดเรื่องเสียสละ ที่แสดงให้เห็นว่าจำเป็นต้องเสียสละเพื่อชาติบ้านเมือง นายกฯสุรยุทธก็เหมือนกัน คล้ายกับเชอร์ชิล มาเป็นนายกฯโดยไม่ได้ตั้งใจ แต่เพื่อชาติบ้านเมือง

ความรู้ประวัติศาสตร์อังกฤษของเปรม อยู่ในระดับที่เรียกได้ว่า “สอบตก” เพราะความจริง เชอร์ชิล ได้รับเลือกเป็นผู้แทนราษฎรเป็นเวลานานติดต่อกันถึง 40 ปี รวมทั้งในระหว่างสงครามโลก13 มิหนำซ้ำ ขณะที่เขาขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีนั้น อังกฤษมีกษัตริย์ (คิง) เป็นประมุข ไม่ใช่ราชินี (ควีน) คือ พระเจ้าจอร์ชที่หก แต่การที่เปรมแสดงความรู้น้อยเรื่องประวัติศาสตร์อังกฤษนี้ เพราะเขาอาจจะมัวแต่กำลังนึกถึงปัจจุบันของอังกฤษ (“ควีน” เป็นประมุข) แล้วเลยนึกไปถึงปัจจุบันของไทยกรณีการตั้งรัฐบาลรัฐประหาร ใช่หรือไม่?


“ผ้าพันคอสีฟ้า” - เทปพระสุรเสียง กับกรณี “พระสมเด็จเหนือหัว” และ “36 แผนที่ชีวิตพ่อ”
ถ้านับจากการปรากฏครั้งแรกของ “ผ้าพันคอสีฟ้า” ในเดือนกันยายน 2549 การเปิดเผยข้อมูลของคำนูญในเดือนต่อมา (ซึ่งรวมเรื่องเงินสด 250,000 บาท) จนถึงการพูดของสนธิที่สหรัฐอเมริกาและถ่ายทอดมาไทยในเดือนสิงหาคม 2550 และล่าสุดการยืนยันของสนธิอีกครั้งที่เวทีพันธมิตรในต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ปริศนากรณี “ผ้าพันคอสีฟ้า” (และเงินสด 2.5 แสนบาท) ก็มีอายุประมาณ 2 ปีแล้ว

การปรากฏขึ้นอย่างประหลาด ของเทปพระสุรเสียงพระราชินีบนเวทีพันธมิตร มีแต่เพิ่มความเข้มข้นให้ปริศนานี้ ระดับ “ความเงียบ” ที่ตอบสนองต่อเรื่องทั้งหมดนี้ ของสื่อมวลชน, นักวิชาการ และ “สังคม” โดยรวม นับว่าถึงขั้นที่เรียกตามสำนวนฝรั่งว่า “ความเงียบที่ดังแสบแก้วหู” (deafening silence)

ทั้งหมดนี้ ชวนให้นึกถึงกรณีที่เกิดขึ้นในระยะเวลาเดียวกันและอาจกล่าวได้ว่า มีบางด้านคล้ายกัน คือ กรณี “พระสมเด็จเหนือหัว” ปลายปี 2550 หลังจากมีการประชาสัมพันธ์การจัดสร้างพระดังกล่าวเพียงไม่กี่สัปดาห์ เจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับราชสำนักได้ลงมืออย่างรวดเร็วที่จะปฏิเสธความเกี่ยวข้องกับราชสำนัก และให้ดำเนินการทางกฎหมายต่อผู้จัดสร้าง (หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับราชสำนัก ที่ได้รับการรายงานข่าวคือ สำนักพระราชวัง แต่มีการระบุชื่อท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ รองราชเลขาธิการ ซึ่งสังกัดสำนักราชเลขาธิการ)

กรณีสนธิ-พันธมิตร กับ “ผ้าพันคอสีฟ้า” (และเงินสด 2.5 แสนบาท) และ “เทปพระสุรเสียง” จะเกี่ยวข้องกับข้อกฎหมายใดหรือไม่ อาจจะเป็นเรื่องไม่ชัดเจนนัก แต่การชี้แจงในเชิงข้อเท็จจริง ไม่น่าจะอยู่นอกเหนือหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยราชการที่ใกล้ชิดกับราชสำนัก ถ้าไม่คิดเปรียบเทียบกับกรณี “พระสมเด็จเหนือหัว” อาจจะเปรียบเทียบกับกรณี “36 แผนที่ชีวิตพ่อ” ที่แม้จะเป็นเพียงการเผยแพร่ทางเว็บไซต์และอีเมล์ สำนักราชเลขาธิการโดยราชเลขาธิการเอง ได้มีจดหมายชี้แจงอย่างเป็นทางการว่า เป็น “การแอบอ้าง” 14

ยกเว้นแต่ว่า . . . . . .

———————————————————————-
เชิงอรรถ
1 คลิปวีดีโอการปราศัยของสนธินี้สามารถดาวน์โหลดได้ที่ mms://tv.manager.co.th/videoclip/11News1/Footage/Sondhi_160708.wmv ขนาดทั้งหมด 19.7 MB ส่วนที่อ้าง นาทีที่ 6:38 ถึง 8:10
2คลิปวีดีโอการปราศัยของสนธิที่รวมการประกอบพิธีอาสาฬหบูชาบนเวทีพันธมิตร พร้อมการเปิดเทปพระสุรเสียงพระราชินี สามารถดาวน์โหลดได้ที่ mms://tv.manager.co.th/videoclip/11News1/Footage/Asalha Puja_170708.wmv ขนาดทั้งหมด 21.3MB ส่วนที่อ้าง นาทีที่ 4:33 ถึง 7:15
3เพิ่งอ้าง นาทีที่ 16:18 ถึง 17:23
4 พระสุรเสียง อยู่ระหว่าง นาทีที่ 18:06 ถึง 34:37
5 วศิน อินทสระ, พระอานนท์ พุทธอนุชา (พระนคร: สำนักพิมพ์บรรณาคาร, 2509)
6 ตัวอย่างเว็บไซต์ที่มีตัวบท “พระอานท์ พุทธอนุชา” http://se-ed.net/platongdham/pra_anon และ http://www.dhammajak.net/book/anon/index.php ที่มีทั้งตัวบทและเสียงอ่าน http://bannpeeploy.exteen.com/20071129/entry-3 และเว็บไซต์ที่สามารถฟังและโหลดเสียงอ่านเท่านั้น ได้แก่ http://audio.palungjit.com/showthread.php?t=711 , http://www.luangpee.net/forum/index.php?board=51.0 และ http://www.dhammathai.org/sounds/ananta.php ตัวนิยายแบ่งเป็น 33 บท แต่เสียงอ่านแบ่งเป็น 36 ตอน
7 การขีดเส้นใต้เน้นคำเป็นของผม ตัวบทนี้ ผมนำมาจากเว็บไซต์ที่อ้างในเชิงอรรถที่แล้ว ซึ่งตรงกับฉบับพิมพ์รวมเล่ม (ในเชิงอรรถที่ 5) อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก พระราชินีมิได้ทรงอ่านแบบนักอ่านอาชีพ จึงอาจมีบางคำตกหล่น เพิ่มเข้ามา หรือ คลาดเคลื่อนจากตัวบทจริงเล็กน้อย (เช่น “นี่แล” เป็น “นี่แหละ”, “เหลือเกิน” กลายเป็น “อย่างที่สุด”) ในการเปิดเทปพระสุรเสียงที่เวทีพันธมิตร ประโยคสุดท้ายของบท “ภิกษุทั้งหลาย ! ขึ้นชื่อว่าอุปการะผู้อื่นแม้น้อย อันบัณฑิตพึงระลึกถึงและหาทางตอบแทนในโอกาสอันควร” ถูกปิดเสียงไปก่อน เมื่อทรงอ่านถึงคำว่า “ขึ้นชื่อว่า” เท่านั้น เข้าใจว่าคงบังเอิญ (ดูช่วงเวลาของคลิปวีดีโอ ที่อ้างอิง ในเชิงอรรถที่ 4) ในเทปอ่านงานนี้ที่เผยแพร่ทางเว็บไซต์ บทที่ 4 “มหามิตร” จะอยู่ในช่วงหลังของตอนที่ 2 ต่อเนื่องกับช่วงแรกของ ตอนที่ 3
8 คลิปวีดีโอการปราศัยของสนธิที่รวมการเปิดเทปพระสุรเสียงอ่าน “ความอัศจรรย์แห่งธรรมวินัย” สามารถดาวน์โหลดได้จาก mms://tv.manager.co.th/videoclip/11News1/Footage/Sondhi_170708.wmv ส่วนที่เป็นพระสุรเสียงอยู่ระหว่างนาทีที่ 5:27 ถึง 9:02 ตัวบทข้างล่างนี้ ผมนำมาจากเว็บไซต์ในเชิงอรรถที่ 6 การขีดเส้นใต้เน้นคำเป็นของผม
9 คำนูญอธิบายเรื่องนี้ไว้ในบทก่อนสุดท้ายของหนังสือ (ไม่นับภาคผนวก) คือ บทที่ 24 “เสื้อสีเหลือง ผ้าพันคอสีฟ้า” ข้อความที่ยกมาข้างล่างอยู่ที่หน้า 278-279 และ 281 ข้อความตัวหนาเป็นการเน้นคำของคำนูญเอง การขีดเส้นใต้เป็นของผม
10 การขีดเส้นใต้เน้นคำของผม เทปเสียงรายการ “ยามเฝ้าแผ่นดิน” ครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 ตอน สามารถดาวน์โหลดได้จาก (ตอนที่ 1) http://www.managerradio.com/Radio/download.asp?strFilePath=mms://tv.manager.co.th/videoclip/radio/1002/1002-2588.wma และ (ตอนที่ 2) http://www.managerradio.com/Radio/download.asp?strFilePath=mms://tv.manager.co.th/videoclip/radio/1002/1002-2589.wma ส่วนที่ยกมาอ้างนี้อยู่ในตอนที่ 2 ระหว่างนาทีที่ 20:34 ถึง 22:33 มีผู้นำคลิปวีดีโอการพูดที่สหรัฐของสนธิเฉพาะตอนที่มีข้อความที่อ้างนี้ มาโพสต์ที่เว็บไซต์ YouTube.com ที่ http://nz.youtube.com/watch?v=DRnYDFUvGrM&feature=related
11 การขีดเส้นใต้เน้นคำของผม เทปเสียงการปราศรัยของสนธิครั้งนี้ สามารถดาวน์โหลด ได้จาก http://www.managerradio.com/Radio/download.asp?strFilePath=mms://tv.manager.co.th/videoclip/radio/1002/1002-3239.wma ข้อความที่อ้างนี้ อยู่ระหว่างนาทีที่ 2:48 ถึง 4:09
12 ข่าวสด 16 พฤศจิกายน 2549
13 ดูประวัติเชอร์เชิลจากเว็บไซต์ “หอจดหมายเหตุเชอร์ชิล” (Churchill Archive) ที่เป็นทางการ ที่ http://www.chu.cam.ac.uk/archives/churchill_papers/biography/churchill_chronology.php เขาได้รับเลือกตั้งเป็น สส.ของเขต Epping ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Essex ตลอดช่วง 1924 ถึง 1945 (ซึ่งครอบคลุมช่วงที่เขาเป็นนายกรัฐมนตรียามสงคราม ระหว่าง 1940 ถึง 1945) หลังจากนั้น ก็เป็น สส.เขต Woodford จากปี 1945 ถึง 1964 (เรียกได้ว่าจนถึงแก่กรรม เขาตายเมื่อ 24 มกราคม 1965) ช่วงเป็น สส.เขต Woodford นี้ เขาได้เป็น นายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ระหว่าง 1950-1955
14 ดูภาพถ่ายจดหมายราชเลขาธิการ เรื่อง “การแอบอ้างข้อความว่าเป็นพระบรมราโชวาทเผยแพร่ในเว็บไซต์” ลงวันที่ 24 สิงหาคม 2548 ได้ที่ http://www.thaiall.com/article/map36.htm
โพสต์ในกลุ่ม บทความเผยแพร่






















ร่วมลงชื่อแถลงการณ์ประนามพันธมิตรทรราชเสียงข้างน้อย และบรรดาผู้สมคบคิด
ฟ้าเดียวกัน
แถลงการณ์ประนามพันธมิตรทรราชเสียงข้างน้อย และบรรดาผู้สมคบคิด รวมทั้ง สว.,นักวิชาการ,กป.อพช.,องค์กรต่างๆ และขอเรียกร้องให้หันกลับมายึดหลักนิติรัฐและหลักประชาธิปไตยสากล ในการผ่าทางตันวิกฤตชาติ
ตามที่หลายหน่วยงาน เช่น สมาชิกวุฒิสภาจำนวนหนึ่ง, คณะกรรมการ กป.อพช., ที่ประชุมอธิการบดีทั่วประเทศ และสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปอมท.) รวมทั้งสภาอาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น ต่างเสนอความเห็นในการแก้ไขวิกฤตการณ์ทางการเมืองในขณะนี้ ด้วยการแนะนำให้นายสมัคร สุนทรเวช ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยอ้างว่าเพื่อคลี่คลายปัญหาวิกฤตของประเทศนั้น
ผู้มีรายชื่อตามท้ายแถลงการณ์นี้ ขอเตือนและกล่าวประณามสมาชิกวุฒิสภา, กป.อพช., ที่ประชุมอธิการบดีฯ,สภาอาจารย์มหาวิทยาลัย รวมถึงบรรดานักวิชาการ นักสื่อสารมวลชน องค์กรต่างๆ ตลอดจนผู้ทำหน้าที่ออกความเห็นต่อสาธารณชนได้ตระหนักถึงข้อเท็จจริง และตระหนักต่อหลักการประชาธิปไตย หลักการนิติรัฐดังนี้
1.ข้อเรียกร้องให้สมัครลาออกเต็มไปด้วยอคติและประวัติศาตร์ซ้ำรอยกับกรณีทักษิณ แทนที่จะประณามพันธมิตร ซึ่งตรงเป้ากว่า-บรรดานักวิชาการ และองค์กรต่างๆ ก็เคยเรียกร้องทำนองเดียวกันนี้ว่าให้พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เสียสละลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเหตุการณ์ก็จะยุติลง ประเทศชาติจะสงบเรียบร้อย ซึ่งก็เห็นอยู่แล้วว่าผลลัพธ์นั้นไม่เป็นจริงเลย แม้ว่าทักษิณจะพ้นตำแหน่งไปแล้ว แต่เหตุการณ์ก็ไม่สงบลง การเรียกร้องกดดันให้นายสมัครลาออก ในที่สุดผลลัพธ์ก็จะไม่ต่างจากเดิมเลย
ทั้งนี้ก็เนื่องจากต้นเหตุของปัญหามาจากทรราชย์เสียงข้างน้อย คือกลุ่มพันธมิตรฯ กับบรรดาผู้สมรู้ร่วมคิด ยังดำเนินกิจกรรมทางการเมืองด้วยความก้าวร้าว แต่ก็เป็นพวกที่ไม่เคยถูกประณามอย่างจริงจังจากบรรดานักวิชาการ นักสื่อสารมวลชน หรือองค์กรต่างๆ
2.ความเคลื่อนไหวทางการเมืองของพันธมิตรกับบรรดาผู้สมคบคิดเป็นพฤติการณ์ของพวกทรราชย์เสียงข้างน้อย (Tyranny of a minority) ขัดกับหลักประชาธิปไตยขั้นพื้นฐานในทางสากลทุกกรณี คือ
-ขัดกับหลักการเรื่องอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน (Popular Sovereignty) เนื่องจากรัฐบาลนี้ประชาชนเลือกตั้งมาตามกติการัฐธรรมนูญ ขณะที่พันธมิตรไม่มีความเป็นตัวแทนของปวงชนแต่อย่างใด
-ขัดกับหลักการเรื่องเสรีภาพ (Liberty) เนื่องจากใช้เสรีภาพละเมิดสิทธิประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศ
-ขัดกับหลักความเสมอภาค (Equality) เนื่องจากพันธมิตรนั้นมี”ความเสมอภาคกว่า”ประชาชนไทยทั่วไป
-ขัดกับหลักนิติรัฐ (Rule of Law) เพราะพันธมิตรไม่ยินยอมปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นคำสั่งศาลให้ออกจากทำเนียบรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นหมายจับ 9 แกนนำ และล่าสุดประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งพันธมิตรได้เพิกเฉย และยังได้รับการสนับสนุนจากบรรดาผู้สมคบคิดอีกด้วย
-ขัดกับหลักการปกครองโดยเสียงข้างมาก แต่ต้องเคารพเสียงข้างน้อย (Majority Rule & Minority Rights) ซึ่งที่พันธมิตรทำอยู่นี้ขัดกับหลักการนี้อย่างสิ้นเชิง เพราะพันธมิตรกำลังสถาปนาระบอบปกครองแบบทรราชย์เสียงข้างน้อย และกำลังละเมิดประชาชนเสี่ยงข้างมากทั้งประเทศอยู่ ซ้ำยังนำเสนอ “การเมืองใหม่” ซึ่งย้อนหลังไปยิ่งกว่าตอนก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 เพราะให้สิทธิประชาชนออกเสียงเลือกตั้งตัวแทนได้เพียง 30% แต่ให้บรรดาอภิชนทรราชย์เสียงข้างน้อยเลือกตัวแทนได้กว่า 70% ซึ่งขัดกับหลักประชาธิปไตยอย่างสิ้นเชิง
ซึ่งหลักการประชาธิปไตยพื้นฐานดังกล่าว แม้แต่นักเรียนมัธยมหรือนักศึกษารัฐศาสตร์ปี 1ก็ย่อมรู้ว่าพันธมิตรกับบรรดาผู้สมคบคิดนั้นปฏิบัติขัดต่อกฎเกณฑ์เหล่านี้อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน แต่แทนที่บรรดาผู้สมคบคิด ซึ่งเป็นนักวิชาการ ปัญญาชน สื่อสารมวลชน องค์กรต่างๆ ตลอดจนผู้มีสิทธิออกความคิดเห็นต่อสาธารณชนจะได้ตระหนัก และนำพาสังคมประเทศชาติไปให้ถูกทิศถูกทาง ด้วยการประณามหยามเหยียดให้พันธมิตรยุติพฤติการณ์เสีย ก็กลับเพิกเฉยด้วยอคติ และหันไปก้นประณามรัฐบาลสถานเดียว ซึ่งเรื่องนี้นับเป็นความผิดข้อใหญ่ และทำให้พวกท่านกลายเป็นผู้สมคบคิดกระทำผิดร่วมกับพันธมิตรทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ
ส่วนเรื่องที่หลายๆ ฝ่ายเรียกร้องให้นายกฯสมัครลาออก โดยหยิบยกกรณีนายยาสุโอะ ฟูกูดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น หรือรัฐบาลในต่างประเทศมาเป็นกรณีเทียบเคียงนั้น ถือว่าเป็นตรรกะวิบัติ (fallacy) และยกเหตุผลเข้าข้างตัวเองโดยตัดทอนข้อมูลบางส่วนออก (selective bias) เนื่องจากฟูกูดะ หรือรัฐบาลต่างประเทศลาออกนั้น เพราะปัญหาการเมืองในสภา มิใช่เพราะเสียงข้างน้อยนอกสภาที่ไม่ยอมรับกติกาในระบอบประชาธิปไตยมากดดันเหมือนกรณีของไทยแต่อย่างใด
ผู้ลงชื่อในท้ายแถลงการณ์นี้จึงขอประนามพันธมิตรและบรรดาผู้สมคบคิดทั้งหลาย รวมทั้งสมาชิกวุฒิสภา, กป.อพช., นักวิชาการ อาจารย์มหาวิทยาลัย นักสื่อสารมวลชน องค์กรต่างๆ และพวกที่ออกความเห็นในทางสาธารณะที่ให้ท้ายพันธมิตรที่เป็นทรราชย์เสียงข้างน้อย และกำลังนำพาประเทศชาติหล่นลงสู่หุบเหวหายนะในเบื้องหน้านี้ และขอเตือนให้พวกท่านหันกลับมามีสัมมาทิฐิ อันจะนำพาประเทศชาติไปสู่ความสันติ สมานฉันท์ และยังดำรงรักษาระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขไว้ได้อย่างมั่นคงวัฒนาถาวรสืบไป
ด้วยความไม่นับถือและประนามหยามเหยียด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น